ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 

ในอดีตการเรียนรู้และศึกษาของนักภูมิศาสตร์ส่วนหนึ่งเกิดจากการสำรวจ การสังเกต การสอบถามและบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในพื้นที่ ทั้งที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิตตลอดจนความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้กลายเป็นองค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่แพร่กระจายและขยายสาขาออกไปมากมาย แม้ในระยะหลังมนุษย์จะเชื่อถือและให้ความสำคัญกับความรู้ที่อ้างอิงจากข้อมูลตัวเลขก็ตาม ความรู้ที่เป็นเรื่องเล่าและเรื่องราวก็จะยังเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ และต่อไปนี้จะเป็นเรื่องเล่าที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลที่ขึ้นในพื้นหนึ่ง ในเวลาหนึ่ง และในความทรงจำหนึ่ง

ภายหลังการเกิดเหตุการณ์ “13 ชีวิตติดในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ผมในฐานะนักภูมิศาสตร์และ Web Master: www.geo2gis.com ที่เพื่อนๆ รู้จักและติดตามผลงานถูกเพื่อนๆ สอบถามถึงแนวคิด วิธีการของนักภูมิศาสตร์ต่อการช่วยเหลือน้อง ๆ 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เนื่องจากเพื่อน ๆ รู้ว่า นักภูมิศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งด้านการเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ การให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ

           

 เพื่อนๆ ติดต่อผ่านสื่อ Social สอบถามถึงแนวคิดนักภูมิศาสตร์ต่อสถานการณ์ฯ เนื่องจาก นักภูมิศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในเหตุการณ์ดังกล่าว

 

 สำหรับผมตั้งใจไว้ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ว่าผมจะต้องเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อสังเกตพื้นที่จริงแบบนักภูมิศาสตร์ แล้วบันทึกเหตุการณ์ในส่วนที่องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แล้ววันที่ 23 ธันวาคม 2561 ผมก็ได้เดินทางโดยการขับรถยนต์ส่วนตัวไปที่วนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ได้สัมผัสและรับรู้ถึงพื้นที่จริงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่สำหรับการจินตนาการบรรยากาศการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ของผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ในเวลานั้นแล้ว ยังคงสามารถสังเกตเห็นร่องลอยเหตุการณ์ความยุ่งยากลำบากในพื้นที่อย่างชัดเจน

 

            

ทางเดินเข้าสู่ถ้ำหลวง เส้นทางปัจจุบันที่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจในเหตุการณ์จำนวนมากมายใช้เดินทางเข้าไปสู่พื้นที่เกิดเหตุ บ้างเข้าไปท่องเที่ยว บางคนที่สนใจเหตุการณ์ก็ต้องการเข้าไปสังเกต เข้าไปรับรู้บรรยากาศที่เคยเกิดขึ้นในวันนั้น

          

ป้ายบอกสถานที่วนอุทยานฯ ยังคงเป็นจุดที่หลายคนสนใจเข้าไปถ่ายรูปเพื่อเก็บไว้ยืนยันว่าได้เดินทางมาที่นี่แล้ว

         

อนุสาวรีย์จ่าแช่ม วีรบุรุษที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ ถ้ำหลวงฯ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเตือนใจให้หลายคนจดจำเหตุการณ์และความดีที่ร่วมสร้างไว้กับจ่าแช่ม

         

กระสอบปูบนทางเดินเพื่อป้องกันการลื่นล้มเป็นร่องรอยที่ปรากฏในพื้นที่ซึ่งยังคงพบเห็นอยู่ตลอดเส้นทางเข้าสู่ปากถ้ำและเส้นทางโดยรอบ

เหตุการณ์ “13 ชีวิตติดในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนถูกติดตามอย่างต่อเนื่องโดย วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แทบทุกสำนักทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงสื่อที่เป็น Social media ก็มีการติดตามและแสดงความคิดเห็นวันต่อวัน นาทีต่อนาที สำหรับผมแล้ว การเฝ้าติดตามเหตุการณ์ผ่านสื่อ หลายสื่อ หลายสำนักโดยเฉพาะผ่านการรายงานของสถานีโทรทัศน์ที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจนได้เห็นและเข้าถึงเหตุการณ์หลายด้าน หลายมุม หลายพื้นที่ในเวลาเดียวกัน ทำให้การทบทวน การหาข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเล่าเหตุการณ์สามารถปะติดปะต่อได้อย่างชัดเจนพอสมควร

