เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

 

เมื่อปรากฏการณ์บนพื้นโลกถูกแสดงเป็นแผนที่ทั้งในรูป Hard Copy (กระดาษ, แผ่นผ้า, พลาสติก ฯลฯ) และ Soft Copy (Digital Map) ปัจจุบันเราจะรับรู้ว่ามีการจัดเก็บในระบบ GIS ในรูป Feature ที่เป็น Graphic data และ Attribute data  

สารบัญ

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

 การจัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบ GIS

 แผนที่ เป็นสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ สิ่งที่สำคัญที่ต้องเข้าใจคุณลักษณะของแผนที่ ประกอบด้วย
1. การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ
2. การย่อส่วน
3. สัญลักษณ์
ดังนั้นการบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ สำหรับการถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบลงแผนที่โดยใช้สัญลักษณ์นั้น จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการย่อส่วน หรือมาตราส่วน เป็นสำคัญ โดย
มาตราส่วน หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย
เมื่อ มาตราส่วน 1 : 1,000 หมายความว่า ถ้าวัดระยะในแผนที่ได้ 1 หน่วย ระยะใน
ภูมิประเทศจะเท่ากับ 1,000 หน่วย เช่น
ถ้าในแผนที่เท่ากับ 1.2 นิ้ว ในภูมิประเทศจริงจะเท่ากับ 1.2 X 1,000 นิ้ว หรือ 1200 นิ้ว หรือ 100 ฟุต
ถ้าในแผนที่เท่ากับ 10 เซนติเมตร ในภูมิประเทศจะเท่ากับ 10 X 1,000 เซนติเมตร หรือ 10,000 เซนติเมตร หรือเท่ากับ 1 กิโลเมตร

 

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) เมื่อต้องการจัดเก็บในแผนที่ ซึ่งลักษณะชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) ในภูมิประเทศที่จะนำเข้าสู่ระบบแผนที่ทั้งที่เป็น Hard Copy หรือ Digital Map เบื้องต้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะหลัก คือ
1. ข้อมูลแสดงตำแหน่ง (Point) : เป็นข้อมูลที่ไม่มีขนาดความกว้าง ยาว
2. ข้อมูลแสดงเส้นทาง (Line) : เป็นข้อมูลที่มีความยาว และทิศทาง
3. ข้อมูลแสดงพื้นที่ (Area / Polygon) : เป็นข้อมูลที่มีทั้งขนาด ความกว้าง และความยาว

 


การนำข้อมูลดังกล่าวแสดงในพื้นที่จำเป็นต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับขนาดหรือ
มาตราส่วนของแผนที่ฐานที่ต้องการนำมาแสดงผลหรือใช้งาน เช่น

เมื่อใช้แผนที่ฐานหรือแผนที่ที่ต้องการพิมพ์แสดงผลมาตราส่วน 1 : 1,000 ต้องการลงข้อมูล มีวิธีการพิจารณากำหนด ชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)   ดังนี้
1. ตู้โทรศัพท์ ควรกำหนดชนิดของข้อมูล (Feature Type) เป็น Point เนื่องจาก
ขนาดตู้โทรศัพท์จริง กว้าง ยาวประมาณด้านละ 1.5 เมตร ถ้ากำหนดชนิดของข้อมูลเป็น Polygon จะต้องวาดรูปตู้โทรศัพท์ในแผนที่ กว้าง ยาวด้านละ 1.5 มิลลิเมตร (ระยะในแผนที่ 1 มิลลิเมตร = 1 เมตร) ซึ่งไม่สามารถวาดใกล้เคียงตำแหน่งจริงได้
2. อาคาร ควรกำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) เป็น Polygon เนื่องจาก
ขนาดอาคารจริงโดยมาก อาคารที่เล็กสุด จะมีขนาด กว้าง ประมาณด้านละ 4 – 6 เมตร ซึ่งสามารถวาดรูปอาคารในแผนที่ 4 มิลลิเมตรได้ ใกล้เคียงขนาดจริง จึงไม่ควรกำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) เป็น Point
3. สะพานข้ามคลอง ควรกำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) เป็น Line เนื่องจาก
ขนาดสะพานข้ามคลองจริงโดยมากจะมีความกว้างและความยาว โดยขนาดของความยาวสะพานโดยรวม มักจะยาวกว่า 5 เมตร ซึ่งสามารถวาดรูปสะพานในแผนที่ 5 มิลลิเมตรได้ ขณะที่ความกว้างของสะพานข้ามคลอง ส่วนที่เล็กสุดอาจจะกว้างเพียง 1 – 2 เมตร เมื่อวาดในแผนที่จะต้องวาดขนาดความกว้างเพียง 2 มิลลิเมตรซึ่งเป็นไปได้ยาก จึงไม่ควรกำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) เป็น Polygon แต่โดยปกติ สะพานข้ามคลองจะแสดงความยาวของสะพาน และทิศทางที่ขวางลำคลอง จึงควรกำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) เป็น Line
อย่างไรก็ตาม ถ้าแผนที่ฐานหรือแผนที่ที่ต้องการพิมพ์แสดงผลมาตราส่วน 1 : 10,000 แล้ว การกำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) สะพานข้ามคลองควรกำหนดเป็น Point เนื่องจากในแผนที่มาตราส่วน 1 : 10,000 จะแสดงสะพานข้ามคลองได้เพียงตำแหน่งสะพานเท่านั้น (สะพานความยาว 5 เมตร แสดงในแผนที่ 1 : 10,000 ได้เพียง 0.5 มิลลิเมตรเท่านั้น)


หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่
เมื่อกำหนดลักษณะชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) ได้แล้ว การจัดเก็บข้อมูลภาคสนามมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. วางตำแหน่งทิศของแผนที่ให้ถูกต้องตามทิศของภูมิประเทศจริง ดังนี้

1.1 ถ้าแผนที่มีสัญลักษณ์ ทิศเหนือ ให้ทำการเทียบทิศทางกับทิศทางในภูมิประเทศจริง
แล้ววางแผนที่ให้ถูกทิศทาง
1.2 กรณีแผนที่ไม่สมบูรณ์และไม่ได้แสดงสัญลักษณ์ทิศเหนือไว้ ผู้ใช้แผนที่ควรสังเกต
ลักษณะภูมิประเทศจริงเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ที่ปรากฏในแผนที่อย่างน้อย 3 จุด เช่น ในภูมิประเทศจริง สำนักงานเขตอยู่

ด้านขวา สถานีดับเพลิงอยู่ด้านซ้ายมือ และโรงพยาบาลอยู่ด้านหน้า ของผู้ใช้แผนที่
ให้สมมุติว่าผู้ใช้แผนที่ยืนอยู่บนแผนที่แล้ว สำนักงานเขตอยู่ด้านขวา สถานีดับเพลิง
อยู่ด้านซ้ายมือและโรงพยาบาลอยู่ด้านหน้าของผู้ใช้แผนที่ด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นจึงเขียนสัญลักษณ์ทิศเหนือลงในแผนที่ กรณีที่ไม่ทราบทิศทางในภูมิประเทศผู้ใช้แผนที่สามารถสังเกตดวงอาทิตย์ในช่วงเช้า หรือเย็น ซึ่งจะทำให้ทราบทิศว่าเป็นทิศตะวันออกหรือตะวันตกได้โดยประมาณ จากนั้นผู้ใช้แผนที่สามารถเขียนสัญลักษณ์ทิศเหนือโดยประมาณลงในแผนที่ได้จากการยืนให้ด้านขวามืออยู่ด้านทิศตะวันออก ซ้ายมืออยู่ด้านทิศตะวันตกซึ่งด้านหน้าก็จะเป็นทิศเหนือแล้วสมมุติจุดยืนเหมือนข้างต้นและหมุนแผนที่ให้ตรงลักษณะภูมิประเทศจริงแล้วจึงเขียนทิศเหนือบนแผนที่เพื่อเป็นจุดสังเกตต่อไป



2. หาตำแหน่งบนแผนที่ที่ผู้ใช้แผนที่ยืนอยู่ โดยเริ่มจากลักษณะที่ปรากฏบนภูมิประเทศอย่างน้อยๆ 3 จุด ทางด้านซ้าย ด้านขวา และด้านหน้าหรือด้านหลังของผู้ใช้แผนที่ แล้วจึงเทียบเคียงกับลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่

3. บันทึกข้อมูลในภูมิประเทศลงบนแผนที่ การบันทึกข้อมูลลงในแผนที่โดยทราบสัดส่วนหรือมาตราส่วนของแผนที่สามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งมีหลักการเบื้องต้นของการเก็บบันทึกข้อมูลดังนี้

3.1 เมื่อทราบมาตราส่วนของแผนที่
1. คำนวณระยะใน 1 หน่วยแผนที่เทียบกับระยะจริงบนภูมิประเทศ เช่น แผนที่
ที่ใช้อ้างอิงจัดเก็บข้อมูลมีมาตราส่วน 1 : 1,000 หมายความว่า 1 เซนติเมตร เท่ากับ 100 เมตร

2. หาตำแหน่งอ้างอิงและทิศทางในแผนที่
3. ลงตำแหน่งข้อมูล เช่น เมื่อลงตำแหน่งตู้โทรศัพท์ซึ่งอยู่ห่างจากทางแยก
ประมาณ 50 เมตร โดยอาจจะวัดระยะด้วยเทปหรือการนับก้าวระหว่างจุดสนใจกับจุดที่ปรากฏในแผนที่


3.1 เมื่อไม่ทราบมาตราส่วนของแผนที่
หาระยะอ้างอิงในแผนที่และในภูมิประเทศที่ทราบระยะจริง เช่นความยาวของถนน
ที่เข้าอาคารสำนักงานประมาณ 100 เมตร เทียบสัดส่วนกับแผนที่ซึ่งวัดได้ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร จะได้มาตราส่วนโดยประมาณ คือ 1 เซนติเมตร : 100 เมตร หรือ 1 เซนติเมตร : 100 x 100 เซนติเมตร

นั่นคือแผนที่มีมาตราส่วนโดยประมาณเท่ากับ 1 : 10000
ลงตำแหน่งข้อมูลเช่นเดียวกับกรณีทราบมาตราส่วนของแผนที่ข้างต้น

4. บันทึกรายละเอียดข้อมูลตามแบบบันทึกที่เตรียมไว้

อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน เราสามารถลดเวลาในการสำรวจเพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า GPS หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งองค์ความรู้ในการสำรวจจะถูกซ้อนอยู่ในเทคโนโลยีดังกล่าว โดยบ้างครั้งผู้ใช้ไม่มีโอกาสรู้ว่าข้อมูลที่ได้มานั้นผิดพลาดเกินกว่าที่จะนำไปใช้งาน.....

 

 

 

 

 

 


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยขาดความรู้พื้นฐานทางด้านพื้นที่แล้ว ข้อมูลพื้นที่ที่ได้จากระบบสารสนเทศจะเชื่อถือได้อย่างไร หากกระจายข้อมูลเหล่านั้นออกไปจะเกิดอะไรขึ้น 

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com