เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายที่มา แนวคิดและกระบวนการในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร

ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

ควรหรือที่ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)  จะเป็นองค์ประกอบย่อยของ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics)”

จากความหมายและการอธิบายคำว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ข้างต้น ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)  

หากพิจารณาความหมายและข้ออธิบายแล้วจึงไม่น่าเป็นการถูกต้องนักที่จะกล่าวว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)” เป็นองค์ประกอบย่อยของ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) เนื่องจาก ภูมิสารสนเทศ มุ่งเน้นการสำรวจและการรังวัดในเชิงกายภาพ  ส่วน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดทางภูมิศาสตร์ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับโลกทั้งในส่วนของกายภาพและสังคมมนุษย์

เมื่อ ต้องศึกษาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับงานหรือภารกิจเชิงพื้นที่ ควรจะศึกษาแนวคิดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมและกว้างขว้างกว่าการศึกษาความถูกต้องและแม่นยำในเชิงกายภาพ นั่นคือ นอกจากจะใช้เทคโนโลยีตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไรแล้ว ควรจะใช้เทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศเพิ่มเติมว่า ทำไมจึงเกิดปรากฏการณ์ ในพื้นที่นั้น และมนุษย์สามารถรับรู้ เข้าใจและควรจัดการปรากฏการณ์นั้นได้อย่างไร

หากกล่าวว่าภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)แล้ว คงต้องกล่าวถึงคำว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics; Geometics)ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) กับ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geometics)เป็นสองคำที่ผู้รู้จัก ผู้เคยรู้จัก และผู้ที่กำลังจะรู้จักเทคโนโลยีนี้มีความเข้าใจสับสน เรียกถูก-เรียกผิด บางคนเรียก เทคโนโลยี GIS” ว่า  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บางคนก็เรียกว่า ภูมิสารสนเทศ จนกระทั้งพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้อธิบายความหมายไว้ว่า

Geographic Information System (GIS)  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (จีไอเอส) : ระบบ ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ และรายละเอียดของวัตถุบนพื้นโลก โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อการนำเข้า จัดเก็บ ปรับแก้ แปลง วิเคราะห์ข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนที่ ภาพ 3 มิติ สถิติตารางข้อมูล เพื่อช่วยในการวางแผนและตัดสินใจของผู้ใช้ให้มีความถูกต้องแม่นยำ

Geoinformatics, Geomatics ภูมิสารสนเทศศาสตร์ : ศาสตร์ สารสนเทศที่เน้นบูรณาการของเทคโนโลยีทางด้านการสำรวจ การทำแผนที่ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางพื้นที่เข้าด้วยกัน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับโลก ได้แก่ เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก การรับรู้ระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ในขณะที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้นิยามศัพท์คำว่า ภูมิสารสนเทศ ไว้ว่า ภูมิสารสนเทศ  คือ ข้อมูลเชิงตำแหน่งทุกชนิด ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะที่เป็นเอกสารหรือเชิงเลข (Digital) หรือจะได้มาจากกระบวนการหรือกรรมวิธีใด โดยหมายรวมถึง แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม ข้อมูลเวคเตอร์ แบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลข ตลอดจนข้อมูลจากการสำรวจรังวัดทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการรังวัดแบบดั้งเดิม (Conventional Survey) หรือจากการรังวัดสมัยใหม่ด้วยสัญญาณดาวเทียม GPS ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลใน Wikipedia, the free encyclopedia  ที่กล่าวถึง Geomatics ว่ามุ่งเน้นการสำรวจและการรังวัด

อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้ว ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และ ภูมิสารสนเทศ มีแนวคิด วิธีการและมีการใช้งานมานานก่อนที่จะมีการบัญญัติคำทั้งสองโดยชื่อที่เรียกแตกต่างกันออกไป ได้แก่ Land Information System, Urban Information System, Geoscience, Spatial Information System, Geo-Information เป็น ต้น หากไม่สนใจว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แล้วจะพบว่า แนวคิดและวิธีการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีการใช้งานใน ศาสตร์ทางภูมิศาสตร์มานานแล้ว โดยเฉพาะ การใช้ Overlay Technique ซึ่งใช้แผ่นใส หรือ Tracing Paper หรือ วัสดุโปร่งใสอื่น ๆ สร้างแผนที่ที่เป็นชั้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการหาตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลในพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดเทคโนโลยีนี้คำศัพท์ที่ถูกนำมาใช้เรียกเทคโนโลยี คือ Geographic Information System (GIS)  ซึ่ง ใช้กรอบแนวคิดของวิชาภูมิศาสตร์เป็นฐานในการประยุกต์ใช้งาน ส่วนแนวคิดด้านเทคโนโลยีที่ถูกนำมาเป็นเพียงเครื่องมือจะเปลี่ยนแปลงไปตลอด เวลาตามยุค ตามสมัย  

