ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System for Administration)” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาเกี่ยวกับ การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร สถาบันการศึกษาที่นำระบบ GIS ไปประกอบการสอนควรตระหนักว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่ ศาสตร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

แท้จริง GIS ก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ ก็แทบจะทำอะไรได้ไม่มากไปกว่า การใช้ GIS เป็นเครื่องมือเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน ยิ่งในปัจจุบัน การเข้าถึงข้อมูลโดยการเรียกดูแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพ 3 มิติ หรือภาพจริงด้วย Google Earth, Google Map, Bring Map และอื่น ๆ ผ่านระบบ Internet ก็สามารถตอบดังกล่าวได้อย่างชัดเจน

หากถามว่าเมื่อเข้าใจในศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่แล้วจะสามารถใช้  GIS เป็นเครื่องมือตอบคำถามอะไรได้มากกว่านั้นบ้าง ตัวอย่างมากมายที่ประยุกต์ใช้ GIS เพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นที่และตอบคำถามได้ตั้งแต่คำถามพื้นฐานจนถึงคำถามที่ซับซ้อน เช่น

-    การใช้ GIS ค้นหาที่ตั้งหรือตำแหน่งที่ต้องการ เช่น การตั้งคำถามพื้นฐานว่า โรงเรียนวัดมะกอกอยู่ที่ไหน

-     การใช้ GIS ถามคำถามที่มีเงื่อนไขมากขึ้น เช่น โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง

-     การใช้ GIS ถามเกี่ยวกับการเดินทางไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่สั้นที่สุด เวลาที่ใช้เดินทางน้อยที่สุด หรือ เส้นทางที่ใช้เวลาน้อยที่สุดโดยไม่ต้องใช้ทางด่วน

-     การใช้ GIS วิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มหรือการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดในพื้นที่ด้วยเงื่อนไข ตัวแปรที่ชัดเจน เช่น มวลน้ำ 20000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากนครสวรรค์จะไหลมาถึงกรุงเทพมหานครภายในกี่ชั่วโมง และจะส่งผลกระทบให้เกิดน้ำทั่วครอบคลุมพื้นที่เท่าไร 

คำถามและสิ่งที่น่าสนใจข้างต้นเป็นการนำเอา GIS ไปประยุกต์ใช้งานที่น่าจะได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายภายใต้กรอบแนวคิดของศาสตร์สาขาต่างๆ โดยเฉพาะศาสตร์ที่เป็นรากฐานการศึกษาทางพื้นที่โดยตรงคือ ภูมิศาสตร์

เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบันการเรียนสอนและการศึกษาวิจัยในบ้างสาขาที่มีการนำ GIS ไปเป็นเครื่องมือนั้น ผู้สอนและผู้เรียนหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่าแนวคิดของศาสตร์ ทำให้การศึกษาวิจัยมีแนวคิดที่ซ้ำ ๆ เพียงแต่เปลี่ยนพื้นที่ศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้หลากหลายและต่อเนื่อง มุ่งเน้นเพียงการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก ทำให้ความแตกฉานในเนื้อหาวิชาจึงลดลง ผู้ศึกษามีเพียงความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี

ที่น่าตกใจคือ หลายสถาบันการศึกษาลืมไปว่า GIS เป็นเทคโนโลยี ไม่ใช่ "ศาสตร์"มีการนำระบบ GIS ไปเป็นเนื้อหาวิชาหลักที่ใช้สอนและให้ความสำคัญ จนยอมเปลี่ยนชื่อหรือตั้งสาขาวิชาเป็นชื่อ GIS โดยตรง และสิ่งที่ตามมาและต้องระวังในอนาคต คือ ศิษย์ของสถาบันที่จบในสาขานี้มีความเสี่ยงที่จะมี องค์ความรู้ที่ล้าสมัย (obsolete)ในอนาคตเพราะเป็นความรู้ด้านเทคโนโลยี (ไม่ใช่ ศาสตร์)ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อศิษย์สถาบันเหล่านี้จบการศึกษาไปแล้วและยังหางานทำไม่ได้ในระยะ 3-5 ปี เขาจะเป็น บัณฑิต obsolete

หน่วยงานที่นำเอาระบบ GIS ไปใช้งาน เมื่อรับบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้าไปทำงาน การพัฒนาระบบ GIS เพื่อใช้งานสามารถทำได้ระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะการขาดความรู้ด้านการประยุกต์ใช้งานเชิงพื้นที่ ทำให้ใช้งานระบบ GIS ได้เพียงการตอบคำถามพื้นฐานไม่ต่างอะไรกับการใช้ Google Map ผ่านระบบ Internet การลงทุนพัฒนาระบบงานด้านเทคโนโลยี GIS จึงไม่เสี่ยงที่จะใช้งานไม่คุ้มค่า สุดท้ายก็จะเหลือไว้เพียง "ขยะคอมพิวเตอร์ (Hardware Software Data Information เก่า ๆ)" ในขณะที่ยังคงต้องจ่ายเงินค่าดูแลระบบเดิมอย่างต่อเนื่อง

ควรตระหนักว่า GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า ระบบ GIS เป็นเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่ ศาสตร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เอกสารการนำเสนอประกอบการสอนวิชา “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS สำหรับเมืองขนาดใหญ่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์เบื้องต้น หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แนวคิดและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้141
เมื่อวานนี้470
สัปดาห์นี้1650
เดือนนี้611
ทั้งหมด1199793
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 9

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com