         

 สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แทบทุกสำนักทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสื่อที่เป็น Social media ต่างติดตามและแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์วันต่อวัน นาทีต่อนาที

 

การพยายามทบทวนและเขียนเล่าเหตุการณ์ เขียนบ้างหยุดบ้างจนกระทั้งครบรอบ 1 ปีที่เกิดเหตุการณ์ฯ จึงมีโอกาสนำเอาข้อเขียนภายใต้แนวคิด วิธีการของนักภูมิศาสตร์มาเผยแพร่ ทั้งนี้เนื้อหาที่เขียนจะอ้างอิงข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเป็นรายวัน พร้อมกับการนำเสนอความรู้และข้อคิดเห็นทางภูมิศาสตร์ประกอบไปด้วย

ดอยนางนอน และถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

เทือกเขาแดนลาวที่ทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือจดใต้ เป็นแนวพรหมแดนกั่นระหว่างรัฐฉาน สหภาพเมียนม่าร์กับจังหวัดเชียงราย ราชอาณาจักรไทย ทางด้านเหนือตอนบนของเทือกเขาถูกเรียกว่า ดอยนางนอน หากมองไปตามแนวภูเขาที่ทอดยาวทางฝั่งตะวันตกของถนนพหลโยธินจากเชียงรายไปยังอำเภอแม่สายจะเห็นคล้ายกับรูปผู้หญิงทอดกายนอนหงายปลายเท้าอยู่ในเขตอำเภอแม่จัน ส่วนหัวอยู่ในเขตของอำเภอแม่สาย โดยส่วนหัวสุดอยู่บริเวณบ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ ส่วนจมูกและใบหน้าอยู่บริเวณบ้านจ้อง ตำบลโป่งผาซึ่งเป็นที่ตั้งของ วนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ

           

เทือกเขาแดนลาวทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือจดใต้ เป็นแนวพรหมแดนกั่นสหภาพเมียนม่าร์กับประเทศไทย ตอนเหนือของเทือกเขาแดนลาวเป็นที่ตั้ง ดอยนางนอ และดอยตุง (ที่มาของภาพถ่าย : จากดาวเทียม Google Earth)

ดอยนางนอนเป็นที่ตั้งของพระธาตุดอยตุง โดยเทือกเขามีจุดสูงสุดคือ ผาช้างมูบ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 830 เมตร พื้นที่ทางตะวันตกเป็นที่สูงและลาดลงไปทางตะวันออก (ทำให้ด้านตะวันออกของดอยนางนอนเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ไปจนจรดเขตอำเภอเชียงแสน) ทางทิศใต้เป็นที่ราบติดกับอำเภอแม่จันและอำเภอแม่ฟ้าหลวง สภาพพื้นที่ทั่วไปของดอยนางนอนเป็นภูเขาหินปูนมีถ้ำอยู่หลายแห่ง ถ้ำหลวงเป็นถ้ำที่อยู่ในพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ซึ่งนักฟุตบอลเด็กทีมหมูป่าอะคาเดมีเข้าไปเที่ยวและติดอยู่ข้างใน

           

ดอยนางนอนทอดยาวทางฝั่งตะวันตกของถนนพหลโยธิน หากขับรถไปทางเหนือตามเส้นทางเมื่อมองไปทางทิศตะวันตกจะเห็นดอยนางนอนรูปร่างคล้ายกับรูปผู้หญิงทอดกายนอนหงายด้านหัวหันไปทางทิศเหนือ

หายและเริ่มต้นการค้นหา

วันที่ 23 มิถุนายน 2561 :

