นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 กทม. กับ การจัดการ IT ตอน 2 (บทบาท IT ในฐานะเครื่องมือที่ใช้ทำอะไรเพื่อใครบ้าง)

การที่กรุงเทพมหานครมีหน่วยงานย่อยๆ หลายหน่วยงาน มีทั้งหน่วยงานระดับอำนวยการ หน่วยงานระดับปฏิบัติ การบริหารจัดการจึงซับซ้อน การจัดลำดับความสำคัญของงาน อาจจะยุ่งยากต่อการบริหารและการบริการ โดยเฉพาะเมื่อต้องบริหารงานภายใต้กฎระเบียบของทางราชการ

ภารกิจหลายอย่างที่เกิดขึ้นมันเป็นไปตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่ควรจะเป็นหรือไม่...เมื่อหน่วยงานที่ควรทำหน้าที่หลักด้านอำนวยการ กลับไปทำงานปฏิบัติการ หน่วยงานที่ควรทำหน้าที่หลักด้านปฏิบัติการกลับทำหน้าที่อำนวยการ…                                                                                                                           

 

แล้ว...งานอำนวยการ กับงานปฏิบัติ ต่างกันอย่างไร

 

หน่วยอำนวยการ ตามหลักการแล้วมีหน้าที่หลักด้านการวางแผนกำหนดทิศทาง กำหนดแนวทางการจัดการ การมอบหมาย การประสานงาน การแนะนำ การควบคุมและติดตามประเมินผล ซึ่งหน่วยอำนวยการจะบูรณาการเครื่องมือ แนวความคิดและข้อมูลต่าง ๆ  ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นไปได้และเหมาะสมเกิด ประโยชน์สูงสุด ในขณะที่หน่วยปฏิบัติการจะมีหน้าที่หลักในการนำแนวทาง มาตรฐาน มาตรการที่กำหนดไว้มาวางแผนและนำไปปฏิบัติงานต่อยอด

บทบาท IT ในฐานะเครื่องมือที่ใช้ทำอะไรเพื่อใครบ้าง..ในกทม.

แต่ก่อนที่จะบอกว่าหน่วยงาน IT ใน กทม. ควรบริหารจัดการงานด้าน IT ระดับอำนวยการและระดับปฏิบัติการอย่างไร ควรเข้าใจส่วนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ IT ก่อน

จากภาพจะอธิบายความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่าง 3 ส่วน คือ 1) ส่วนของเนื้อหาสาระ (Content) 2) ส่วนของเครื่องมือ (Tools) 3) ส่วนของผู้ใช้ (Users) เนื้อหาสาระและเครื่องมือ

เนื้อหาสาระ (Content) ก็คือ ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information) ที่ใช้ ควบคุม กำกับ สั่งการ ตัดสินใจ ใช้ปฏิบัติงานในขั้นตอนการทำงานในหน่วยงานและบริการประชาชน โดยเนื้อหาสาระ (Content) ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากบทบาทหน้าที่ (Function) ของ กทม. เกิดจากนโยบายของฝ่ายบริหาร (Agenda) และเกิดขึ้นตามความแตกต่างของพื้นที่ (Area) กรุงเทพมหานครซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ วัฒนธรรมและสังคมที่แตกต่างกัน

ผู้ใช้ (Users) เนื้อหาสาระและเครื่องมือ สามารถพิจารณาจาก IT ของ กทม.ที่เป็นแค่เครื่องมือ (Tools) สำหรับสร้างผลผลิต (Output) ที่เป็นเนื้อหาสาระ (Content) เพื่อบริการหรือให้ผู้ใช้งาน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร กทม. ใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับ สั่งการและตัดสินใจ กลุ่มผู้ปฏิบัติ หรือ เจ้าหน้าที่ กทม. ใช้สำหรับปฏิบัติงานในขั้นตอนการทำงานในหน่วยงานหรือใช้ในการบริการ และกลุ่มประชาชน ใช้ในขั้นตอนรับบริการจากหน่วยงาน กทม.

ส่วนของเครื่องมือ (Tools) ในมุมของเทคโนโลยีแล้ว สิ่งที่หน่วยงานด้าน IT ต้องบริหารจัดการจะประกอบด้วยส่วนหลัก คือ

 1.       Information Technology (IT)

2.       Communication Technology (CT)

3.       Information System (IS)

4.       Information Technology Support & Service

 ซึ่งการบริหารจัดการทั้งทาง Physical และ Logical คงต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบด้าน IT ได้แก่ Hardware Software Peopleware Network & Communication Application Information & Data ซึ่งต้องมีรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

IT เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำอะไรเพื่อใครบ้าง

จากที่กล่าวว่า กรุงเทพมหานครใช้ IT เป็นแค่เครื่องมือ (Tools) ที่สร้างผลผลิต (Output) ที่เป็นเนื้อหาสาระ (Content) เพื่อผู้ใช้งาน 3 ส่วนคือ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และ ประชาชน แล้วจริงๆ คนเหล่านี้เป็นใคร มาจากไหนบ้าง

เมื่อพิจารณาว่า หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อให้ผลลัพธ์ตกอยู่ที่ประชาชนแล้ว กรุงเทพมหานครก็เป็นหน่วยงานรัฐที่ต้องทำเพื่อประชาชนเช่นกัน แต่กรุงเทพมหานครมีความซับซ้อนในการบริหารงาน เนื่องจากบุคลากรของกรุงเทพมหานครมีทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง โดยข้าราชการประจำจะมีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งที่สูงสุด ข้าราชการการเมืองจะมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

เมื่อ ผว.กทม. เป็นนักการเมืองที่ผ่านขบวนการหาเสียง รับประชามติมาจากประชาชนให้มาทำงานที่ประชาชนต้องการ ในบางครั้งความต้องการของประชาชนที่ให้ ผว.กทม.มาทำ มาแก้ไขไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครโดยตรง เช่น งานด้านสาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ งานขนส่งมวลชน งานด้านการจราจร เป็นต้น แต่ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครซึ่งต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ผว.กทม. และต้องทำหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ทำพร้อมกันไปด้วยจึงเป็นปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานครอย่างมาก และหากพิจารณาภาพข้างต้นจะพบว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครไม่ใช่เพียงการต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ผว.กทม. มีนโยบายและสั่งการเท่านั้น รัฐบาลก็สามารถสั่งการ ผว.กทม. ผ่านรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยได้โดยตรง ในบางครั้งเมื่อรัฐบาลมีภารกิจพิเศษและ กทม.อยู่ในฐานะหน่วยงานในพื้นที่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ..เมื่อต้องบริหารจัดการระบบ IT ทั้งด้านการอำนวยการและการปฏิบัติการเพื่อเป็นเครื่องมือการทำงานของ กทม. โดยจำเป็นต้องใช้งานที่ต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาชน ผู้ปฏิบัติทั้งในและนอก กทม. และผู้บริหารที่มีทั้งฝ่ายประจำ ฝ่ายการเมืองทั้งในและนอก กทม. ย่อมจะ...ยุ่งละสิ....

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การดำเนินการศึกษาใช้สภาพทางกายภาพของที่ตั้งอาคารเป็นเครื่องชี้ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ใช้ GIS Multi Criteria Modeling Delphi Technique  เป็นเครื่องมือประกอบการศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้279
เมื่อวานนี้501
สัปดาห์นี้2353
เดือนนี้10652
ทั้งหมด1196861
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 5

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com