เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

 

เมื่อปรากฏการณ์บนพื้นโลกถูกแสดงเป็นแผนที่ทั้งในรูป Hard Copy (กระดาษ, แผ่นผ้า, พลาสติก ฯลฯ) และ Soft Copy (Digital Map) ปัจจุบันเราจะรับรู้ว่ามีการจัดเก็บในระบบ GIS ในรูป Feature ที่เป็น Graphic data และ Attribute data  

การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

การวัดพื้นที่บนแผนที่แบบโบราณ

 การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจความหมายของมาตราส่วนแผนที่ก่อน เช่น แผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000 หมายถึง เมื่อวัดความยาวบนแผนที่ได้ 1 ส่วน หมายถึงในภูมิประเทศจะยาว 5,000 ส่วน ถ้าให้เขาใจง่ายๆ คือ วัดความยาวในแผนที่ได้ 1 เซนติเมตร บนพื้นโลกจะยาว 5,000 เซนติเมตร หรือ 50 เมตรนั่นเอง

เมือต้องการการวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการโดยพิจารณาจากรูปร่างของพื้นที่เป็นหลัก คือ

1.       ถ้ารูปร่างพื้นที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต สามารถคำนวณพื้นที่ได้โดยใช้สูตรตามรูปทรงเรขาคณิตนั้น โดยวัดค่าระยะจากมาตราส่วน เช่น พื้นที่ถ้าเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ คือ กว้าง x ยาว โดยความกว้างและความยาวหาได้จากการวัดในแผนที่แล้วนำมาเทียบมาตราส่วน

 

๒.      ถ้ารูปร่างพื้นที่ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต สามารถคำนวณโดยใช้วิธีเบื้องต้นดังนี้

 

2.1 การคำนวณพื้นที่จากเส้นขนาน

 

วิธีการประกอบด้วย

1.       ลากเส้นขนานให้มีระยะห่างเท่า ๆ กันให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ

2.       วัดระยะห่างของเส้นขนานและคำนวณระยะจริงในภูมิประเทศ

3.       วัดระยะความยาวของแต่ละเส้นขนานสร้างในข้อ 1 และคำนวณระยะจริงในภูมิประเทศของแต่ละเส้น

4.       คำนวณพื้นที่โดยนำ ความยาวของแต่ละเส้นขนานในข้อ 3 มารวมกันแล้วคูณด้วยความยาวของระยะห่างของเส้นขนานในข้อ 2

2.2 การคำนวณพื้นที่จากตารางจัตุรัส

 

วิธีการประกอบด้วย

1.       สร้างตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก บนแผ่นใส หรือวัสดุคล้ายกัน

2.       คำนวณพื้นที่แต่ละตาราง เช่น ถ้าตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 1 เซนติเมตร เมื่อนำไปวัดพื้นที่บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 100,000 พื้นที่ 1 ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะเท่ากับพื้นที่ภูมิประเทศจริงดังนี้

100,000 เซนติเมตร X 100,000 เซนติเมตร

1 กิโลเมตร  X  1 กิโลเมตร

1 ตารางกิโลเมตร

3.       นำเอาแผ่นใส ไปทาบพื้นที่ที่ต้องการวัดขนาด แล้วนับจำนวนช่องตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมด เศษของตารางนำมานับรวมกันให้เป็นพื้นที่ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส

๔.       คำนวณพื้นที่ว่ามีกี่ช่องตารางแล้วนับ 1 ช่องตารางเท่ากับ 1 ตารางกิโลเมตร ส่วนของเศษก็สามารถประมาณการได้ 

 

 

 

  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ข้อมูลในระบบ GIS มีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภทหลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างข้อมูลใหม่ควรเข้าใจว่ากลุ่มข้อมูล GIS มีอยู่ 3 กลุ่มข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com