ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

Read more ...
  • ผักและผลไม้บ้านเรา ปลอดสารพิษ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี

    The fruits and vegetables grown in our home garden are free of toxins and are grown without the use of chemical fertilizers. 

    Read more ...
  • ตามทฤษฎี วัฏจักรของการกัดกร่อนของ วิลเลียม มอร์ริส เดวิส หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำ

    Read more ...
     
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    Read more ...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    Read more ...
     
  • นักวิเคราะห์การตลาดเตือนว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญปี 2560 อาจมาเร็วกว่าที่คิด ?

    Read more ...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    Read more ...
     
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    Read more ...
  •  

    ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี นักภูมิศาสตร์จึงทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนและผู้ประสานงาน

    Read more ...
     
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    Read more ...

User Rating: 0 / 5

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

ภัยแล้ง ภัยพิบัติในฤดูร้อนของไทย

เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงเวลาฝนทิ้งช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชุมชน พืชสวนไร่นา เนื่องจากการขาดแคลนน้ำ ดังนั้นปัญหาภัยแล้งปัจจุบันคือ การขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และทำการเกษตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เกิดความเสียสมดุลย์ทางธรรมชาติ ภาวะอากาศแล้งที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งการเกิดความแห้งแล้งออกเป็น 3 ระดับคือ

·       สภาวะอากาศแห้งแล้ง (Meteorological  Drought) คือสภาวะที่มีการระเหยของน้ำที่เกินจำนวนที่ได้รับ

·       สภาวะการขาดน้ำ (Hydrological Drought) เป็นสภาวะที่ฝนตกน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่าปกติเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันนานจนมีผลกระทบต่อการลดลงของระดับน้ำผิวดิน ระดับน้ำใต้ดิน และการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง

·       สภาวะความแห้งแล้งทางการเกษตร (Agricultural Drought) เป็นภาวะที่เกิดการขาดน้ำสำหรับการเกษตร จนพืชไม่สามารถดึงเอาน้ำมาใช้ได้ ทำให้พืชผลหยุดชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

ภัยแล้ง  ( Drought)  มีสาเหตุจากการมีฝนน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกตามฤดูกาลติดต่อกันเป็นเวลานานหรือเรียกว่าฝนทิ้งช่วง (Dry Spell)  ในประเทศไทยพบว่าเกิดภัยแล้งขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี

          สาเหตุของการเกิดภัยแล้งสันนิษฐานไว้ว่าเกิดจาก

1.        การเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของชั้นบรรยากาศ ได้แก่ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์และโอโซน  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ ของรูปแบบการหมุนเวียนส่วนใหญ่ในชั้นบรรยากาศ

2.        การตัดไม้ทำลายป่า  ทำให้เกิดความแห้งแล้ง และทะเลทรายตามมา ป่าไม้ซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของกระแสลม ความชุ่มชื้น ฝน การระบายน้ำบนผิวดิน ทำให้ไม่มีฝนตก จึงเกิดความแห้งแล้งขึ้นแทน

3.        การขาดฝน หรือฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ฝนแล้งเกิดจาก การหมุนเวียนหรือการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ระหว่างบรรยากาศของโลกและมหาสมุทร

4.        การขาดแคลนน้ำในดิน

สรุปได้ว่า  ภัยแล้งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ

          1). ภัยแล้งจากธรรมชาติ เช่น ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

          2). ภัยแล้งจากการกระทำของมนุษย์  จากการตัดไม้ทำลายป่า การใช้ทรัพยากรทางน้ำอย่างฟุ่มเฟือย การเพิ่มปริมาณรถทำให้เกิดสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

          สภาวะของความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่รุนแรงมากเป็นภัยแล้งที่เบา เกิดจากฝนตกน้อยในฤดูฝน บางครั้งฝนแล้งมีบริเวณกว้าง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลต่อการกสิกรรม  อุตสาหกรรม  แต่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในประเทศไทย

วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อสภาวะภัยแล้ง มีปัจจัยที่ควรนำมาวิเคราะห์ คือ

1.       ปริมาณน้ำฝนรวม

2.       จำนวนวันที่ฝนตก 

3.       เขตชลประทาน 

4.       แหล่งน้ำใต้ดิน 

5.       พืชปกคลุม