ในวันที่ 23 มิถุนายน 2561 เวลาประมาณบ่ายสามโมง เป็นเวลาที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนใกล้ปิดทำการ จากข้อมูลข่าวจากไทยพีบีเอส กล่าวถึงเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ ซึ่งได้เดินสำรวจและแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบว่าจำเป็นต้องกลับออกไปจากวนอุทยานฯแล้ว การกลับออกไปของนักท่องเที่ยวในเวลานี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติของทุกวัน สำหรับวันนี้ถือว่าเป็นวันที่ไม่ปกติ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ ได้พบรถจักรยาน 11 คันจอดอยู่ปากทางเข้าถ้ำ เจ้าหน้าที่พยายามตามหาเจ้าของรถจักรยาน แต่ก็หาไม่พบ ข้อมูลบอกเพิ่มเติมว่ามีผู้ปกครองนักฟุตบอลเด็กทีมหมูป่าอะคาเดมีคนหนึ่งสงสัยว่าทำไมลูกยังไม่กลับบ้านจึงโทรศัพท์ถามเพื่อนลูกและทราบว่าลูกปั่นจักรยานไปเที่ยวกับเพื่อนที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

การพบแต่รถจักรยานจอดที่หน้าถ้ำหลวงฯ แต่ไม่พบตัวเด็กๆ ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ปกครองตลอดจนผู้เกี่ยวข้องต่างคิดตรงกันว่าเด็ก ๆ น่าจะเข้าไปในถ้ำหลวง สิ่งที่เริ่มทำคือการเริ่มค้นหาเด็ก ๆ ในถ้ำ

การค้นหาเด็ก ๆ ที่หายเข้าไปในถ้ำของเจ้าหน้าที่และผู้ปกครอง แม้จะใช้เวลายาวนานแต่ก็ยังไม่พบเด็ก ๆ จนกระทั่งเวลาประมาณสามทุ่มครึ่ง เจ้าหน้าที่จึงตัดสิ้นใจแจ้งข้อมูลเด็กหายกับมูลนิธิสยามรวมใจแม่สายและศูนย์วิทยุ 191 สภ.แม่สาย ทำให้การค้นหาเด็ก ๆ เริ่มต้องใช้กำลังและเครื่องมือ อุปกรณ์มากขึ้น โดยเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 หน่วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบการสำรวจ ได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ ร่วมค้นหา พร้อมรายงานผู้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเพื่อระดมเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญการสำรวจเข้ามาร่วมค้นหาเพิ่มขึ้น

          

รถจักรยาน 11 คันถูกจอดอยู่ปากทางเข้าถ้ำ เจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ พยายามตามหาเจ้าของรถจักรยานแต่ก็หาไม่พบ การรายงานผู้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการระดมเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญการสำรวจเข้ามาร่วมค้นหาเพิ่มขึ้น (ที่มา : ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net)

วันที่ 24 มิถุนายน 2561 :

การค้นหาดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านหลังเที่ยงคืนของวันที่ 23 มิถุนายน ซึ่งเป็นเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2561 ทีมกู้ภัยได้นำถังออกซิเจน อุปกรณ์นำทางและเชือกเข้าไปค้นหาในถ้ำ แต่ค้นอย่างไรก็ยังไม่พบเด็ก ๆ พบแค่เพียงรองเท้าแตะและกระเป๋าจำนวนหนึ่งจนกระทั้งเวลาประมาณตีสี่ ทีมกู้ภัยต้องยุติการค้นหาเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของระดับน้ำภายในถ้ำ

           

การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำในถ้ำทีมกู้ภัยต้องยุติการค้นหา โดยยังไม่พบเด็ก ๆ พบแค่เพียงรองเท้าแตะและกระเป๋า (ที่มา: ภาพต้นแบบจาก www.naewna.com)

ในเวลาประมาณแปดโมงเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน 2561 ทีมกู้ภัยได้เริ่มเข้าไปค้นหาเด็กอีกครั้ง พร้อมกันนี้ทีมที่ช่วยภายนอกอีกกลุ่มก็เริ่มสูบน้ำผ่านสายยางขนาดใหญ่ออกทางปากถ้ำ อย่างไรก็ตาม แม้จะเร่งสูบน้ำออกจากถ้ำน้ำในถ้ำก็ยังคงสูงมากและยังคงเป็นอุปสรรคกับการค้นหาเด็ก ๆ จนเวลาผ่านไปถึงประมาณบ่ายโมง ทีมค้นหาได้ส่งนักประดาน้ำลงไปสำรวจโพรงถ้ำและพบว่า โพรงถ้ำด้านในถูกปิดกั้นด้วยน้ำลึกถึง 5 เมตร บางช่วงของโพรงถ้ำแคบมาก มีทั้งหินงอก หินย้อย อากาศด้านในมีความชื้นและไม่ถ่ายเท และเมื่อนักประดาน้ำสำรวจไปไกลถึงประมาณ 3 กิโลเมตร พบว่าน้ำในโพรงถ้ำขุ่นมาก มีทรายและโคลนไหลตลอด ทำให้ทีมนักประดาน้ำจำเป็นต้องถอนกำลังออกมา

ในตอนเย็นวันนี้ เจ้าหน้าที่ทีมค้นหาได้มีการวางแผนและประสานงานขอความช่วยเหลือจากหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม กองทัพเรือหรือหน่วยชีลเพื่อขอให้มาช่วยค้นหาเด็ก ๆพร้อมไปกับทีมดำน้ำในพื้นที่อีกส่วนหนึ่ง

ตั้งแต่เริ่มต้นการค้นหาฯ อุปสรรคมากมายเกิดขึ้นจากลักษณะภูมิประเทศและธรรมชาติที่หลากหลายซับซ้อน ทั้งปริมาณน้ำฝนที่มีส่วนต่อปริมาณน้ำในถ้ำและลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ทั้งภายนอกและภายในถ้ำ ซึ่งในทางภูมิศาสตร์แล้วลักษณะดังกล่าวมีการเกิดขึ้นประจำและเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่และเวลามายาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

สภาพภูมิอากาศ (Climate) ในช่วงเวลาที่มีการติดตามค้นหา “13 ชีวิตติดในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนนั้น นักภูมิศาสตร์ทราบดีอยู่แล้วว่าช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ เป็นช่วงของฤดูฝนซึ่งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเอามวลอากาศชื้นข้ามเส้นศูนย์สูตรมาพบกับร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทย ทำให้เกิดฝนอย่างต่อเนื่อง หากสภาพภูมิอากาศปกติเหมือนหลาย ๆ ปีในอดีต ปลายเดือนมิถุนายนจะเกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นไปทางเหนือเลยออกไปทางตอนใต้ของจีน แต่นั่นคือสภาพภูมิอากาศ (Climate) ที่เกิดขึ้นประจำต่อเนื่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าปลายเดือนมิถุนายนของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วง และในปี 2561 ปลายเดือนมิถุนายนฝนก็ยังคงตกเช่นเดิม จึงเป็นอุปสรรคหลักต่อการเข้าไปค้นหาและนำเด็ก ๆ ออกมาจากถ้ำหลวงฯ

ในขณะที่ลักษณะภูมิประเทศของขุนน้ำนางนอนที่พื้นที่เป็นแนวภูเขาสูงที่ประกอบด้วยหินแกรนิตเป็นแกน มีหินทรายที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และหินปูนเป็นส่วนประกอบหลัก เมื่อฝนตกน้ำฝนจะไหลลงสู่ที่ต่ำและกัดเซาะพื้นผิวหน้าของภูเขาทำให้เกิด แอ่งน้ำ ทางน้ำหรือร่องน้ำ ซึ่งน้ำจะมาไหลรวมกันและไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำโดยจะรวมกันเป็นทางน้ำและแหล่งน้ำขนาดต่าง ๆ ที่เรียกว่า ลำธาร” “ลำห้วย” “หนอง” “บึงฯลฯ ในการไหลของน้ำจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ชันมากหรือน้อยก็ตาม หากพื้นผิวดินมีช่องเป็นโพรงเป็นรู บางครั้งทางน้ำที่ไหลมาจะมุดหายลงไปใต้พื้นผิวดิน ซึ่งเราเรียกว่า น้ำมุดรู หรือ ช่องน้ำมุด (Swallet) หรือบางครั้งทางน้ำที่ไหลมาจะมาขังรวมเป็นแอ่งและจะมุดหายลงไปใต้พื้นผิวดินเราจะเรียกว่า แอ่งน้ำมุด (Swallow hole)” น้ำที่มุดหายลงไปในดินจะไหลแทรกไปตามรอยแยกใต้ผิวดิน น้ำส่วนนี้อาจจะไหลไปเป็นน้ำใต้ดินหรืออาจจะไหลผุดออกมาจากใต้ดิน เราจะเรียกว่า น้ำผุด (Resurgence, Rise)หรือบางครั้งเราจะคุ้นเคยกับคำว่า ตาน้ำผุด ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน โดยตาน้ำผุดจะเกิดจากป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ที่เก็บกักน้ำไว้ในฤดูฝน และปล่อยน้ำลงสู่ใต้ดิน แล้วผุดออกมาจากใต้ดินอย่างสม่ำเสมอแม้ในยามฤดูแล้ง

