สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ระดับน้ำลด เข้าถึงและพบเด็ก ๆ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคม พุทธศักราช2553 ความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดตามเรื่องสถานการณ์น้ำอยู่ตลอดเวลา แม้ระหว่างประทับพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ไม่ทรงว่างเว้นเลย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมนี่เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้บริหาร สถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงานสรุปสถานการณ์น้ำ ได้รับสั่งให้ย้ำทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องน้ำทั่วประเทศ ให้ช่วยกันวางแผนเพื่อรับมือปัญหาน้ำที่ขาดแคลนเป็นประจำทุกฤดูแล้งเพราะจะขาดแคลนมากขึ้นในอนาคต โดยให้คำนึงถึงการประสานประโยชน์ ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป เวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ พระองค์ท่านจะต้องใช้แผนที่เป็นคู่มือทุกครั้งในห้องทรงงานที่พระตำหนักทุกๆ แห่งทั่วประเทศ จะมีแผนที่ประเทศไทยขนาดใหญ่ติดฝาห้อง และแผนที่ที่ขยายเฉพาะส่วนก็มีอีกหลายแผ่น ฉบับที่ทรงถือติดพระหัตถ์นั้น ความจริงมีขนาดใหญ่มาก เพราะทรงนำแผนที่มาต่อกันถึง 9 แผ่น หรือ 9 ระวาง แต่ทรงหาวิธีพับแบบพิเศษ จนมีขนาดที่ทรงถือได้สะดวก พลิกออกมาทอดพระเนตรได้ง่าย ทรงตรวจสอบแผนที่เสมอ ไม่ว่าจะเสด็จฯ ที่ไหน แม้ขณะทรงขับรถเอง ก็มีแผนที่วางอยู่ข้างพระองค์ตลอดเวลา ถ้าประทับเฮลิคอปเตอร์ ก็จะทอดพระเนตรสภาพพื้นที่จริงเบื้องล่าง เปรียบเทียบไปกับแผนที่ตลอดทาง ไม่มีการหลับเด็ดขาด เสด็จฯ ไปถึงที่หมายแล้ว จะทรงถามชาวบ้านว่า ชื่อหมู่บ้าน แม่น้ำลำคลอง หรือถนน ตรงกับแผนที่ไหม มีหมู่บ้านใดเกิดขึ้นมาใหม่บ้าง ถ้ามีข้อมูลที่ต่างไปจากแผนที่ จะโปรดฯ ให้นายทหารแผนที่จดไว้และนำไปแก้ไข ในการพิมพ์แผนที่ครั้งต่อไปให้ถูกต้อง หากมีโครงการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ทรงสามารถคำนวณพื้นที่รับน้ำคร่าวๆ ได้จากแผนที่ของพระองค์เอง ทรงชำนาญมาก จนทอดพระเนตรความสูงต่ำของภูมิประเทศได้ ราวกับทอดพระเนตรพื้นที่จริง นักวิชาการหลายท่านทราบดีถึงพระปรีชาสามารถด้านการทรงงานแผนที่ของพระองค์ท่านดี และความที่ทรงแม่นยำในแผนที่นี้ ทำให้ข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้วยพลอยกระตือรือร้น ศึกษาหาความรู้เรื่องแผนที่ไปด้วย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ตามเสด็จทรงงานในหลายพื้นที่ ทรงเล่าถึงเรื่องแผนที่ของในหลวงไว้ในรายการวิทยุ พูดจาภาษาช่างทางสถานีวิทยุจุฬาฯ ความว่า แผนที่ที่พระองค์ทรงใช้คือ มาตราส่วน 1 : 50,000 สำนักงานของท่านคือห้องกว้างๆ ไม่มีเก้าอี้ มีพื้นแล้วท่านก้มอยู่กับพื้น แล้วเอากาวติดแผนที่เข้าด้วยกัน แล้วหัวกระดาษต่างๆ ท่านก็ค่อยๆ ตัดแล้วเรียงแปะเป็นหัวแผนที่เข้าด้วยกันใหม่ เพื่อจะได้ทราบว่าแผนที่ระวางไหนบ้าง การปะแผนที่ท่านก็ทำอย่างพิถีพิถัน และถือเป็นงานที่ใครจะมาแตะต้องช่วยเหลือไม่ได้เลยทีเดียว สาเหตุที่ทรงโปรดทำทุกสิ่งด้วยพระองค์เองนั้น ท่านบอกว่าคนเป็นช่าง ช่างหมายถึงงานทำด้วยมือทั้งหลายแหล่ ซึ่งการทำอะไรด้วยมือได้ ไม่ใช่หมายความว่ามือทำเอง มันมาจากสมอง สมองสั่งให้มือทำจึงทำได้ งานช่างคืองานที่ผนวกกันระหว่างสมองกับมือ เพราะฉะนั้นต้องทำเอง ขีดเอง ลูบคลำมันไปแล้ว มันจะได้จากมือที่ลูบคลำ จากตาที่ดู ย้อนกลับมาที่สมอง ทำให้คิดอะไรขึ้นมาได้

 

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งว่า แผนที่แต่ละแผ่นทรงหวง ท่านหวงแผนที่ของท่าน อันเดิมนั้นต้องเก็บไว้ โดยเฉพาะแผนที่ทางภาคใต้นั้นโดนฝนมา ทำให้ค่อนข้างเปื่อยยุ่ย ต้องถือด้วยความระมัดระวัง ถ้าแผนที่นั่นเน่าเต็มทน คือโดนฝน โดนอะไรมา หลายปีหลายฤดูกาล ท่านก็ต้องย้ายข้อมูลจากแผ่นเก่ามาแผ่นใหม่ ซึ่งท่านก็ต้องทำเองอีกเหมือนกัน ขณะที่ทรงงานจะทรงเติมข้อมูลต่างๆ ลงไปมาก และทรงแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่ทรงพบด้วยเมื่อทรงได้ข้อมูลใหม่จึงส่งตรงไปพระราชทานกรมแผนที่ทหารเสมอ

และทั้งหมดคือความภาคภูมิใจซึ่งเป็นที่มาของเรื่องราว แผนที่ แผ่นกระดาษมหัศจรรย์...เครื่องมือช่วยพัฒนาประเทศ

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ข้อมูลในระบบ GIS มีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภทหลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างข้อมูลใหม่ควรเข้าใจว่ากลุ่มข้อมูล GIS มีอยู่ 3 กลุ่มข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อนำหลักการพื้นฐานของ Network Analysis มาเป็นโปรแกรมการวิเคราะห์เส้นทาง มือถือจึงแนะนำเส้นทางเพื่อการทางเราได้

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปรากฏการณ์บนโลกมีทั้งที่กลมกลืนต่อเนื่องและแบ่งแยกชัดเจน การออกแบบในการสร้างและอธิบายให้เข้าใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่จำเป็นต้อง....

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้385
เมื่อวานนี้627
สัปดาห์นี้1012
เดือนนี้14603
ทั้งหมด1179988
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com