แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 8ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 

 

เมื่ออ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง (Contour) ในตอนที่ 2 แล้ว ตอน 3 จะเป็นการอ่านภาพตัดขวางจากเส้นชั้นความสูง (Contour) โดยการอ่านภาพตัดขวางจากเส้นชั้นความสูง (Contour) จะทำให้เห็นความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินเขา หุบเขา ร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด เช่นเมื่อผู้ใช้แผนที่ยืนอยู่ที่จุดหนึ่ง (A) ต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวาง (B-C) เราสามารถนำข้อมูลเส้นชั้นความสูงและแนวขวางมาสร้างภาพตัดขวางได้โดยง่าย

 

ตัวอย่างการสร้างภาพตัดขวางจากเส้นชั้นความสูง

 

1. ข้อมูลเส้นชั้นความสูงและแนวขวางที่ต้องการสร้างภาพตัดขวาง

 

 

2. อ่านค่าความสูงจากเส้นชั้นความสูงที่แนวขวางลากผ่าน (สังเกตค่าความสูงที่ต่ำสุดและสูงสุด) สร้างเส้นตั้งฉากแกน x,y โดยให้

 

- แกน x ยาวเท่ากับหรือยาวกว่าแนวขวางที่ต้องการสร้างภาพตัดขวาง

 

- แบ่งค่าแกน Y เป็นระยะ ๆ ตามค่าความสูงของเส้นชั้นความสูงที่เราอ่านค่าโดยให้ค่าความสูงต่ำสุดของเส้นชั้นความสูงเป็นระยะฐาน แล้วแบ่งค่าความสูงเป็นช่วงๆ ให้มีระยะและความสูงเท่าๆ กัน

 

- ลากเส้นขนานแกน X ตามระยะช่วงที่แบ่งในแกน Y

 

 

3. ที่จุดตัดของข้อมูลเส้นชั้นความสูงกับแนวขวางที่ต้องการสร้างภาพตัดขวางทุกๆ จุดตัด อ่านค่าความสูงของเส้นชั้นความสูงแล้วลากเส้นให้ขนานกับแกน Y โดยให้มาบรรจบกับเส้นที่ลากในข้อ 2 ซึ่งมีค่าความสูงที่ตรงกันกับค่าของแกน Y

4. ลากเส้นเชื่อมจุดตัดในข้อ 3 ทุก ๆ จุด ปรับแต่งให้พอสวยงามเป็นธรรมชาติ จะเห็นภาพตัดขวางเป็นภูมิประเทศที่แสดงความสูง ต่ำ การลาดเอียง

 หลักการนี้ เป็นหลักการเดียวที่โปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D นำไปใช้ประมวลผลข้อมูลซึ่งสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา และที่สำคัญการที่เรารู้ที่มาและหลักการพื้นฐานดังเดิมเราจะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏสามารถนำไปใช้งานได้จริงแค่ไหน ระดับไหนที่คลาดเคลื่อนไม่สามารถนำไปใช้งานจริงได้

 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/257-grid-utm-2

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/256-contour-2


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com