สาระภูมิศาสตร์

“เมื่อประชากรไทยใกล้สิ้น ปี 2565” ตอนที่ 1 เข้าใกล้ “สังคมผู้สูงอายุ” ...แล้ว...ประชากรวัยแรงงาน วัยเด็กและวัยชรา มีอยู่เท่าไร

ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจากวัยแรงงาน ภายใต้สภาวะประชากรวัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น "วัยแรงงาน" พร้อมจะเลี้ยงดูและดูแลกันอย่างไร 

 

ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี นักภูมิศาสตร์จึงทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนและผู้ประสานงาน

ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้มีโอกาสบริหารงานด้าน Information and Communication Technology (ICT) และกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การทำงาน ทำให้มีโอกาสพบเห็นสิ่งใหม่ ๆ ในแนวกว้างและลึกมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้ทบทวนการทำงานตามวิชาชีพที่ผ่านมา และพบว่า ในฐานะนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานด้าน ICT  หรือนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่แล้ว เรามีเครื่องมือและแนวคิดใหม่ ๆ จำนวนมาก แต่สิ่งที่ยังคงไม่เก่าและสามารถนำมาใช้ประโยชน์สนองความต้องการของคนยุคใหม่ได้คือ ศาสตร์หรือที่เรามีอยู่ในตัวตนคือความเป็น นักภูมิศาสตร์

 เพราะ กทม. ใช้ GIS แค่บอก อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร ทำให้ไม่ปรากฏการนำเอาระบบ GIS มาวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อสร้างผลผลิตอย่างเต็มระบบ

เพราะ บุคลากรทั้งระดับปฏิบัติและระดับบริหารยังเข้าใจว่า GIS คือแผนที่คอมพิวเตอร์ หรือเข้าใจว่า Google Map, Bring Map คือ GIS

เพราะ เรารับรู้ข้อมูลได้ง่าย ได้รวดเร็ว เช่น โลกที่ถูกสำรวจสอดส่องด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมดูง่ายด้วยโปรแกรม Street View มีคำถาม-คำตอบมากมายผ่านโลก Social เข้าถึงด้วย Social Media ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป

เพราะ ภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์หนึ่งที่จำเป็นต้องใช้เป็นฐานในการสร้างเครื่องมือและแนวคิดในเชิงพื้นที่ เพื่อสนองความต้องการของคนยุคใหม่

จึงทบทวนศาสตร์ทางพื้นที่โดยเฉพาะ ภูมิศาสตร์ ซึ่งจากการศึกษาจากครูบาอาจารย์ ประสบการณ์ที่รับราชการและการทำงานต่าง ๆ พบว่าเท่าที่ยังมีความรู้และเข้าใจทฤษฎี แนวคิดต่าง ๆ มากมาย เช่น

-                   การวิเคราะห์ทางพื้นที่ด้วยวิธี Overlay Technique ทั้งแบบโบราณที่นำแผนที่ที่เขียนบน Tracing Paper มาซ้อนทับกัน และแบบสมัยใหม่ที่ใช้ระบบ GIS วิเคราะห์

-                   การวิเคราะห์ทางพื้นที่ด้วยแนวคิด Multi Criteria Modeling การวิเคราะห์แบบพื้นฐานทั้ง  Spatial Classification, GIS Data Query, Spatial Measurement, Spatial Buffering, Spatial Interpolation, Descriptive Statistic, Visibility Analysis และอื่น ๆ

-                   การใช้ Delphi Method กับการให้ค่าตัวแปรเพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่

-                   การวิเคราะห์ด้วยแนวคิดแบบจำลองแรงโน้มถ่วง (Gravity Model )

-                   การวิเคราะห์ด้วยแนวคิดแบบจำลองศักยภาพประชากร (Population Potential Model)

-                   การวิเคราะห์ด้วยแนวคิดกฎแรงดึงดูดการค้าปลีกของ Reilly

-                   อื่น ๆ

นอกจากนั้น ในช่วงเวลาที่ได้ทำงานและบริหารงานด้าน ICT ได้เรียนรู้ ได้พัฒนา และได้มีประสบการณ์ทั้งด้านต่าง ๆ ทั้งการจัดหา ติดตั้ง ใช้งาน ดูแลและซ่อมบำรุงระบบ Hardware, Software, Network & Communication, Data & Information, Peopleware, Application ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนสนทนาด้านแนวคิดการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน

ทำให้รับรู้และตกผลึกองค์ความรู้ทางศาสตร์กับเทคโนโลยี จนคิดว่านักภูมิศาสตร์สมัยใหม่ควรมีองค์ความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการศาสตร์ทางภูมิศาสตร์กับเทคโนโลยีปัจจุบันเข้าด้วยกัน โดยมีหลักการและเหตุผลที่ควรจะเป็นดังนี้

1.             เมื่อนักภูมิศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับ โลกในมิติของพื้นที่และเวลา โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยมีเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ ช่วยให้การศึกษาให้มีความชัดเจนเป็นระบบระเบียบขึ้น

2.             ในขณะที่ยุคปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารผ่านระบบ Internet เป็นสิ่งที่เกิดและพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่สิ้นสุดทำให้เกิดเครื่องมือที่เป็นผลผลิตที่เป็นนวตกรรมจากแนวคิด 3 แนวคิด  คือ  “Internet Of Thing (IoT)”  “ Big Data” และ“Data Analytic” ซึ่งเป็นการบูรณาการเอาเครื่องมือ ข้อมูล ศาสตร์และประสบการณ์มาใช้ประโยชน์ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน โดย

1.1    Internet Of Thing (IoT) เป็นแนวคิดการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ มาติดตั้งสมองกล (CPU) เล็ก ๆ แล้วต่อเชื่อมเข้ากับระบบ Internet เพื่อใช้ประโยชน์ในการสั่งการ รับ-ส่งข้อมูล เรียนรู้และประมวลผล โดยมีการควบคุมด้วยโปรแกรมประยุกต์ผ่านเครื่องมือ เช่น Smart Phone  คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ตัวอย่างนวัตกรรมที่เรียกว่า IoT  ได้แก่

- การใช้ Smart Phone สั่งให้เครื่องใช้ที่บ้านไม่ว่าจะเป็นปรับอากาศ หลอดไฟ กาน้ำร้อนทำงานหรือพร้อมใช้งานก่อนที่ผู้อยู่อาศัยจะเข้าบ้านหลังเลิกงาน

- การให้นาฬิกาข้อมือบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ การสูบฉีดของเลือดแล้วส่งข้อมูลไปเก็บไว้ใน Cloud Servers เพื่อประมวลผลและรายงานด้วยโปรแกรมให้รู้ทุกระยะบน Smart Phone หรือใช้เป็นข้อมูลเมื่อไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

- การสั่งอาหารโดยการใช้มือถือถ่ายภาพเมนูอาหารที่ป้ายโฆษณาที่สถานีรถไฟฟ้า ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปค้นหาตำแหน่งที่พักของเจ้าของมือถือ ร้านอาหารที่มีสาขาใกล้บ้าน และประมวลผลระยะเวลาเดินทางจากตำแหน่งที่ถ่ายภาพเมนูอาหารไปยังที่พัก เมื่อผู้สั่งอาหารถึงที่พักอาหารที่สั่งก็จะถูกส่งถึงบ้านในเวลาใกล้เคียง เมื่อผู้สั่งอาหารได้รับอาหารแล้วระบบจะคิดเงินโดยตัดเงินในบัญชีของผู้สั่งอาหารทันที

1.2    Big Data เป็นข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกรับ-ส่งผ่านระบบ Internet ทั้งที่เป็นคำถาม คำตอบ ข้อคิดเห็นและเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยข้อมูลดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุกวินาทีในโลก Cyber ทั้งข้อมูลที่มาจากระบบงานในรูป Descriptive Report, Prescriptive Report ข้อมูลที่เกิดจากระบบและเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งที่เป็น Text data, Sensor data, Records data, Behavioral data, Image & Sound data และข้อมูลที่เป็น Spatial data โดยข้อมูลเหล่านี้จะสามารถถูกเลือก หรือถูกเรียกมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย หลายรูปแบบ หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับขบวนการการเข้าถึงและแนวคิด วิเคราะห์การใช้งาน จากผู้พัฒนาสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ

1.3    Data Analytic เป็นทฤษฎี แนวคิด วิธีการในการสรุป ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์จะอาจจะเกิดผ่านระบบ Data Mining, Machine Learning หรือการวิเคราะห์ผ่านระบบใด ๆ โดยเฉพาะระบบที่เป็น Cloud Servers ที่มีทั้งการวิเคราะห์แบบ Predictive Analysis, Text Analysis, Video Analysis, Social media Analysis, Sentiment Analysis, Spatial Analysis และอื่น ๆ ซึ่งการวิเคราะห์เพื่อสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีทั้งความรู้ทางศาสตร์ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง


 

2   ในการบูรณาการ เครื่องมือ ข้อมูล และศาสตร์เข้าด้วยกันจำเป็นต้องอาศัย องค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์” “ประสบการณ์  และ ความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ เป็นหลัก

สำหรับนักภูมิศาสตร์แล้ว สิ่งที่เป็นความเชี่ยวชาญและเป็นอัตลักษณ์ของนักภูมิศาสตร์ที่อยู่ในหลักการในแนวคิดของ Big data คือความรู้ ความข้าใจข้อมูลที่เป็น  Spatial data และในแนวคิดของ Data Analytic คือ Spatial Analysis เพราะนักภูมิศาสตร์ศึกษาและเข้าใจ คุณสมบัติเชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่และแนวคิดเชิงพื้นที่

รวมทั้งเข้าใจองค์ความรู้ทั้ง 5 กลุ่ม (กล่าวไว้ในตอนที่ 4) ส่วนการประยุกต์ใช้ประโยชน์นั้น ประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดจะสร้างจินตนาการให้มีการสร้าง

นวตกรรมใหม่ ๆ ด้าน IoT ขึ้นมาเอง

ดังนั้น ตามความเห็นที่เกิดจากการตกผลึกความรู้และประสบการณ์แล้ว แนวคิดนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่จึงมีควรมีองค์ปะกอบทั้งความรู้และประสบการณ์ ดังนี้

อย่างไรก็ตาม หากจะให้ฝันว่าบทบาทและความสำคัญของนักภูมิศาสตร์ควรเป็นเช่นไร  จะขอเปรียบเทียบการมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ โรค ของแพทย์ กับการมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ โลก ของนักภูมิศาสตร์ ดังนี้

2.1    เมื่อผู้ป่วยไม่สบายเป็นโรค ต้องพบหมอ ซึ่งโดยทั่วไปในเบื้องต้นต้องพบกับ อายุรแพทย์ ซึ่งรักษาทางยาหรือหัตถการที่ไม่ใช่การผ่าตัดก่อน

2.2    หากผู้ป่วยต้องรักษาเฉพาะทางจึงจะส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางให้รักษาอาการต่อไป

2.3    แล้วทำไม ? และทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดความต้องการที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่แล้ว คนทั่วไปจะนึกถึงและให้ นักภูมิศาสตร์ ศึกษาและวิเคราะห์ก่อนเป็นอันดับแรก (ลักษณะคล้ายกับการรักษาโรค) เมื่อนักภูมิศาสตร์พิจารณาว่าต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจึงจะประสานการทำงานในแนวลึกร่วมกันต่อไป

ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี มั่นใจได้ว่านักภูมิศาสตร์ สามารถทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนกำหนดทิศทางและขบวนการทำงาน และผู้ประสานงาน (Coordinator) ซึ่งความเป็นไปได้ต้องเริ่มต้นที่ การหา หรือสร้างโอกาสที่จะแสดงให้เห็นศักยภาพและความสามารถของนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่ และที่สำคัญคือ นักภูมิศาสตร์รุ่นใหม่ควรเน้นที่จะเรียนรู้และปฏิบัติงานเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี ทางภูมิศาสตร์ควบคู่ไปกับการเรียนรู้หลักการพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เนื่องจากพบว่าหลายสถาบันเน้นสอนให้นักภูมิศาสตร์เรียนรู้ไปถึงขั้นการอ่านและเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (ไม่ใช่แกนของศาสตร์ทางภูมิศาสตร์) แต่สามารถประยุกต์นำไปใช้งานเพียงแค่หาคำตอบว่า มีอะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร ขณะที่ไม่สามารถประยุกต์ใช้ แนวคิด ทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ไปวิเคราะห์ใช้งานได้จริงหรือใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ในสิ่งที่กล่าวและเขียนมาทั้งหมด  เป็นแนวคิดที่ตกผลึกจากความรู้และประสบการณ์ของนักภูมิศาสตร์ที่ได้พยายามเรียนรู้และปฏิบัติงานจริง

ในแนวทางของศาสตร์ที่เรียกว่า ภูมิศาสตร์ ซึ่งยังคงทำอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถติดตามผลงานได้ที่ www.geo2gis.com

 

 

  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com