ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เพื่อไม่ให้เนื้อหาที่เตรียมไปบรรยายประกอบการเรียน การสอนวิชา 154108 เสียของ จึงขอนำเอามาเขียนไว้ใน www.GEO2GIS.com โดยจะแบ่งเป็น 5 ตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อได้รับเชิญไปบรรยายให้น้องใหม่ ภูมิศาสตร์ มช. ฟังในหัวข้อ แรงบันดาลใจ ประสบการณ์และการประยุกต์การศึกษาภูมิศาสตร์กับการทำงานรูปแบบต่างๆ ประกอบการเรียน การสอนวิชา 154108 : ภูมิศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ โดยให้บรรยายในวันที่ 20 กันยายน 2560 ในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ซึ่งก่อนไปบรรยายได้ศึกษาข้อมูลพบว่า วิชานี้มีวัตถุประสงค์ของการเรียนคือ เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าใจถึงการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ ลักษณะและคุณสมบัติของนักภูมิศาสตร์ แนวทางการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงทิศทางการเรียน การสอนด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทยและนานาประเทศ

หลังจากเตรียมเนื้อหาแล้ว พบว่ายากที่จะอธิบายให้น้อง ปี 1 เข้าใจ เพราะสิ่งที่ต้องบรรยายมีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นวิชาการทางภูมิศาสตร์ จึงค่อนข้างหนักใจในการสื่อสารอย่างมากแต่ก็ต้อง.....ลองดู

เหมือนเล่าประวัติตนเองที่เริ่มต้นคล้ายกับทุกคนคือ...ก่อนเข้ามาเรียนภูมิศาสตร์ มช. ก็ เลือกสอบเพื่อเข้าเรียนภูมิศาสตร์เป็นอันดับสุดท้าย มาเรียนโดยไม่รู้ว่าเรียนจบจะไปประกอบอาชีพอะไรนอกจากอาชีพครู

หากแต่ระหว่างเรียนมีโอกาสได้ช่วยงานอาจารย์ ได้ฝึกใช้วิชาการทางภูมิศาสตร์เขียนแผนที่ อ่านแผนที่ สำรวจเพื่อเก็บข้อมูล ทำแผนที่ คำนวณพื้นที่/ระยะทาง/ตำแหน่งบนแผนที่ รวมทั้งเขียนรายงานต่าง ๆ ....เลยทำให้มั่นใจว่าภูมิศาสตร์ทำได้มากกว่าการเป็นครู

เมื่อเรียนจบใหม่ ๆ (ปี พ.ศ. 2530) ลองเขียนเอกสารโครงการไปเสนอตัวขอทำแผนที่เมืองเชียงใหม่บอกเส้นทางการเข้าถึงห้างสีสวน (ขณะนั้นห้างสีสวนเพิ่งสร้างใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองมาก ปัจจุบันไม่มีห้างสีสวนแล้ว) ผจก.ห้างสีสวนให้เงินมา 1 ก้อนตามที่เขียนขอไป ได้ทำแผนที่ขนาดใหญ่ติดหน้าห้างสีสวนอย่างโดดเด่น หลังจากนั้นได้มีโอกาสเข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกแบบสอบถาม สัมภาษณ์จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลโครงการ ซึ่งได้ความรู้ด้านงานวิจัยเพิ่มเติม ได้สั่งสมประสบการณ์ก่อนที่จะสอบเข้ารับราชการได้ที่ กองผังเมือง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ในตำแหน่งนักวิชาการแผนที่ ได้ทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1: 6,000 ได้เขียนแผนที่ ลอกลายแผนที่ ย่อ-ขยายแผนที่ พิมพ์เขียวแผนที่จาก Tracing Paper สำรวจพื้นที่อาคาร ได้พบชาวบ้านพูดคุยสัมภาษณ์เก็บข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมาย

จนกระทั้งถูกส่งไปทำงานในโครงการ Bangkok Land Information System (BLIS) : โครงการ GIS โครงการแรกของประเทศไทย โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือกันของ 5 หน่วยงานคือ กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย  เมื่อเสร็จสิ้นโครงการฯ  กรุงเทพมหานครได้นำเอาระบบ GIS มาประยุกต์ใช้ในภารกิจขององค์กรอย่างมากมาย แต่ด้วยข้อจำกัดบางอย่างทำให้การประยุกต์ใช้งานระบบ GIS จึงทำได้เพียงเพื่องานที่ค้นหาและแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อบอกว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ตามแนวคิด ทฤษฎีทางพื้นที่หรือทางศาสตร์ที่เรียกว่า ภูมิศาสตร์แทบจะไม่ปรากฏเลย จึงทำให้ต้องมาทบทวนว่าที่ผ่านมาได้เรียนอะไรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ได้บ้าง แต่เนื่องจากได้ถูกกำหนดให้เป็นหัวหน้าฝ่ายระบบเครือข่าย กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยตรง การประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีเพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่จึงมีโอกาสน้อย ประกอบกับภายหลังถูกแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานด้าน Information Technology and Communication (ICT) ทำให้ได้พบเห็นแง่คิด มุมมองด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำมาผสมผสานกับศาสตร์ทางภูมิศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือของนักภูมิศาสตร์ และได้ตกผลึกทางความคิดเป็นแนวคิดของนักภูมิศาสตร์รุ่นใหม่ ซึ่งทั้งหมดมีโอกาสบอกเล่ารายละเอียดไปบางส่วน

เมื่อจบการบรรยายพบว่า ด้วยเวลา 1 ชั่วโมงซึ่งค่อนข้างจำกัด เนื้อหาที่เป็นวิชาการจำนวนหนึ่งอาจจะตกหล่นไม่ครบถ้วน แต่เพื่อไม่ให้เนื้อหาที่เตรียมไปบรรยายเสียของ จึงขอนำเอาเรื่องราวทั้งหมดมาเขียนไว้ใน www.GEO2GIS.com โดยจะแบ่งเป็นตอน ๆ ต่อจากตอนที่ 1 ดังนี้

เรื่องเล่าของนักภูมิศาสตร์ ตอน 2 : Bangkok Land Information System (BLIS) โครงการ GIS โครงการแรกของประเทศไทย

เรื่องเล่าของนักภูมิศาสตร์ ตอน 3 : การประยุกต์ใช้ GIS ของ กทม.

เรื่องเล่าของนักภูมิศาสตร์ ตอน 4 : ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ เราเรียนอะไรบ้างและจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร

เรื่องเล่าของนักภูมิศาสตร์ ตอน 5 : แนวคิดของ นักภูมิศาสตร์สมัยใหม่

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้383
เมื่อวานนี้569
สัปดาห์นี้2461
เดือนนี้1422
ทั้งหมด1200604
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 12

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com