สาระภูมิศาสตร์

โลกและสุริยจักรวาล เกิดขึ้นได้อย่างไร

มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

 การวัดค่าในศาสตร์ของภูมิศาสตร์ 2

เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผล งานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้อง และเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

อย่างไรก็ตามก็ยังคงศึกษาควบคู่ไปกับเชิงคุณภาพไปด้วยตลอดจึงเป็นลักษณะเด่นของนักภูมิศาสตร์ที่มีการศึกษาเชิงพื้นที่ที่มีการบรรยายควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงปริมาณที่มีความถูกต้อง (Accuracy) และเที่ยงตรง (Validity)

ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์การบรรยายข้อมูลเนื้อความจะมีทั้งความแม่นยำ (Precision) และความถูกต้อง (Accuracy) ควบคู่กัน

ความแม่นยำไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป หากเปรียบเทียบกับการปาเป้าสามารถอธิบายได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1)     1. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,500 ตารางกิโลเมตร

อธิบายได้ว่า ปาเป้ามีความแม่นยำแต่ไม่ถูกต้องตรงกลางเป้า

1)      2. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร

อธิบายได้ว่า ปาเป้ามีความแม่นยำและถูกต้องตรงกลางเป้า

1)      3. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ใหญ่กว่าทุกจังหวัดในประเทศไทย

อธิบายได้ว่า ปาเป้าไม่มีความแม่นยำและไม่ถูกต้อง

1)     4. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ใหญ่กว่าหลายจังหวัดในประเทศไทย

อธิบายได้ว่า ปาเป้าแม้ถูกต้องแต่ไม่มีความแม่นยำ นั้นคือข้อมูลถูกต้องแต่ไม่มีรายละเอียดเข้าใจได้หลากหลาย

ในการวัดค่าจะมีหน่วยนับซึ่งสามารถแยกข้อมูลเชิงปริมาณได้ 3 ลักษณะ คือ

 

   1. Ordinal

2.       2. Interval

  3.    3. Ratio

 

 

 อ่าน การวัดค่าในศาสตร์ของภูมิศาสตร์ ๑ ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/geography/239-measure-1

 

 

 

 

  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com