อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อ่านเพิ่มเติม...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี นักภูมิศาสตร์จึงทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนและผู้ประสานงาน

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อนำแผนที่มาใช้งานจะพบว่าแผนที่มีรายละเอียดประจำขอบระวางแตกต่างกันไป แผนที่ที่สมบูรณ์แต่ละฉบับจะต้องมีสัญลักษณ์แสดงทิศเหนือเสมอ แผนที่หลายชุดแสดงทิศเหนือเป็นเส้นบอกแนวทิศทางและแสดงเป็นสัญลักษณ์ 3 เส้น เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกเรียกว่า แผนผังมุมบ่ายเบน (Declination Diagram) โดยทั้ง 3 เส้นประกอบด้วยเส้นแนวทิศเหนือจริง (True North) เส้นแนวทิศเหนือแม่เหล็ก (Magnetic North) และเส้นแนวทิศเหนือกริด (Grid North)

1.      แนวทิศเหนือจริง (True North) หรือเรียกว่า แนวทิศเหนือภูมิศาสตร์ จะเป็นแนวเส้นตรงที่ชี้ไปยังขั้วโลกเหนือ หากสมมุติว่าโลกกลมและมีเส้นสมมุตติที่เรียกว่าเส้น Latitude และ Longitude แล้ว ณ ตำแหน่งหรือสถานที่ในแผนที่หรือบนภูมิประเทศ แนวทิศเหนือจริงในแผนที่จะหมายถึง แนวหรือทิศทางของเส้น Longitude ที่เป็นแนวตีบไปยังขั้วโลกเหนือ

2.      แนวทิศเหนือแม่เหล็ก (Magnetic North) เป็นแนวที่เข็มทิศชี้ไปหาขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกในขณะที่ปลายเข็มทิศอยู่นิ่งแล้ว ในบางพื้นที่ของโลกแนวทิศเหนือแม่เหล็กจะชี้ไปแนวเดียวกับทิศเหนือจริงหรือขั้วโลกเหนือจริงๆ แต่ในบางพื้นที่แนวทิศเหนือแม่เหล็กอาจจะไม่เป็นแนวเดียวกับทิศเหนือจริง หากเป็นคนละแนวหมายความว่า แนวทิศเหนือแม่เหล็กจะเบี่ยงเบนออกจากขั้วโลก นั่นหมายถึงทิศเหนือที่อ่านจากเข็มทิศทั่วไปอาจจะไม่ใช่ทิศเหนือซึ่งเป็นขั้วโลกก็ได้ ดังนั้นเข็มทิศบางประเภทจึงแสดงทั้งแนวทิศเหนือแม่เหล็กและทิศเหนือจริง

3.      แนวทิศเหนือกริด (Grid North) หรือแนวทิศเหนือแผนที่ จะเป็นแนวทิศเหนือตามเส้นกริดทางดิ่งของเส้นกริดที่ใช้ในกระบวนการจัดทำแผนที่ ซึ่งจะสังเกตได้ชัดว่าปกติ หากมีเส้นกริดแผนที่และเส้นแนว Latitude และ Longitude แล้ว เส้นกริดดิ่งของเส้นกริดแผนที่และเส้น  Longitude อาจจะไม่ทับกัน หรืออาจจะเบี่ยงเบนออกจากกันอย่างชัดเจน เนื่องจากเส้น Longitude เป็นแนวดิ่งที่ตีบเข้าหาจุดขั้วโลก แต่ กริดแผนที่จะเป็นไปตามแนวกริดตามของระบบที่ใช้จัดทำแผนที่ชุดนั้น ๆ

จะพบว่า เมื่อเส้นแนวทิศเหนือจริง เส้นแนวทิศเหนือแม่เหล็ก และเส้นแนวทิศเหนือกริดไม่ซ้อนทับกันแล้ว การที่เส้นแนวทิศเหนือทั้ง 3 เส้นจะเบี่ยงเบนออกจากกันมาก-น้อยขึ้นอยู่กับสถานที่บนพื้นโลก ซึ่งจะมีผลต่อการบอกทิศทางเมื่อต้องบอกว่าจุดหนึ่งอยู่ทางทิศใดของจุดหนึ่ง ซึ่งจะมีวิธีการบอกทิศมีหลายวิธี ได้แก่

1.      บอกทิศเป็นแบบธรรมดาทั่วไป ซึ่งอาจจะบอกเป็น 4 ทิศ 8 ทิศ หรือ 16 ทิศ แล้วแต่ความเหมาะสมของการสื่อสาร

