เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

สารบัญ

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

 

            ภายใต้สมมุติฐานเบื้องต้นว่าประชากรวัยแรงงานคือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้หลักเพื่อนำมาเลี้ยงดูประชากรทั้งหมดซึ่งมีทั้งกลุ่มวัยแรงงาน วัยเด็กและวัยสูงอายุ สำหรับประเทศไทยเมื่อพิจารณาข้อมูลจำนวนประชากรทั้ง 3กลุ่มของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า


ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,111,805 คน เป็นวัยเด็ก(อายุ 0-14 ปี) ร้อยละ 15.59 วัยสูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 18.6 และ วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ร้อยละ 63.95 หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 หมายความว่า มีประชากรในวัยพึ่งพิง 53 คนต่อประชากรวัยแรงงาน 100 คน (ถ้าอธิบายแบบง่าย ๆ คือ คนทำงาน 100 คน นอกจากต้องทำงานเลี้ยงดูตนเองและเลี้ยงดูเด็กและคนสูงอายุอีก 53 คน)

เมื่อวัยแรงงานและวัยพึ่งพิงส่งผลต่อกันนอกจากพิจารณาอัตราส่วนต่อกันแล้ว การรู้ว่าจำนวนประชากรทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ไหนเท่าไรจะทำให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อนำข้อมูลจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิง(วัยเด็ก+วัยสูงอายุ) มาแสดงในรูปแผนที่ จะปรากฏข้อมูลดังนี้

ประชากรวัยเด็ก

 

รูปที่ 1 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่มพบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยเด็กจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับเมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้นพบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กมากส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ที่พบกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยและปรากฏเป็นกลุ่มต่อเนื่องคือจังหวัดในภาคเหนือได้แก่จังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเอาจำนวนประชากรวัยเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 2 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรเด็กต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 11-25 และจังหวัดในภาคใต้จะมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมากกว่าภาคอื่น ๆ

 

 

  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com