การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  หลากหลายความเห็นจากนักภูมิศาสตร์และการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 

 การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 อ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง (Contour)

เมื่ออ่านค่าพิกัด UTM ในตอนที่ 1 แล้ว ในตอน 2 เราจะอ่านค่าและแปลค่าความสูงจากเส้นชั้นความสูง (Contour) กัน

เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS

 เส้นชั้นความสูงหลัก (Index Contour) จะมีค่าความสูงกำกับ เช่น เส้นชั้นความสูงที่มีค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 100 เมตร 200 เมตร 300 เมตร.... ส่วนเส้นชั้นความสูงที่อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูงหลักจะเป็นเส้นชั้นความสูงแทรก (Supplemental Contour) โดยปกติจะมีค่าความสูงเส้นละ 20 เมตร  

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นประ จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงประมาณ (Approximate Contour) ซึ่งเกิดจากการประมาณค่าขึ้นเองโดยอาจจะเนื่องจากผู้ทำแผนที่ไม่มีค่าระดับความสูงในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงที่เกิดจากการใช้ค่าความสูงโดยรอบ หรือการทำ Interpolation จึงคลาดเคลื่อนสูงไม่ได้ค่าตามมาตรฐานที่กำหนด ในงานทำแผนที่จึงสร้างเส้นชั้นความสูงประมาณเป็นเส้นประ หากทำการ Interpolate ด้วยระบบ GIS ซึ่งผู้ใช้โปรแกรมไม่เข้าใจหลักของขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงแล้ว เส้นชั้นความสูงทุกเส้นจะไม่สามารถแยกได้ว่าเส้นใดควรเป็น ชั้นความสูงโดยประมาณ (Approximate Contour) การนำไปใช้ประโยชน์อาจจะไม่เหมาะสมได้ (จะอธิบายเมื่อมีโอกาสต่อไป)

 

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นขีดสั้นๆตั้งฉากเส้นชั้นความสูง จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงเป็นแอ่ง (Depression Contour) ซึ่งปลายของขีดสั้นๆ จะชี้ลงที่ต่ำ

 

การอ่านค่าจะอ่านตามค่าที่กำกับเส้นชั้นความสูง ซึ่งปกติจะกำกับที่เส้นชั้นความสูงหลัก โดยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่ออ่านค่าที่เส้นชั้นความสูงแทรก

 

การแปลความหมายโดยการอ่านค่าและลักษณะของกลุ่มเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏเด่นชัด คือ

- ยอดเขาหรือเนินเขา เป็นจุดสูงสุดจะเป็นเส้นชั้นความสูงที่มาบรรจบกันเล็กๆ และจะไม่ปรากฏเส้นชั้นความสูงใดซ้อนอยู่ภายในเส้นนั้นอีก

- จมูกเขา เป็นส่วนที่ยื่นออกจากจุดสูงสุดของเนินเขาลาดลงต่ำ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่ามากจะยื่นแหลมออกยังไปเส้นที่มีค่าน้อยหรือยื่นลงสู่ที่ต่ำ

- แนวสันเขา เป็นแนวที่ลากเชื่อมกันจากยอดเขาไปยังอีกยอดเขาหรือไปตามแนวจมูกเขาเชื่อมเข้าหายอดเขาที่ใกล้กันที่สุดสุดถึงยอดเขาสุดท้าย

- ร่องน้ำ เป็นแนวที่เป็นร่องที่น้ำสามารถไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่าน้อยจะยื่นแหลมเขาหาเส้นที่มีค่ามากหรือขึ้นสู่ที่สูง

 

 ตัวอย่างที่สามารถแสดงการอ่านและการแปลความได้ชัด คือ

 

 

ในการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูง ทำให้สามารถเข้าใจพื้นที่ บริหารจัดการพื้นที่ในภาพรวมได้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง ดิน น้ำ และป่าไม้ ซึ่งการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูงทำให้มองเห็นสภาพทางกายภาพของลุ่มน้ำ ทั้งที่เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่และลุ่มน้ำย่อยๆ ซึ่งคงจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆไป

 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/257-grid-utm-2 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 3 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/255-profile-contour-2

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลักการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ตามแนวคิดและเทคนิควิธีการทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีมาตั้งแต่ดั่งเดิมจนมาถึงปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้208
เมื่อวานนี้470
สัปดาห์นี้1717
เดือนนี้678
ทั้งหมด1199860
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 5

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com