เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

เมื่อใช้โปรแกรมระบบ GIS การกำหนดประเภทของ Feature จะเริ่มที่การสร้างชั้นข้อมูลซึ่งหลักการควรพิจารณาดังนี้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ และในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้จะนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อพิจารณาคำที่เป็นส่วนประกอบของคำว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะเห็นว่ามีคำหลักคือ "ภูมิศาสตร์" หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์ที่เรียกว่าภูมิศาสตร์ จะพบว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" เป็นเพียง "เทคนิควิธีการ" ซึ่งเป็นเพียงสาขาย่อยของแนวคิดในการศึกษาภูมิศาสตร์เท่านั้น

ภูมิศาสตร์ มีแนวคิดเป็นโครงสร้างสาขาที่ศึกษากันมา 4 ด้านหลัก คือ

1. ด้านปรัชญาทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวความคิด วิธีการศึกษา

2. ด้านภูมิศาสตร์ระบบ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวกับกายภาพ และมนุษย์

3. ด้านภูมิศาสตร์ภูมิภาค โดยมีหลักคิดในการแบ่งกลุ่ม แบ่งโซน กำหนดของเขตทางพื้นที่

4. ด้านเทคนิควิธีการที่นำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์

โดย ทั้ง 4 ด้านจะเน้นศึกษาทางด้านพื้นที่เป็นหลักจจึงเรียกว่า "ภูมิศาสตร์คือ ศาสตร์ทางพื้นที่" การใช้เครื่องมือ GIS จึงใช้ในกระบวนการ รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์และนำเสนอสารสนเทศในเชิงพื้นที่ โดยผู้ใช้เครื่องมือควรเข้าใจหลัก 3 ประการที่นักภูมิศาสตร์ศึกษาเชิงพื้นที่ คือ

1. คุณสมบัติเชิงพื้นที่

2. ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่

3. แนวคิดเชิงพื้นที่

  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจที่มาของระบบ GIS รวมทั้ง Spatial data เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยแผนที่ระบบเดิม โดยมีกิจกรรมแทรกประกอบ

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com