สาระภูมิศาสตร์

การวัดค่าในศาสตร์ของภูมิศาสตร์ 1

ภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เป็นรากฐานให้ศาสตร์อื่นๆ เป็นศาสตร์ที่สามารถผสมผสานแนวคิดศาสตร์อื่นๆ มาแสดงเป็นปรากฏการณ์ทางพื้นที่ได้ นักภูมิศาสตร์ใช้เทคนิคการสังเกต การอธิบายภาพความจริง ศึกษาปรากฏการณ์ที่มีความแตกต่าง หลากหลายในมิติของพื้นที่

สารบัญ

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

 

            ภายใต้สมมุติฐานเบื้องต้นว่าประชากรวัยแรงงานคือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้หลักเพื่อนำมาเลี้ยงดูประชากรทั้งหมดซึ่งมีทั้งกลุ่มวัยแรงงาน วัยเด็กและวัยสูงอายุ สำหรับประเทศไทยเมื่อพิจารณาข้อมูลจำนวนประชากรทั้ง 3กลุ่มของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า


ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,111,805 คน เป็นวัยเด็ก(อายุ 0-14 ปี) ร้อยละ 15.59 วัยสูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 18.6 และ วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ร้อยละ 63.95 หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 หมายความว่า มีประชากรในวัยพึ่งพิง 53 คนต่อประชากรวัยแรงงาน 100 คน (ถ้าอธิบายแบบง่าย ๆ คือ คนทำงาน 100 คน นอกจากต้องทำงานเลี้ยงดูตนเองและเลี้ยงดูเด็กและคนสูงอายุอีก 53 คน)

เมื่อวัยแรงงานและวัยพึ่งพิงส่งผลต่อกันนอกจากพิจารณาอัตราส่วนต่อกันแล้ว การรู้ว่าจำนวนประชากรทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ไหนเท่าไรจะทำให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อนำข้อมูลจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิง(วัยเด็ก+วัยสูงอายุ) มาแสดงในรูปแผนที่ จะปรากฏข้อมูลดังนี้

ประชากรวัยเด็ก

 

รูปที่ 1 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่มพบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยเด็กจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับเมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้นพบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กมากส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ที่พบกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยและปรากฏเป็นกลุ่มต่อเนื่องคือจังหวัดในภาคเหนือได้แก่จังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเอาจำนวนประชากรวัยเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 2 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรเด็กต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 11-25 และจังหวัดในภาคใต้จะมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมากกว่าภาคอื่น ๆ

 

 

  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com