ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภูมิศาสตร์เมือง Urban Geography (GEO 3409)” สอนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เนื้อหาครอบคลุมการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์เมือง ความเป็นเมืองและกระบวนการกลายเป็นเมือง การวัดค่าความเป็นเมือง การจำแนกประเภทของเมือง เขตอิทธิพลเมือง แหล่งกลาง ระบบการใช้ที่ดินในเขตชุมชนเมือง

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System for Administration)” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาเกี่ยวกับ การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

  * ขณะเรียนปริญญาโท ภูมิศาสตร์ ม.รามคำแหง ได้ศึกษาการเกิด ดิน โคลนถล่มเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.. 2544 ที่ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ นับว่าเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในขณะนั้น เป็นการยากที่ป้องกันและระวังตัว สภาพจิตใจของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือต่างโศกเศร้า เสียใจ หดหู่ และไม่ยากให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำอีก  

 

ลักษณะภูมิประเทศด้านบนน้ำก้อคือพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก ทางน้ำจากเนินเขาไหลลงมาสู่บ้านน้ำก้อ

 จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน.....เล่าให้ฟังว่า

  

 เนินเขาด้านบนเป็นเขาหัวโล้นเพราะป่าไม้ถูกตัดโค่น

 ชาวบ้านปลูกพืชไร่พวก ขิง ข่า บนเนินเขาเหล่านั้น

ก่อนดิน โคลนถล่มมีฝนตกต่อเนื่อง 2-3 วัน ดินบนเนินเขาอุ้มน้ำและค่อยๆไหลลงมาตามร่องน้ำ

 ดินและเศษไม้ทับถมไหลมาเป็นทอดๆ จุดที่มีการกั่นน้ำจะเป็นที่สะสมไม้ใหญ่ เศษไม้ น้ำ ดินและโคลนซึ่งจะขวางทางเดินของน้ำและสะสมแรงกดดัน

 เมื่อสิ่งที่ขวางทางน้ำพัง...ความแรงที่เกิดจากแรงกดจะเข้าโจมตีเข้าทำลายสิ่งกีดขวางเป็นระยะ ๆ

 และบ้านน้ำก้อก็คือสิ่งกีดขวางหนึ่ง

นั่นคือบทเรียนในอดีตของบ้านน้ำก้อ

 ภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth วันที่ 1/2/2016 พบว่า

วันนี้.....เนินเขาที่เคยเป็นเขาหัวโล้นกลายเป็นเขาที่มีไม้ปกคลุม ช่องทางน้ำที่นำดินโคลนมาถล่มบ้านน้ำก้อถูกสร่างเป็นแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่

 สิ่งนี้คือบทเรียนในอดีตของ น้ำก้อหรือไม่

 แล้ว....สถานการณ์เช่นน้ำก้ออาจจะเกิดขึ้นที่ไหนอีก...

 *วันนี้.....

...เมื่อวันที่13 สิงหาคม 2559 เกิดเหตุน้ำป่าทะลักเข้าท่วมพื้นที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ระดับน้ำที่สูงกว่า 3 เมตร ไหลบ่าท่วมสวนและทุ่งนาของชาวบ้านได้รับความเสียหาย ชาวบ้านไม่สามารถรับมือได้ทัน ก่อนไหลลงไปปางมะผ้า (ภาพจาก  www.manager.co.th, www.kapook.com และ www.sanook.com) 

   

 

เมื่อดูสภาพป่าและภูเขาจาก Google Earth ซึ่งถ่ายเมื่อ 3/5/2015 พบว่า

 

ชุมชน อ.ปาย ถูกโอบล้อมด้วยภูเขา

 ป่าไม้บนเขารอบๆ ถูกตัดทำลาย

มีร่องน้ำ ทางน้ำไหลจากภูเขาผ่านเขามาสู่ชุมชน จึงไม่น่าแปลกใจที่น้ำที่ไหลหลากเข้าสู่ชุมชนและตัวเมืองจะมีสีขุนเต็มไปด้วยดินโคลนและเศษไม้จากภูเขา

  *วันนี้.....