เนื่องด้วยภูมิประเทศของขุนน้ำนางนอนที่มีหินปูนเป็นส่วนประกอบจะมี รอยแตก (Joints) และรอยเลื่อน (Fault)” ปรากฏให้เห็น (รอยเลื่อน สังเกตได้จากลักษณะเป็นหน้าผายาวต่อเนื่องซึ่งเกิดจากการแตกของหินและเลื่อนยุบตัวเป็นแนว) และด้วยที่หินปูนมีส่วนประกอบเป็นแร่แคลไซด์หรือแคลเซี่ยมคาร์บอเนต เมื่อหินปูนถูกน้ำฝนที่มีลักษณะเป็นกรดอ่อน ๆ (น้ำฝนดูดกลืนคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศและทำปฏิกิริยากลายเป็นกรดคาร์บอนิคอ่อน ๆ) ไหลผ่านรอยแตกลงไปใต้ดินนับเป็นพันปี จะทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ โดยบริเวณที่น้ำฝนซึมลงพื้นผิวไปละลายหินปูนที่อยู่ข้างใต้ทำให้ผิวดินด้านบน ทำให้เกิดการยุบตัวลงกลายเป็นหลุมใหญ่ที่เรียกว่า หลุมยุบ (Sinkhole)” บางส่วนของน้ำฝนที่แทรกผ่านบริเวณหินปูนส่วนที่เป็นรอยแตกและละลายขยายต่อเนื่องจนทำให้บนผิวดินยุบเป็นหลุมกว้างกลายเป็นหลุมยุบ” (Sinkhole) เช่นกัน

เช่นเดียวกับบริเวณหน้าผาที่มีรอยแตกของหิน น้ำฝนจะซึมลงไปในพื้นผิวของหินและละลายหินปูนจนเกิดเป็นโพรงลึกลงไปจนกลายเป็นลักษณะคล้ายหลุมยุบ โพรง ถ้ำเล็ก ๆ หรือทางลอด สำหรับการละลายหินปูนที่อยู่ข้างใต้ลึกลงไปและทำให้เกิดโพรงต่อเชื่อมกัน โพรงใต้ดินนี้จะเป็นช่องที่น้ำไหลไปรวมกันกลายเป็นเป็น น้ำใต้ดินและน้ำบาดาล (Ground water)” และด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน น้ำใต้ดินก็จะละลายหินปูนจนเป็นโพรงขนาดกว้างใหญ่ภายใต้ดิน เราเรียกโพรงนี้ว่า ถ้ำ (Cave)” โดยลักษณะของถ้ำอาจจะเป็นโพรงที่คดเคี้ยวหรือตรงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งความแรง ความเร็ว การท่วมขัง การกัดเซาะของน้ำที่ไหลอยู่ใต้ดินและอื่น ๆ

