เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

รายละเอียด

การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

สารบัญ

 

เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

ข้อมูลปรากฏการณ์ต่างๆที่พบในแผนที่ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นก็ตาม ผู้สร้างแผนที่จะออกแบบสัญลักษณ์เป็นรูปภาพ ตัวเลข ตัวอักษรเพื่อแสดงแทนปรากฏการณ์เหล่านั้น ซึ่งผู้ใช้แผนที่ต้องอ่านและแปลความข้อมูลเหล่านั้นจากการมองเห็นทางกายภาพและแปลความจากภูมิความรู้ที่มี อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้แผนที่ควรมีความรู้ในเรื่องพื้นฐานคือ ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก ซึ่งทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับมาตราส่วนแผนที่และเคยกล่าวไว้ในเรื่อง เส้นโครงแผนที่...สิ่งสำคัญต่อการอ่านและแปลความหมายในแผนที่การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 การอ่านค่าพิกัด UTM” และ ความสำคัญของขนาดมาตราส่วนแผนที่

โดยข้อเท็จจริงแล้ว นอกจากมาตราส่วนจะหมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย ตามที่เคยกล่าวไว้ในบทความเรื่อง มาตราส่วนแผนที่ แล้ว สำหรับภาพถ่ายทางอากาศเรายังสามารถหามาตราส่วนได้จากอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในภาพถ่ายทางอากาศกับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย หรือหามาตราส่วนได้จากการเปรียบเทียบระยะของความยาวโฟกัสของกล้องถ่ายภาพและความสูงของการบินถ่ายภาพ เช่น

-  หากระยะทางในภาพถ่ายทางอากาศ = 5 เซนติเมตร กับระยะทางในภูมิประเทศจริง = 300 เมตร มาตราส่วนของภาพถ่ายทางอากาศ

จะเท่ากับ 5 : 30,000 หรือ 1 : 6,000

            - หากกล้องถ่ายภาพมีความยาวโฟกัส = 6 นิ้ว เครื่องบินบินสูงจากระดับภูมิประเทศ 2,000 ฟุต มาตราส่วนของภาพถ่ายทางอากาศ

          จะเท่ากับ 0.5 : 2,000  หรือ 1 : 4,000 นั้นเอง

 

จากมาตราส่วนแผนที่บนแผ่นกระดาษและแผนที่ดิจิทัล ความจำเป็นที่ต้องเข้าใจก่อนนำไปใช้งานย่อมแน่นอนว่าการย่อส่วนปรากฏการณ์บนผิวโลกมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ย่อส่วนปรากฏการณ์ลงในแผนที่ให้เหมาะสมต่อการใช้งานแผนที่มาตราส่วนใหญ่-เล็ก เมื่อพิจารณาขนาดกว้าง-ยาวของแผ่นแผนที่ทั้งที่เป็นกระดาษและจอภาพคอมพิวเตอร์ Smart phone ฯลฯ สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ

1  เมื่อขนาดกว้างยาวของพื้นที่ที่แสดงแผนที่ (บนแผ่นกระดาษ จอภาพคอมพิวเตอร์ หรือ Smart phone) เท่ากันแล้ว แผนที่มาตราส่วนเล็กจะครอบคลุมพื้นที่หรือปรากฏการณ์บนผิวโลกได้กว้างกว่าแผนที่มาตราส่วนใหญ่

1.1 หากใช้แผนที่บนกระดาษกว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตร แสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หมายความว่า เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้กว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตร X 50,000 = 2,500,000 เซนติเมตร = 25 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 625 ตารางกิโลเมตร

ในขณะที่ใช้แผนที่บนกระดาษกว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตรเหมือนกันแสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:10,000 หมายความว่า เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้กว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตร X 10,000 = 500,000 เซนติเมตร = 5 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตร

1.2 หากใช้แผนที่บนจอภาพ Smart phone กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร แสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หมายความว่า เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้

กว้างด้านละ 8 เซนติเมตร X 50,000 = 400,000 เซนติเมตร = 4 กิโลเมตร

ยาวด้านละ 15 เซนติเมตร X 50,000 = 750,000 เซนติเมตร = 7.5 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตร

ในขณะที่ใช้หากใช้แผนที่บนจอภาพ Smart phone กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรเหมือนกันแสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:10,000 หมายความว่า 

เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้

กว้างด้านละ 8 เซนติเมตร X 10,000 = 80,000 เซนติเมตร = 800 เมตร

ยาวด้านละ 15 เซนติเมตร X 10,000 = 150,000 เซนติเมตร = 1.5 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 1.2 ตารางกิโลเมตร

  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจเทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ Classification Data รูปแบบต่างๆ รวมทั้งหลักการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่เบื้องต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com