ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจที่มาของระบบ GIS รวมทั้ง Spatial data เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยแผนที่ระบบเดิม โดยมีกิจกรรมแทรกประกอบ

หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

 กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่าง ๆตามที่กฎหมายกำหนด งบประมาณหลักที่นำมาใช้ ได้จากการจัดเก็บภาษี 3 ประเภท คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย

 กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่าง ๆตามที่กฎหมายกำหนด งบประมาณหลักที่นำมาใช้ ได้จากการจัดเก็บภาษี 3 ประเภท คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย การจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2541 มีมูลค่าภาษีแยกเป็นจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ร้อยละ 90.7  จากภาษีบำรุงท้องที่ ร้อยละ 2.6และจากภาษีป้าย ร้อยละ 6.7 ในการจัดเก็บภาษี ที่ผ่านมาได้มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์คือระบบ MIS เข้ามาช่วยในการจัดเก็บแต่ยังคงไม่ทั่วถึง แนวทางที่จะทำให้มีการจัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือการนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ามาช่วย ระบบแผนที่ภาษีจึงถูกพัฒนาขึ้นมาทดลองใช้งานสำหรับพื้นที่บางส่วนของเขตคลองเตย ( ครอบคลุมหมายเลขประจำบ้าน 10,000 เลขหมาย ) ข้อมูลที่นำมาใช้พัฒนาระบบเป็นข้อมูลอ้างอิงแผนที่ฐาน 1 : 1,000 ประกอบด้วยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม ข้อมูลจากระบบ MIS ของกรุงเทพมหานคร ข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยและข้อมูลแปลงโฉนดที่ดิน จากกรมที่ดิน

การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ระบบแผนที่ภาษีสำหรับช่วยจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน กำหนดให้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาพัฒนาโดยให้สามารถแสดงข้อมูลได้ 3 รูปแบบคือ รูปแผนที่ รูปรายงาน และรูปแผนภูมิ

รูปแผนที่ ต้องสามารถแสดงข้อมูลการใช้ประโยชน์โรงเรือน , ตำแหน่งโรงเรือนที่อยู่ในและนอกพิกัดภาษี , ตำแหน่งโรงเรือนที่อยู่ในพิกัดภาษีที่มายื่นแบบชำระภาษีแล้วและยังไม่มายื่นแบบชำระภาษี และตำแหน่งโรงเรือนที่ได้จากเงื่อนไขที่มีการสอบถามจากระบบฯ

รูปรายงาน ต้องสามารถแสดงข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ  ข้อมูลจากระบบ MIS  ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามตามเงื่อนไข เช่น รายการที่อยู่(Address)ของ โรงเรือนที่ยังไม่ยื่นชำระภาษี  โรงเรือนที่ค้างชำระ และโรงเรือนที่ผ่อนชำระ

รูปแผนภูมิ ต้องสามารถแสดงสัดส่วนจำนวนโรงเรือนที่อยู่ในและนอกพิกัดภาษี , สัดส่วนโรงเรือนที่อยู่ในพิกัดภาษีที่มายื่นแบบชำระภาษีแล้วและยังไม่มายื่นแบบชำระภาษี และสัดส่วนโรงเรือนแยกตามการใช้ประโยชน์โรงเรือน

รายละเอียด

  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com