เส้นโครงแผนที่...สิ่งสำคัญต่อการอ่านและแปลความหมายในแผนที่
เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบเพื่อพกพา การย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงกับปรากฏการณ์บนพื้นโลกที่สุดนั้น นักภูมิศาสตร์ผู้ผลิตแผนที่จึงพยายามจัดทำแผนที่ให้รูปร่างของปรากฏการณ์บนแผนที่มีความใกล้เคียงกับโลกที่สุดโดยพยายามให้มีทิศทางถูกต้อง ระยะทางถูกต้อง รูปร่างถูกต้องและพื้นที่ถูกต้องที่สุด
หากต้องการอ่านค่าบนโลกจำเป็นต้องมีค่าพิกัดซึ่งนักภูมิศาสตร์ได้ศึกษา คำนวณและกำหนดตำแหน่งของจุดต่างๆ โดยใช้เส้นละติจูดและลองจิจูด โดยมีค่าพิกัดเป็นองศา คือ 1 องศา จะประกอบด้วย 60 ลิปดา (60’) และ 60 ฟิลิบดา (60’’) โดยเส้นละติจูด คือ เส้นต่างๆที่ลากขนานไปทางเหนือและใต้กับเส้นศูนย์สูตรที่เป็นเส้นแกนกลางของโลกหรือที่เราเรียกกันว่า”เส้นรุ้ง” เส้นลองจิจูด คือ เส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ และตัดกับเส้นศูนย์สูตรเป็นมุมฉาก โดยจะลากเป็นเส้นขนานจากทางทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก หรือที่เราเรียกว่า “เส้นแวง”
โลกที่เป็นทรงกลม ทิศทางถูกต้อง ระยะทางถูกต้อง รูปร่างถูกต้องและพื้นที่ถูกต้องที่สุด
การนำทรงกลมมาแผ่เป็นแผ่นราบหากผ่าทรงกลมแล้วฉีกออกให้เป็นแผ่นราบก็จะมีรูปร่างประหลาดยากต่อการพกพาและการรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่ให้ถูกต้องคงเป็นได้ยากเช่นกัน
นักภูมิศาสตร์ผู้ผลิตแผนที่พยายามหาวิธีถ่ายทอดข้อมูลปรากฏการณ์บนผิวโลกที่เป็นทรงกลม (หรือรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม ที่เรียกว่า geoid หรือ ellipsoid ซึ่งนำมาใช้คำนวณทางคณิตศาสตร์ ) ให้มาสู่แผ่นราบโดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์จากการจิตนาการว่า.....
- Prev
- Next >>