จากความหมายและการอธิบายคำว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ข้างต้น มีการพยายามอธิบายสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ซึ่งเป็นการแปลกที่กล่าวว่า เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เป็นส่วนประกอบย่อยของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) เนื่องจาก เมื่อพิจารณารายละเอียดของความหมายของคำทั้งสองจากคำภาษาอังกฤษแล้วจะพบว่า คำว่า ภูมิสารสนเทศศาสตร์ แปลมาจากคำว่า Geoinformatics หรือ Geomatics (มาจากประเทศแคนาดา) โดยที่ Geo หมายถึง โลกหรือการศึกษาเกี่ยวกับโลก และคำว่า  Informatics หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร หรือ information ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลและวิเคราะห์แล้ว ขณะที่คำว่า Geomatics จะมีความหมายลักษณะเดียวกัน แต่จะเน้นถึงการสำรวจและการรังวัด ซึ่งทั้งสองคำจะมุ้งเน้นที่จะศึกษาเกี่ยวกับโลกในเชิงกายภาพ ในขณะที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แปลมาจากคำว่า Geographic Information System โดยที่ Geographic มาจาก Geo หมายถึง โลก และ Graphic หมาย ถึง การเขียน ซึ่งเป็นการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับโลก หรือที่รู้จักกันว่าเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า ภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ ตลอดจนองค์ประกอบทางด้านสังคมมนุษย์ โดยศึกษาถึงลักษณะ ความหมาย รูปแบบ การกระจาย การะบวนการเกิดการเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการ ตลอดจนความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีแนวความคิดหลักเกี่ยวกับพื้นที่ในลักษณะที่เป็นระบบ คือ ระบบกายภาพและระบบสังคมมนุษย์  เช่น ระบบกายภาพ ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ หิน ดิน น้ำ บรรยากาศ เป็นต้น ระบบสังคมมนุษย์ ศึกษา ประชากร การเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น Geographic หรือ ภูมิศาสตร์ จึงเป็นศาสตร์ที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับโลกทั้งในส่วนของระบบกายภาพและระบบสังคมมนุษย์  ส่วนคำว่า Information หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลและวิเคราะห์แล้ว System ในที่นี้หมายถึงระบบเทคโนโลยีอันได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและสารสนเทศ ตลอดจนระบบเครือข่ายสื่อสาร (Network and Communication)

ดังนั้น เมื่อพิจารณาความหมายและข้ออธิบายข้างต้นแล้ว จึงไม่น่าเป็นการถูกต้องนักที่จะกล่าวว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)” เนื่องจาก ภูมิสารสนเทศ มุ่งเน้นการสำรวจและการรังวัดในเชิงกายภาพ ส่วน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดทางภูมิศาสตร์ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับโลกทั้งในส่วนของกายภาพและสังคมมนุษย์

ทั้ง นี้หากมีความเข้าใจในข้อแตกต่างดังกล่าวแล้วจะพบว่า เมื่อต้องศึกษาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับงานหรือภารกิจเชิงพื้นที่ ควรจะศึกษาแนวคิดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมและกว้างขว้างกว่าการศึกษาความถูกต้องและแม่นยำในเชิงกายภาพที่ ไม่ได้เน้นเฉพาะเทคโนโลยีการสำรวจ การรังวัดและวิเคราะห์ด้วยแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม ข้อมูลเวคเตอร์ และแบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขเพียงอย่างเดียว หากจะต้องศึกษาความสัมพันธ์ทั้งด้านความคิดเห็น การรับรู้ และความเกี่ยวข้องทั้งทางกายภาพและสังคมมนุษย์ในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย หากจะอธิบายให้ชัดเจนก็คือ นอกจากจะใช้เทคโนโลยีตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไรแล้ว ควรจะใช้เทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศเพิ่มเติมว่า ทำไมจึงเกิดปรากฏการณ์ ในพื้นที่นั้น อีกทั้งมนุษย์สามารถรับรู้ เข้าใจและควรจัดการปรากฏการณ์นั้นได้อย่างไร

นั่นคือแนวทางที่จะบอกว่าเมืองไทยควรศึกษา ภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ให้ชัดเจน เพราะเราจะได้ไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมจึงมีนักวิชาการไทยส่วนหนึ่งจึงเข้าใจว่า Google Map คือ GIS และทำไมการพัฒนา GIS ในเมื่อไทยจึงหยุดอยู่แค่ต้องการคำตอบว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร เท่านั้น


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักแผนที่และนักสำรวจจะต้องปรับตัวเมื่อตำแหน่งมือถือปรากฏบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมในหน้าจอมือถือได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com