ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจเทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ Classification Data รูปแบบต่างๆ รวมทั้งหลักการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่เบื้องต้น

ปรากฏการณ์บนโลกมีทั้งที่กลมกลืนต่อเนื่องและแบ่งแยกชัดเจน การออกแบบในการสร้างและอธิบายให้เข้าใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่จำเป็นต้อง....

ลักษณะปรากฏการณ์กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริง

หากนำระบบ GIS มานำเสนอปรากฏการณ์บนพื้นโลกในรูปแผนที่ เราต้องเข้าใจปรากฏการณ์ซึ่งจะนำไปสู่ลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอเพื่อให้

- ผู้สร้างแผนที่สามารถออกแบบการนำเสนอข้อมูลให้ผู้ใช้เข้าใจ

- ผู้ใช้แผนที่สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่อยอดได้

- ผู้รับบริการข้อมูลสุดท้ายจึงจะได้รับข้อเท็จจริงที่เป็น ข้อจริงมากกว่าข้อเท็จ  

ชนิดปรากฏการณ์ที่นำเสนอ ประกอบด้วย

1. ปรากฏการณ์ไม่ต่อเนื่องแบ่งแยกได้ชัดเจน

1.1 หากพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่เราสามารถแบ่งแยกปรากฏการณ์เป็นส่วนๆ ได้ชัดเจน เช่น

ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแบ่งเป็นแต่ละตำแหน่ง ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์ ที่ว่าการอำเภอปากพนัง ที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ ที่ว่าการอำเภอลานสกา เป็นต้น เช่นเดียวกับพื้นที่อำเภอซึ่งมีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ชัดเจน

ถนนแบ่งเป็นเส้น ๆ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 เป็นต้น

 

1.2 หากพิจารณาข้อมูลเชิงตัวเลขแล้วจะพบว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นเลขจำนวนเต็มไม่มีทศนิยม เช่น จำนวนประชากร จำนวนโรงงาน จำนวนต้นไม้ ฯลฯ การนำเสนอเสนอในรูปกราฟจะชัดเจนเมื่อนำเสนอในรูปกราฟแท่ง

 

2. ปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่อง เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่มีช่องว่างหรือรอยต่อระหว่างการเป็นกลุ่ม ประเภทหรือ ลำดับของข้อมูลอย่างชัดเจน เช่น

 

2.1 หากพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่เราจะแสดงโดยใช้ค่าส่วนใหญ่หรือค่าเฉลี่ย เช่น

 

ค่าฝุ่นละออกในบรรยากาศ ณ จุดตรวจวัดต่างๆ ถ้าได้ค่า PM10 ซึ่งหมายถึง ฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา แต่ไม่ได้ความอย่างนั้นจริงๆ เพราะ PM10 เป็นค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ซึ่ง ณ จุดตรวจวัดนั้นสามารถมีฝุ่นละอองขนาดเกิน 10 ไมครอนผสมอยู่ก็ได้

            เส้นชั้นความสูง ซึ่งเป็นเส้นที่ลากผ่านจุดที่ความสูงของภูมิประเทศที่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกจุดบนเส้นนั้นมีความสูงตามค่านั้นจริงๆ เพราะค่าความสูงบนเส้นนั้นเกิดจากค่าเฉลี่ยโดยประมาณ เช่นเดียวกับข้อมูลพื้นที่ระดับความสูง ไม่ได้หมายความว่าทุกจุดบนพื้นที่นั้นจะมีค่าความสูงเท่ากัน และไม่ได้หมายความว่ารอยต่อของพื้นที่ที่เปลี่ยนค่าระดับความสูงจะเปลี่ยนค่าความสูงทันที จริงแล้วในภูมิประเทศจะค่อยๆเปลี่ยนค่าระดับความสูงเข้าหากัน

พื้นที่ขอบเขตชุดดิน ไม่ได้หมายความว่าในพื้นที่จริงจะแบ่งชุดดินตามรอยต่อนั้นจริงๆ เพราะข้อเท็จจริงจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงและผสมผสานในองค์ประกอบของดินตามรอยต่อของประเภทชุดดินที่แยกประเภทกัน

      2.2  หากพิจารณาข้อมูลเชิงตัวเลขแล้วจะพบว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นตัวเลขมีค่าทศนิยม เช่น ข้อมูลปริมาณฝน ข้อมูลอุณหภูมิ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาสร้างโค้งการกระจายข้อมูลได้

 

  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    รายละเอียด

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com