๒.      บอกทิศเป็นแบบชาวเรือ ซึ่งจะบอกย่อยออกไปเป็น 32 ทิศ

๓.      บอกทิศเป็นแบริ่ง (Bearing)  เป็นการวัดมุมแนวนอนเป็น องศา ลิปดา พิลิปดา โดยวัดจากแนวทิศเหนือ หรือแนวทิศใต้ ออกไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกอยู่ในช่วง 90 องศา เช่น แบริ่งเหนือ 40 องศา 15 ลิปดา 10 พิลิปดา ตะวันออก, แบริ่งใต้ 22 องศา 10 ลิปดา ตะวันตก เป็นต้น

๔.      บอกทิศเป็นอาซิมุท (Azimuth) เป็นการวัดมุมจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกาเป็นหน่วย องศา ลิปดา พิลิปดา อยู่ในช่วง 360 องศา เช่น อาซิมุท 76 องศา 15 ลิปดา 10 พิลิปดา, อาซิมุท 20 องศา 20 พิลิปดา เป็นต้น

๕.      บอกทิศเป็นเกรด (Grade) เป็นการวัดมุมจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกา เป็นหน่วย เกรด เซนติเกรด เดสิมิลลิเกรด โดยมีการแบ่งวงกลมออกเป็น 400 ส่วนเท่าๆกันและเรียก 1 ส่วนว่า เกรด ใน 1 เกรดจะแบ่งเป็น 100 ส่วนและเรียก 1 ส่วนว่า เซนติเกรด ใน 1 เซนติเกรดจะแบ่งเป็น 100 ส่วนและเรียก 1 ส่วนว่า เดสิมิลลิเกรด เช่น 75.6356 เกรด หรือ 75 เกรด 63 เซนติเกรด 54 เดสิมิลลิเกรด เป็นต้น

๖.      บอกทิศเป็นมิลเลียม หรือมิลล์ (Mils) เป็นการวัดมุมจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกา โดยมีการแบ่งวงกลมออกเป็น 6400 ส่วนเท่าๆกันและเรียก 1 ส่วนว่า มิล ซึ่งการบอกทิศแบบมิลล์ เป็นการบอกอย่างละเอียดจึงนำไปใช้กับงานเฉพาะบางประเภทที่ต้องการความแม่นยำ เช่น การยิ่งเป้าหมายของทหารปืนใหญ่  

การบอกทิศบนแผนที่หรือบนพื้นที่จริงจำเป็นต้องเข้าใจทิศเหนือที่ใช้อ้างอิง โดยเฉพาะเมื่อต้องทำแผนที่หรือถ่ายทอดของมูลลงแผนที่ เช่น เมื่ออยู่ในพื้นที่เรามีเครื่องมือคือแผนที่และเข็มทิศ ณ ตำแหน่งที่เราอ่านค่ามุมอาซิมุทอ้างอิงทิศเหนือจากเข็มทิศหมายความว่าตำแหน่งที่อยู่จะเบี่ยงเบนไปจากทิศเหนือแม่เหล็ก หากต้องถ่ายทอดข้อมูลลงแผนที่จำเป็นต้องปรับแก้ค่ามุมอาซิมุทให้อ้างอิงทิศเหนือกริดก่อนจึงจะง่ายต่อการกำหนดตำแหน่งในแผนที่  

อย่างไรก็ตาม จะพบว่า เส้นแนวทิศเหนือจริง เส้นแนวทิศเหนือแม่เหล็ก และเส้นแนวทิศเหนือกริดจะปรากฏในรายละเอียดประจำขอบระวางแผนที่เฉพาะแผนที่มาตราส่วนเล็ก หากเป็นแผนที่มาตราส่วนใหญ่แล้วใน 1 ระวางแนวของเส้นแนวทิศเหนือจริง เส้นแนวทิศเหนือแม่เหล็ก และเส้นแนวทิศเหนือกริดจะเบี่ยงเบนจากกันน้อยจนไม่สามารถแสดงเป็นสัญลักษณ์ได้ชัดเจน

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่าง ๆตามที่กฎหมายกำหนด งบประมาณหลักที่นำมาใช้ ได้จากการจัดเก็บภาษี 3 ประเภท คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ความจริงแล้ว...ระบบ GIS ในปัจจุบัน คือ แนวคิดการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่คู่กับข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้313
เมื่อวานนี้589
สัปดาห์นี้2976
เดือนนี้11275
ทั้งหมด1197484
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 3

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com