นอกจากในถ้ำจะเป็นโพรงขนาดต่าง ๆ แล้ว สำหรับโพรงขนาดใหญ่จะมีผนังถ้ำที่เป็น หินงอก (Stalagmite)” “หินย้อย (Stalactite) หรือ เสาหิน (Pillar)ประกอบกัน โดย หินงอก(Stalagmite) เกิดจากน้ำที่ไหลอยู่ใต้ดินได้ไหลมาตามเพดานถ้ำและหยดลงพื้นถ้ำ ซึ่งน้ำที่ไหลมาหยดนี้ได้ละลายเอาหินปูนเจือปนมา น้ำที่หยดลงสู่พื้นถ้ำเมื่อน้ำระเหยไปก็จะเหลือหินปูนสะสม ซึ่งนานวันจะเกิดการทับถมเกิดเป็น หินงอก (Stalagmite) สำหรับส่วนบนเพดานถ้ำซึ่งเป็นจุดที่น้ำหยดก็จะเกิดการสะสมของหินปูนเมื่อน้ำระเหยไปจุดนั้นก็จะเกิดหินปูนสะสมเป็น หินย้อย(Stalactite) หากหินงอกและหินย้อยสะสมมากขึ้น การงอกของหินงอกและหินย้อยจะมาเชื่อมต่อกันจนมีลักษณะที่เรียกว่า เสาหิน (Pillar) สำหรับพื้นถ้ำนั้น การไหลและกัดเซาะของน้ำทั้งน้ำบนดินที่ไหลเข้าถ้ำและน้ำใต้ดินที่ไหลผุดขึ้นในถ้ำ ต่างจะพัดพาเอาเศษตะกอนไหลมาสะสมเป็นเนินสูงที่เรียกว่า หาด (Beach)บริเวณหาดที่เป็นเนินสูงกว้างใหญ่ในถ้ำบางส่วนเกิดจากหินข้างบนที่ถูกน้ำกัดเซาะละลายแล้วยุบตัวหล่นลงมาจากเพดานถ้ำมากองทับถม ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้จากโพรงหรือปล่องด้านบนของหาด การยุบตัวจนเป็นโพรงหรือปล่องด้านบนเพดานถ้ำก็คือขบวนการที่ต่อเนื่องจากการเกิดหลุมยุบนั่นเอง อย่างไรก็ตามโพรงหรือปล่องด้านบนเพดานถ้ำเหนือหาดอาจจะไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจนเนื่องจากการกัดเซาะละลายของหินปูนด้านบนใกล้เคียงกับโพรงจะนำเอาก้อนของหินปูนไหลหล่นลงมาทับถมปิดโพรงหรือปล่องจนไม่สามารถมองเห็นได้

          ด้วยสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศตามที่กล่าวมาข้างต้นคืออุปสรรคที่ทำให้ภารกิจการค้นหาเด็กที่จะเกิดในวันต่อ ๆมามีปัญหาที่ต้องการข้อมูล เครื่องมือและพลังสนับสนุนการแก้ไขเป็นระยะ ๆ ซึ่งนักภูมิศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามามีส่วนในการสนับสนุนภารกิจนี้ แม้จะเป็นหน่วยสนับสนุนที่อยู่เบื้องหลังก็ตาม

           

 ลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาหินปูนบริเวณขุนน้ำนางนอนจะมีลักษณะเป็น แนวเขามีทั้ง แอ่งน้ำ ทางน้ำหรือร่องน้ำ” “น้ำมุดรู หรือ ช่องน้ำมุด” “แอ่งน้ำมุด” “น้ำผุด หรือ ตาน้ำผุด” “รอยแตก” “รอยเลื่อน” “หลุมยุบ” “น้ำใต้ดิน” “ถ้ำ” “หินงอก” “หินย้อย” “เสาหิน” “เนินหาดและอื่น ๆ ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่ทีมค้นหาควรเข้าใจเมื่อต้องค้นหาเด็ก ๆ ในถ้ำหลวง

 

          อ่านตอน 2

          อ่านตอน 3

          อ่านตอน 4

          อ่านตอน 5

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 8ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปรากฏการณ์บนโลกมีทั้งที่กลมกลืนต่อเนื่องและแบ่งแยกชัดเจน การออกแบบในการสร้างและอธิบายให้เข้าใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่จำเป็นต้อง....

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้424
เมื่อวานนี้501
สัปดาห์นี้2498
เดือนนี้10797
ทั้งหมด1197006
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 6

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com