การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

เมื่อใช้โปรแกรมระบบ GIS การกำหนดประเภทของ Feature จะเริ่มที่การสร้างชั้นข้อมูลซึ่งหลักการควรพิจารณาดังนี้

สารบัญ

 ๒. เมื่อขนาดกว้างยาวของพื้นที่ที่แสดงแผนที่ (บนแผ่นกระดาษ จอภาพคอมพิวเตอร์ หรือ Smart phone) เท่ากันแล้ว แผนที่มาตราส่วนเล็กจะแสดงรายละเอียดของปรากฏการณ์บนพื้นโลกชนิดเดียวกันได้น้อยกว่าแผนที่มาตราส่วนใหญ่

2.1 หากความสามารถของเราสามารถวาดปรากฏการณ์บนพื้นที่ลงบนกระดาษด้วยหัวปากกาขนาด 0.5 mm. หมายความว่า

2.1.1 ที่แผนที่มาตราส่วน 1:10,000 ถ้าเราลากเส้นด้วยปากกา 1 เส้น เส้นนั้นจะมีความหนาเท่ากับ 0.5 x 10,000 มิลลิเมตร = 5 เมตร หรือ 1 จุดความหนาจะแทนปรากฏการณ์บนพื้นโลกขนาด 5 เมตร

2.1.2 ที่แผนที่มาตราส่วน 1:1,000 ถ้าเราลากเส้นด้วยปากกา 1 เส้น เส้นนั้นจะมีความหนาเท่ากับ 0.5 x 1,000 มิลลิเมตร = 1 เมตร หรือ 1 จุดความหนาจะแทนปรากฏการณ์บนพื้นโลกขนาด 1 เมตร

2.2 ตัวอย่างคือ

หากต้องการวาดถนนขนาด 2 เลนและฟุตบาท (2 เลน = 6 เมตร ฟุตบาทข้างละ 2 เมตร รวมแล้วถนนที่จะวาดบนแผนที่มีความกว้าง 10 เมตร)

2.2.1 บนแผนที่มาตราส่วน 1:10,000 วาดถนนโดยลากเส้นถนน 1 เส้นจะได้ถนนกว้าง 5

เมตร หากลาก 2 เส้นคู่ชิดกัน จะได้ถนนกว้าง 10 เมตร ดังนั้นการแสดงถนนดังกล่าวบน

แผนที่มาตราส่วน 1:10,000 จึงควรแสดงด้วยสัญลักษณ์เป็นเส้นเดียว หากแสดงเป็นเป็น

เส้นคู่ผู้ใช้แผนที่ต้องเข้าใจว่าผ่านขบวนการ Generalization จะมีความคลาดเคลื่อนทาง

ตำแหน่งและขนาดมาก

2.2.2 บนแผนที่มาตราส่วน 1:1,000 วาดถนนโดยลากเส้นถนน 1 เส้นจะได้ถนนกว้าง 1 เมตร หากลาก 2 เส้นคู่ชิดกัน จะได้ถนนกว้าง 2 เมตร ดังนั้นการแสดงถนนดังกล่าวบนแผนที่มาตราส่วน 1:1,000 สามารถแสดงด้วยสัญลักษณ์ขอบถนนเป็นเส้นคู่ได้ และยังสามารถแสดงสัญลักษณ์ขอบฟุตบาทได้ด้วย (ความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งและขนาดจะน้อยกว่าแผนที่มาตราส่วนเล็กกว่า)

 ๓. ข้อมูลแผนที่หรือภาพถ่ายจากดาวเทียมที่เป็นดิจิทัลเมื่อแสดงผลในจอคอมพิวเตอร์หรือSmart Phone จะสามารถขยายภาพ (Zoom In) ได้เรื่อยๆ แต่ความถูกต้องเชิงตำแหน่งจะยังคงอยู่ที่ Source Data

3.1 หากภาพถ่ายจากดาวเทียมที่เป็นข้อมูลดิจิทัลมีความละเอียด 1 เมตร หมายความว่าที่จอภาพคอมพิวเตอร์หรือ Smart Phone 1 pixel สามารถแสดงวัตถุหรือปรากฏการณ์บนพื้นโลกที่มีขนาดกว้าง-ยาวตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไปได้เท่านั้น วัตถุหรือปรากฏการณ์บนพื้นโลกที่มีขนาดกว้างหรือยาวเล็กว่า 1 เมตรจะไม่สามารถปรากฏเห็นได้ อย่างไรก็ตามเมื่อข้อมูลอยู่ในระบบดิจิทัลโปรแกรมที่ใช้ดูภาพถ่ายจากดาวเทียมจะสามารถขยายภาพ (Zoom In) บนจอภาพได้เรื่อยๆ หากต้องการเพิ่มรายละเอียดของข้อมูลเป็นชั้นข้อมูลแผนที่ใหม่โดยลากเส้นซ้อนทับภาพถ่ายจากดาวเทียม (Head Up Digitizing) จะสามารถทำได้แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ความแม่นยำทางตำแหน่งของชั้นข้อมูลแผนที่ใหม่จะมีข้อจำกัดจะอยู่ที่ความละเอียดของข้อมูลตั้งต้น และองค์ประกอบการบินถ่ายภาพทั้งลักษณะกล้อง การเอียงของกล้อง การเอียงของภูมิประเทศ ฯลฯ

3.3 ตัวอย่างคือ

ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่เป็นข้อมูลดิจิทัลมีความละเอียด 1 เมตรซึ่งถ่ายภาพในเขตเมืองสามารถมองเห็นแนวถนนได้ แต่ไม่สามารถแยกแยะผิวถนนกับฟุตบาทได้ หากใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขยายภาพ (Zoom In) จะสามารถเพิ่มรายละเอียดข้อมูลโดยลากเส้นขอบถนนและฟุตบาทซ้อนทับไปบน Pixel ของภาพถ่ายจากดาวเทียมได้ แต่สิ่งที่ผิดพลาดแน่นอน คือการลากเส้นผ่านภาพถ่ายจากดาวเทียมไปนั้น ในแต่ละ Pixel จะสามารถเกิดความคลาดเคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ถูกต้องได้เนื่องจาก 1 Pixel มีขนาดกว้าง-ยาวตั้งแต่ 1 เมตรหรือมากกว่า หากจุดเริ่มต้น (Start point) และจุดสุดท้าย (End point) ของเส้นคลาดเคลื่อนสิ่งที่ตามมาคือ ตำแหน่งระหว่างเส้น (Vertex) ระยะทาง (Distance) พื้นที่ (Area) ที่เกิดจากการคำนวณรูปปิดจะมีความคลาดเคลื่อนตามไปด้วย

 

 


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
  • แนวคิดการนำระบบ GIS ประยุกต์ใช้งานในภารกิจที่รับผิดชอบ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจถึงวิธีคิดในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยยกตัวอย่างการออกแบบและขบวนประยุกต์ใช้งานทุกขั้นตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com