สาระภูมิศาสตร์

การวัดค่าในศาสตร์ของภูมิศาสตร์ 2

เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

สารบัญ

 ประชากรวัยสูงอายุ

 

รูปที่ 3 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยสูงอายุซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยสูงอายุจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ หากพิจารณา 10 อันดับแรกของจำนวนประชากรวัยสูงอายุจังหวัดต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ประชากรวัยสูงอายุจำนวนมากที่สุด ประกอบด้วย 

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยสูงอายุมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 4 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 12-26 (อยู่ในช่วงใกล้เคียงกับประชากรวัยเด็ก)

หากพิจารณาการกระจุกและกระจายตัวของข้อมูลร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะปรากฏตามรูปที่ 4 ซึ่งจังหวัดที่มีค่าข้อมูลอยู่ในกลุ่มค่ามากจะเป็นจังหวัดในภาคเหนือต่อเนื่องมถึงภาคกลาง   

 

  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com