เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 8ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

 

ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร การจดจำหรือจินตนาการสภาพแวดล้อมของมนุษย์แต่ละคนนั้นเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map) ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการรับรู้ การรู้สึก การสนใจหรือให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม

 

หากให้แต่ละคนบอกเล่าสื่อสารสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยใช้แผนที่ในใจ (Mental Map) เพื่อบอกเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อธิบายการเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง แน่นอนว่าแต่ละคนคงจะสื่อสารได้ไม่เหมือนกันและผู้รับสื่อก็มีโอกาสทั้งเดินทางถูกต้องหรือหลงทางก็ได้

 

แผนที่ (Map) (ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า “Mappa” ที่แปลว่าผ้าคลุม ซึ่งมนุษย์จิตนาการว่าใช้คลุมโลกและคัดลอกสภาพแวดล้อมบนพื้นโลกมาสู่ผ้าคลุมนั้น) เป็นเครื่องมือที่มนุษย์พยายามนำเอาแผนที่ในใจ (Mental map) ของแต่ละคนโดยเฉพาะส่วนที่หลายๆ คนหรือทุกคนมีการรับรู้สภาพแวดล้อมบางอย่างหรือหลายๆอย่างที่เหมือนๆ หรือตรงกันมาสร้างเป็นแผนที่นอกใจ ทั้งที่อยู่ในรูป หุ่นจำลอง (Physical Model) แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) หรือแผนที่ลายเส้น (Line Map) โดยการย่อส่วนตามอัตราส่วนที่เหมาะสมและใช้สัญลักษณ์ที่คงรูปร่างให้คล้ายของจริงมากที่สุด โดยยึดหลักของการทำแผนที่ที่ต้องการแสดงรายละเอียดของพื้นที่ให้สามารถมองเห็นเพียงครั้งเดียวสามารถเข้าใจรายละเอียดพื้นที่ได้มาก รวดเร็วกว่าการอ่านหนังสือหรือฟังคำบรรยายเรื่องเดียวกันกับแผนที่นั้น

ดังนั้น แผนที่ (Map) ก็คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นพิภพ หรือจากการมองเห็นหรือจินตนาการจากพื้นพิภพ (เช่น สิ่งที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยแสดงเป็นสัญลักษณ์ตามอัตราส่วนบนพื้นวัสดุที่เหมาะสม

 

 

  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com