เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

ราชบัณฑิตยสถาน (2549,258) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ว่า ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์....." แล้วเข้าใจข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ว่าอย่างไร

IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

 สิ่งที่ต้องเข้าใจ...เมื่อสร้างชั้นข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งของแผนที่ฐาน (Base Map) ในระบบ GIS

ภายหลังที่อ่านบทความ การกำหนด Feature Type กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ มาตราส่วนของแผนที่ฐานทำให้รู้จักคำว่า แผนที่ฐาน (Base Map) ซึ่งในการจัดทำแผนที่ในสมัยโบราณแผนที่ฐานก็คือแผนที่ภูมิประเทศซึ่งแสดงข้อมูลลักษณะทางกายภาพ (Physical) และข้อมูลที่เป็นจินตภาพ (Mental Picture ) ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทางน้ำ  ถนน เส้นชั้นความสูง เขตปกครอง โดยแผนที่ฐานจะเป็นภาพสัญลักษณ์ตำแหน่ง เส้นหรือพื้นที่ที่ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งสำหรับการสร้างข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปกติจะเป็นการวาดซ้อนทับแผนที่ฐาน

 

ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS โดยขบวนการ Head up digitize หรือ การถ่ายโอนข้อมูลค่าพิกัดจากไฟล์หรือเครื่องมืออื่นใดก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐานที่จะนำไปใช้งานต่อ โดยเฉพาะการใช้งานในการวัด การค้นหาหรือการคำนวณตำแหน่ง ระยะ หรือพื้นที่ก็ตาม เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้นที่จัดทำแผนที่ฐานนั้น ๆ เช่น

 

เมื่อต้องการจัดเก็บข้อมูลอาคารที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร 50 หลัง (พื้นที่อาคาร 10,000 ตารางเมตร) ลงพื้นที่ว่างในระบบ GIS หากแต่ไม่รู้ว่าแผนที่ฐานที่อยู่ในระบบ GIS มาจากแผนที่มาตราส่วนเท่าไร

วิธีการอาจจะขยายพื้นที่ว่างในระบบ GIS แล้วภาพถ่ายทางอากาศมาตรึงในพื้นที่ว่างนั้น แล้วจึงวาดขอบเขตอาคารซ้อนทับลงไป หรือถ้าไม่มีภาพถ่ายทางอากาศ อาจจะใช้การ Digitize ขอบเขตอาคารซ้อนทับโดยอ้างอิงตำแหน่งใกล้เคียงแบบ หรือหากทำการสำรวจข้อมูลในพื้นที่มาแล้วอาจจะทำการ Digitize ขอบเขตอาคารซ้อนทับโดยวัดระยะเทียบกับระยะในระบบ GIS (อ่านรายละเอียดในหัวข้อ การจัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ GIS”)

 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วนเล็กความคลาดเคลื่อนจะสูงแต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถขยายได้ละเอียดมากจนสามารถวาดหรือ Digitize ขอบเขตอาคารในพื้นที่ว่างได้ แต่ข้อมูลจะผิดพลาดเมื่อนำไปใช้งาน เช่น

หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วน 1 : 50,000 หมายความว่าการนำเข้าข้อมูลแผนที่ฐานครั้งแรกด้วยวิธี Digitize ข้อมูลแผนที่กระดาษ ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม หรือขบวนการ Vectorization หรือขบวนการอื่นใดก็ตาม ความคลาดเคลื่อนตามระบบหรือคลาดเคลื่อนโดยมนุษย์ย่อมเกิดขึ้นเสมอ หากคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ถูกต้องไป 1 มิลลิเมตร หมายถึง คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งจริงบนพื้นโลกไป 50,000 มิลลิเมตร หรือ 50 เมตร ซึ่งกว้างใหญ่กว่าอาคารหนึ่งหลัง หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วน 1 : 10,000 คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ถูกต้องไป 1 มิลลิเมตร หมายถึง คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งจริงบนพื้นโลกไป 10,000 มิลลิเมตร หรือ 10 เมตร ซึ่งก็ยังผิดพลาดมาก แต่ในระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถขยายแผนที่และวาดภาพข้อมูลลงไปในพื้นที่ว่างได้

  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com