เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

เมื่อนำหลักการพื้นฐานของ Network Analysis มาเป็นโปรแกรมการวิเคราะห์เส้นทาง มือถือจึงแนะนำเส้นทางเพื่อการทางเราได้

ราชบัณฑิตยสถาน (2549,258) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ว่า ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์....." แล้วเข้าใจข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ว่าอย่างไร

สารบัญ

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

 เมื่อประชากรไทยใกล้สิ้น ปี 2565 ตอนที่ 3 เปรียบเทียบประชากรไทย 3 ปี 4 วัย บอกอะไรได้บ้าง

จากข้อมูลประชากรของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนำมาเชื่อมกับแผนที่แต่ละจังหวัด โดยแสดงเป็นแผนที่จำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) ประชากรวัยแรงงาน (อายุตั้งแต่ 15-59 ปี) ประชากรวัยสูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) และประชากรวัยพึ่งพิง (ประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุ) โดยแบ่งกลุ่มตามจำนวนเป็น 5 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 รวมทั้งนำจำนวนประชากรแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคำนวณเป็นค่าร้อยละต่อประชากรทั้งหมดและนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม และนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผลที่ปรากฏสามารถพิจารณาได้ดังนี้

 

เปรียบเทียบประชากรวัยเด็ก 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า 15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่ม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในช่วง ปี พ.ศ. 2556 – 2560 โดยในปี พ.ศ. 2560 จังหวัดชอนแก่น และบุรีรัมย์มีจำนวนประชากรเด็กลดลงอย่างชัดเจน (รูปที่ 1)

 

และเมื่อนำจำนวนประชากรเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ แล้วนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่มโดยเปรียบเทียบ 3 ปีเช่นเดิม (รูปที่ 2) พบว่า

 

ในปี พ.ศ. 2556 มีจังหวัดที่มีค่าร้อยละของประชากรเด็กจำนวนต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 20 % ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคใต้

ในปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2565 ร้อยละของจำนวนประชากรเด็กต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะลดลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป โดย ปี พ.ศ. 2565 ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และจังหวัดตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนประชากรเด็กต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเปลี่ยนแปลงลดลงจากปี พ.ศ. 2560 อย่างชัดเจน

เมื่อนำเอาข้อมูลค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมมาเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 2560 2565 พบว่าค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมทุกจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3)

 

เมื่อนำเอาข้อมูลค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมมาเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 กับปี 2565 แล้วนำมาเรียงลำดับตามค่าความแตกต่างมากไปน้อย (ตารางที่ 1) พบว่า 10 จังหวัดแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมาก ประกอบด้วย จังหวัดตาก ระนอง แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต บึงกาฬ นครพนม กระบี่ ตรัง สมุทรสาคารและพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคใต้ถึง 5 จังหวัด จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด และจังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภาคละ 1 จังหวัด

 

เปรียบเทียบประชากรวัยแรงงาน 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยแรงงานแต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่มแล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 4) พบว่าจำนวนประชากรวัยแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนหลายจังหวัด โดยเฉพาะถ้าพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับปี  2565 พบว่า กลุ่มจังหวัดในภาคเหนือที่มีจำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง ได้แก่ จังหวัดลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีที่มีเพียงภาคละ 1 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลงอย่างชัดเจน คือจังหวัดลพบุรี และนครศรีธรรมราช ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าจังหวัดที่จำนวนประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยแรงงานมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละและนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบ 3 ปี (รูปที่ 5) เช่นเดิม พบว่า

ปี 2556 มีเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพียงจังหวัดเดียวที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด

ปี 2560 มี 3 จังหวัดที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด

ปี 2565 มี 6 จังหวัดที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะเดียวกันจังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด กับลดลงเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ซึ่งจากแผนที่พบว่าในปี 2565 มีกลุ่มจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดปรากฏเกาะกลุ่มเด่นชัด ส่วนภาคอื่น ๆ พบว่ามีเพียง 8 จังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง กระบี่และภูเก็ต

 

 

 จากรูปที่ 6 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดในปี 2556 2560 2565 พบว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในทุกจังหวัดจะค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากรูปที่ 5 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 กับ ปี 2565 พบว่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรทั้งหมดจะลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลางและจังหวัดในภาคใต้ตอนบน

 

 


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักแผนที่และนักสำรวจจะต้องปรับตัวเมื่อตำแหน่งมือถือปรากฏบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมในหน้าจอมือถือได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com