....วันที่ 14 ก.ค. 2559 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม โรงเรียนบ้านด่าน ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน หลังมีฝนตกหนักทำให้ดินชุ่มน้ำจนรับน้ำไม่ไหวทรุดตัวลงมา เกิดน้ำป่า พร้อมดินโคลนไหลหลากซัดพนังกั้นน้ำพังเข้าท่วมที่โรงเรียน ถนนเส้นทางหลักทรุดตัวเป็นร่องลึกในหลายจุด มีบ้านเรือนเสียหาย ในวันที่ 15 สิงหาคม 2559 แม่น้ำน่านได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมหลายชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่าน สถานที่ราชการและเอกชนหยุดบริการ (ภาพจาก  www.manager.co.th, www. matichon.co.th และ www. ch7.com)

 

 

เมื่อดูสภาพป่าและภูเขาจาก Google Earth ซึ่งถ่ายเมื่อ 2/5/2015 พบว่า

อ. เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน มีภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ชุมชนตั้งอยู่บนที่สูง ขณะที่เมืองน่านเป็นที่ราบอยู่ด้านล่าง

ภูเขาโดยรอบพบว่าป่าไม้บนเขาถูกตัดทำลายกลายเป็นเขาหัวโล้น

 ระหว่างเขาหัวโล้นมีร่องน้ำ ทางน้ำที่รองรับน้ำที่ไหลลงจากภูเขาและไหลลงต่ำมาสู่ที่ราบซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนและเมือง

 *วันนี้.....

....มีโอกาสผ่านไป อ.แม่แจ่ม และ อ.กัลยานิวัฒนา โดยเดินทางจากแม่ริมไปทั้งสองอำเภอ ระหว่างทางพบว่าเต็มไปด้วยเขาหัวโล้นและการปลูกพืชไร่พวกข้าวโพด ข้าวไร่ ถั่ว

เขาหัวโล้นที่แม่แจ่ม

 ข้าวโพดที่ปลูกบนเข้าหัวโล้นที่แม่แจ่ม

 ป่าสนที่อุดมสมบูรณ์ที่ อ.กัลยานิวัฒนา เริ่มกลายสภาพเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่

 ทั้งพวก ถั่ว ข้าวไร่ กะหล่ำ และข้าวโพดที่เริ่มขยายพื้นที่ปลูกจากแม่แจ่มเข้ามาสู่กัลยานิวัฒนา

 *วันนี้.....

....นั่งดูภาพถ่ายจากดาวเทียม ของ Google Earth บริเวณ อ.แม่แจ่ม และบริเวณ อ.กัลยานิวัฒนา เมื่อ 1/6/2014 พบว่า

 ชุมชน อ.แม่แจ่ม ถูกล้อมรอบด้วยเขาหัวโล้น

 ....เริ่มปรากฏการขยายตัวของพื้นที่ปลูกพืชไร่ในพื้นที่ อ.กัลยานิวัฒนา

 *หากวันนี้.....

 .....มีฝนตกต่อเนื่อง....มีภูเขาหัวโล้น...ไม่มีป่าไม้....มีแต่การบุกรุกตัดไม้ใหญ่เพื่อปลูกพืชไร่.....แล้วจะมี...ปาย2..3..4.. ขุนน่าน2..3..4.. หรือ.... อีกไหม

....แล้วบทเรียนน้ำก้อจะสอนใครบ้างไหม...เอ้า....สถาบันการศึกษา....ศึกษากันหน่อย....แล้วบอกให้หน่วยงานรัฐรู้ด้วยว่า....เรื่องของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม....พื้นที่เข้าศึกษาเข้าพิจารณากันเป็นลุ่มน้ำ

 ...การจัดสรรงบประมาณ การวางแผนเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาโดยใช้พื้นที่เขตปกครองเป็นขอบเขต บางครั้งมันไม่สามารถแก้ได้ครบทั้งระบบได้หรอกครับ....

 *และวันนี้....อายพี่น้อง สปป.ลาว จัง

....เมื่ออ่านข่าวความห่วงใยจากหนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา..(ซึ่ง นสพ.ผู้จัดการนำมาลงไว้)

 ....เพราะกลัวสารพิษจากปุ๋ยและยาฆ่าแมลงซึ่งมาจากพืชไร่บนเขาที่จะไหลลงมาพร้อมกับน้ำ ดิน โคลนและเศษพืช เข้าสู่ลำน้ำสายหลัก...

 ....ใช่หรือไม่ใช่....ต้องศึกษา ๆ อย่านิ่งเฉย

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อนำหลักการพื้นฐานของ Network Analysis มาเป็นโปรแกรมการวิเคราะห์เส้นทาง มือถือจึงแนะนำเส้นทางเพื่อการทางเราได้

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้118
เมื่อวานนี้535
สัปดาห์นี้1157
เดือนนี้118
ทั้งหมด1199300
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 2

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com