ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

 GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร

 

การนำข้อมูลในระบบ GIS ที่เป็น Attribute data มาแสดงผลให้เห็นเป็นภาพในแผนที่ สามารถแสดงได้ 4 รูปแบบ คือ


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

ความรู้ ความเข้าใจที่จำเป็นต้องมีเมื่อจัดทำหรือใช้แผนที่

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ สิ่งที่สำคัญในความหมายของแผนที่ ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์

การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ

1. การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ

หลักการที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ คือ ระบบพิกัด

ระบบพิกัด : เป็นระบบการอ่านค่าตัวเลขในเชิงตำแหน่งบนพื้นที่ ซึ่งจะสามารถนำไปอ้างอิงคำนวณระยะทาง พื้นที่ ปริมาตรได้ต่อไป

พิกัดที่อ้างอิงบนแผนที่มี 2 ระบบหลัก คือ

1.1 ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ 

1.2 ระบบพิกัดกริด

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ :

ระบบการกำหนดตำแหน่งลงบนทรงกลมโลกโดยกำหนดเส้นสมมุติทั้งแนวตั้งและแนวนอน ได้แก่ เส้นละติจูด (Latitude) เส้นลองจิจูด (Longitude) เส้นศูนย์สูตร และเส้น Prime Meridian
การบอกตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์จะบอกอ้างอิงเป็นค่าระยะเชิงมุมของ ละติจูด (Latitude) ลองจิจูด (Longitude) หน่วยวัดจะกำหนดเป็น องศา ลิปดา ฟิลิปดา และบอกซีกโลกกำกับด้วย ( เหนือ - ใต้ - ตะวันออก - ตะวันตก ) 

ระบบพิกัดกริด :

ระบบวิธีการกำหนดค่าจุดตำแหน่งหรือค่าพิกัดในแผนที่ ระบบพิกัดกริดที่นิยมใช้ และนำมาใช้กับการทำแผนที่ในประเทศไทย คือ ระบบเส้นโครงพิกัด U.T.M. ( Universal Transverse Mercator Gris System)
ซึ่งจะแสดงเป็นตารางจตุรัสค่าพิกัด สำหรับแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน  1 : 50,000 ชุด L7017 ระบบพิกัด UTM แผนที่ขนาด 15 ลิปดา X 15 ลิปดา ทุกเส้นกริด UTM จะมีค่าพิกัดห่างกัน 1000 เมตร

 

2. การย่อส่วน 

การย่อส่วนจากสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกจริงๆ ลงมาในแผนที่เราเรียนกว่า สัดส่วนหรือมาตราส่วน

มาตราส่วน :

หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย

 

3. สัญลักษณ์แผนที่ :

สัญลักษณ์แผนที่จะปรากฏเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.2.1 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็น จุด (point) เช่น ที่ตั้งจังหวัด อำเภอ วัดมีโบสถ์ วัดไม่มีโบสถ์ โรงเรียน เป็นต้น

1.2.2 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็น เส้น (line)เช่น แนวแบ่งเขตจังหวัด ถนน ทางน้ำ และเส้นชั้นความสูง เป็นต้น

1.2.3 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ (polygon) เช่น  สวนหรือไร่  สวนป่า  ทุ่งนา  แหล่งน้ำ

ในสัญลักษณ์ต่างๆ อาจจะมีข้อความเพื่ออธิบาย และการแสดงสี ประกอบด้วย โดยทั่วไปสัญลักษณ์จะออกแบบให้สื่อสารกับผู้ใช้งานได้ใกล้เคียงกับลักษณะภูมิประเทศจริงมากที่สุด
เพื่อความสะดวกต่อการแปลความ เช่น ทุ่งนา มีสัญลักษณ์คล้ายกับต้นข้าวทั่วทั้งพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา แหล่งน้ำ จะกำหนดให้เป็นบริเวณที่มีสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีน้ำทะเล
ทางรถไฟจะมีลักษณะคล้ายรางรถไฟ โรงเรียน มีลักษณะคล้ายเสาธงชาติ เป็นต้นนอกจากเครื่องหมายแล้ว  เรายังใช้สีเป็นการแสดงลักษณะภูมิประเทศอีกด้วย  เช่น

- สีดำ  หมายถึง สิ่งสำคัญทางวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น อาคาร  วัด  สถานที่ทางราชการต่างๆ เป็นต้น

- สีน้ำเงิน  หมายถึง  ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแหล่งน้ำ  เช่น  ทะเล  แม่น้ำ คลอง หนอง  บึง  เป็นต้น

- สีน้ำตาล  หมายถึง  ลักษณะภูมิประเทศที่มีความสูง เช่น  เส้นชั้นความสูง

- สีเขียว  หมายถึง  พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ  เช่น  สวน  ไร่ ป่า 

- สีแดง  หมายถึง  ถนนสายหลัก  พื้นที่ย่านชุมชน  และบริเวณภูมิประเทศสำคัญ

  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักแผนที่และนักสำรวจจะต้องปรับตัวเมื่อตำแหน่งมือถือปรากฏบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมในหน้าจอมือถือได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com