เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 8ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

สารบัญ

เปรียบเทียบอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ 3 ปี

ข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนำมาเชื่อมเป็นแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิงแล้วนำมาเปรียบเทียบกับประชากรวัยแรงงาน โดยคำนวณเป็นค่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ พบว่า ปี พ.ศ. 2556 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 48 (มีกลุ่มคนในวัยที่ต้องพึ่งพิง 48 คน ในทุก ๆ กลุ่มคนวัยทำงาน 100 คน)  ปี พ.ศ. 2560 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 50 และกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53  ซึ่งจะพบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2556-2560 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้น 2 ในขณะที่ช่วงปี พ.ศ. 2560-2565 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้นถึง 3 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุแต่ละจังหวัด(รูปที่ 13) จะพบว่า ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุน้อยกว่า 50 ส่วนจังหวัดที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 50 และเกาะกลุ่มโดดเด่นจะเป็นจังหวัดในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไปจนถึงจังหวัดใต้สุดของประเทศไทย โดยมี 2 จังหวัดคือจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60

ในปี 2560 พบว่าหลายจังหวัดที่ในปี 2556 มีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุน้อยกว่า 50 มีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มมาอยู่ในช่วง 50-60 แต่จังหวัดที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60 ยังคงเป็นจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาเช่นเดิม

ในปี 2565 พบว่าในภาพรวมทุกจังหวัดมีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุอยู่ในช่วงเดียวกับปี 2560 คือ อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุอยู่ในช่วง 50-60 และมีจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60

จากรูปที่ 14 แผนภูมิเปรียบเทียบอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุแต่ละจังหวัด ปี 2556 2560 2565 พบว่า ในปี 2565 เกือบทุกจังหวัดอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะสูงขึ้น มีเพียง 4 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และภูเก็ตเท่านั้นที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุลดลง

หากพิจารณาสัดส่วนของประชากรวัยพึ่งพิงต่อประชากรทั้งหมด โดยนำเอาแผนภูมิค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับแผนภูมิค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมด (รูปที่ 15) จะพบว่าแต่ละจังหวัดค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดจะลดลงทุก ๆ ปี ในขณะที่ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดกลับเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน แสดงว่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดนั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก เมื่ออัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้นทุกปี พิจารณาดี ๆ ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากขึ้น....จะทำอย่างไร...หรือจะให้เป็นภาระของ AI

 

 

  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

    พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

    และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com