แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

ราชบัณฑิตยสถาน (2549,258) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ว่า ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์....." แล้วเข้าใจข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ว่าอย่างไร

ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

 สิ่งที่ต้องเข้าใจ...เมื่อสร้างชั้นข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งของแผนที่ฐาน (Base Map) ในระบบ GIS

ภายหลังที่อ่านบทความ การกำหนด Feature Type กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ มาตราส่วนของแผนที่ฐานทำให้รู้จักคำว่า แผนที่ฐาน (Base Map) ซึ่งในการจัดทำแผนที่ในสมัยโบราณแผนที่ฐานก็คือแผนที่ภูมิประเทศซึ่งแสดงข้อมูลลักษณะทางกายภาพ (Physical) และข้อมูลที่เป็นจินตภาพ (Mental Picture ) ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทางน้ำ  ถนน เส้นชั้นความสูง เขตปกครอง โดยแผนที่ฐานจะเป็นภาพสัญลักษณ์ตำแหน่ง เส้นหรือพื้นที่ที่ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งสำหรับการสร้างข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปกติจะเป็นการวาดซ้อนทับแผนที่ฐาน

 

ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS โดยขบวนการ Head up digitize หรือ การถ่ายโอนข้อมูลค่าพิกัดจากไฟล์หรือเครื่องมืออื่นใดก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐานที่จะนำไปใช้งานต่อ โดยเฉพาะการใช้งานในการวัด การค้นหาหรือการคำนวณตำแหน่ง ระยะ หรือพื้นที่ก็ตาม เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้นที่จัดทำแผนที่ฐานนั้น ๆ เช่น

 

เมื่อต้องการจัดเก็บข้อมูลอาคารที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร 50 หลัง (พื้นที่อาคาร 10,000 ตารางเมตร) ลงพื้นที่ว่างในระบบ GIS หากแต่ไม่รู้ว่าแผนที่ฐานที่อยู่ในระบบ GIS มาจากแผนที่มาตราส่วนเท่าไร

วิธีการอาจจะขยายพื้นที่ว่างในระบบ GIS แล้วภาพถ่ายทางอากาศมาตรึงในพื้นที่ว่างนั้น แล้วจึงวาดขอบเขตอาคารซ้อนทับลงไป หรือถ้าไม่มีภาพถ่ายทางอากาศ อาจจะใช้การ Digitize ขอบเขตอาคารซ้อนทับโดยอ้างอิงตำแหน่งใกล้เคียงแบบ หรือหากทำการสำรวจข้อมูลในพื้นที่มาแล้วอาจจะทำการ Digitize ขอบเขตอาคารซ้อนทับโดยวัดระยะเทียบกับระยะในระบบ GIS (อ่านรายละเอียดในหัวข้อ การจัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ GIS”)

 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วนเล็กความคลาดเคลื่อนจะสูงแต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถขยายได้ละเอียดมากจนสามารถวาดหรือ Digitize ขอบเขตอาคารในพื้นที่ว่างได้ แต่ข้อมูลจะผิดพลาดเมื่อนำไปใช้งาน เช่น

หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วน 1 : 50,000 หมายความว่าการนำเข้าข้อมูลแผนที่ฐานครั้งแรกด้วยวิธี Digitize ข้อมูลแผนที่กระดาษ ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม หรือขบวนการ Vectorization หรือขบวนการอื่นใดก็ตาม ความคลาดเคลื่อนตามระบบหรือคลาดเคลื่อนโดยมนุษย์ย่อมเกิดขึ้นเสมอ หากคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ถูกต้องไป 1 มิลลิเมตร หมายถึง คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งจริงบนพื้นโลกไป 50,000 มิลลิเมตร หรือ 50 เมตร ซึ่งกว้างใหญ่กว่าอาคารหนึ่งหลัง หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วน 1 : 10,000 คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ถูกต้องไป 1 มิลลิเมตร หมายถึง คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งจริงบนพื้นโลกไป 10,000 มิลลิเมตร หรือ 10 เมตร ซึ่งก็ยังผิดพลาดมาก แต่ในระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถขยายแผนที่และวาดภาพข้อมูลลงไปในพื้นที่ว่างได้

  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แนวคิดการนำระบบ GIS ประยุกต์ใช้งานในภารกิจที่รับผิดชอบ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจถึงวิธีคิดในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยยกตัวอย่างการออกแบบและขบวนประยุกต์ใช้งานทุกขั้นตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com