สาระภูมิศาสตร์

พายุ ภัยพิบัติที่มากับฤดูร้อนและฤดูฝนของไทย

ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

พายุ ภัยพิบัติที่มากับฤดูร้อนและฤดูฝนของไทย

ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศไทยได้ เท่าที่เคยผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็น หย่อมความกดอากาศต่ำ  พายุดีเปรสชั่น และเสียหายมากที่สุดคือ พายุใต้ฝุ่น 

ลักษณะการเกิดพายุ

-        จะมีการก่อตัวในทะเล หรือมหาสมุทร

-        เกิดในช่วง ละติจูด ที่ 8-15  องศา เหนือ-ใต้

-        เกิดทางตะวันตกของมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่

-        จะเคลื่อนที่ จากตะวันออกไป ตะวันตก ตามอิทธิพลของแรงลมสินค้า

องค์ประกอบเสริมที่ทำให้พายุเกิด

-        อุณหภูมิของอากาศที่ปกคลุมเหนือทะเลและมหาสมุทร ต้องสูงประมาณ 80°F (27 °C)

-        อุณหภูมิของน้ำทะเล

-        อิทธิพลความกดอากาศสูง

-        ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่าน

-        ในประเทศไทยส่วนมากจะเกิดในช่วง ปลายฤดูร้อน และปลายฤดูฝน (ในช่วง สิงหาคม-พฤศจิกายน)

การที่อุณหภูมิเหนือผิวน้ำทะเลสูง และ อุณหภูมิของน้ำทะเลสูง จะทำให้อากาศอับชื้นอยู่ในระดับน้ำ ก่อให้เกิดความไม่เสถียรภาพของอากาศทำให้ง่ายต่อการเกิดพายุ และจากการที่มีความร้อนแฝงจากการระเหย และถูกคายออก เมื่อมีการควบแน่นเป็นจำนวนมาก พลังงานความร้อนแฝง รวมกับความชื้น จำนวนมากนี้เป็นตัวการที่ก่อให้เกิด Typical cyclone (พายุหมุนเขตร้อน) แรงลมจะพัดเข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ อากาศจะถูกบีบตัวเข้าหากันและยกตัวสูงขึ้น โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา (เนื่องจากเกิดในซีกโลกเหนือ) ความรุนแรงที่จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ความชันของความกดอากาศ ยิ่งชันมากก็จะยิ่งมีความรุนแรงของลมมากขึ้น

ในประเทศไทยมีการเผชิญหน้ากับพายุที่มีกำลังแรงจาก มหาสมุทรโดยตรงน้อยมากเนื่องจาก ที่ตั้งของประเทศมีที่กำบังจากประเทศอื่น แต่จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้าพายุลูกนั้นก่อตัวขึ้นในทะเลอ่าวไทย ซึ่งความรุนแรงของพายุอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติจากฝนตกหนัก, น้ำท่วม, น้ำบ่าไหลหลาก, แผ่นดินถล่ม, หรือความรุนแรงจากคลื่นสูงและคลื่นซัดฝั่งได้ พื้นที่ที่จะประสบกับภัยตัวนี้ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย   และจะเกิดขึ้นพร้อมๆกับ พายุที่มีกำลังลมค่อนข้างแรง

 

ตัวอย่างการเกิดพายุในประเทศไทย

พายุที่พัดผ่านประเทศไทยที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่พื้นที่มากที่สุดอันหนึ่ง คือ พายุ ใต้ฝุ่นเกย์ ที่พัดผ่านเข้าทาง จ. ชุมพร เมื่อ เดือน พฤศจิกายน ปี พ.. 2532 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายค่อนข้างรุนแรง

พายุได้มีการก่อตัวขึ้นเมื่อ 07.00 . ของวันที่ 31 .. 2532 จาก หย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรง ในทะเลจีนใต้ตอนล่าง ห่างจากจังหวัด นราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกค่อนข้างไปทางใต้ประมาณ 300  กม. และในเวลาต่อมา ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กระทั่งเวลา 7.00 . ของวันที่ 1 .. 2532 ก็ได้เพิ่มความแรงขึ้นกลายเป็นพายุ ดีเปรสชั่นขณะอยู่ห่างจากจังหวัดสงขลา ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 250 กม. พายุดีเปรสชั่นได้เคลื่อนตัวอย่างช้าไปตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ และทวีความรุนแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน เกย์เมื่อเวลา16.00. ของวันที่ 2 .. 2532  มีศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด พัทลุง ประมาณ 200 กม. มีความเร็วรอบศูนย์กลางประมาณ 65 กม./ ชม. (35 นอต)  พายุโซนร้อน เกย์ได้เปลี่ยนทิศทางไปในแนวทิศเหนือ และเปลี่ยนไปในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเวลาต่อมา เนื่องจากอิทธิพลการแผ่ลิ่มลงมาของความกดอากาศสูงกำลังแรง ทำให้พายุไม่สามารถเคลื่อนตัวไปทางเหนือได้ และเปลี่ยนทิศทางในที่สุด

เมื่อเวลา 16.00. ในวันที่ 3 .. 2532 พายุได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุใต้ฝุ่นเกย์โดยมีศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสมุย 120 กม. มีความเร็วรอบจุดศูนย์กลางประมาณ 120กม./ชม. (65 นอต) และเคลื่อนตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมาในตอนเช้า ของวันที่ 4 .. 2532 พายุได้ขึ้นฝั่งที่อำเภอ ประทิว จังหวัด ชุมพร ในเวลา 10.30 . มีศูนย์กลางอยู่ที่ อำเภอ ประทิว จังหวัด ชุมพร และมีความเร็วสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางประมาณ 120 กม./ชม. พายุนี้เมื่อขึ้นฝั่งได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยไปยังประเทศพม่าในแนวทิศตะวันตกและลงฝั่งทะเลอันดามัน ในวันที่ 4 .. 2532 เวลา 16.00 .

จากเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ทั้งจากแรงลม และปริมาณน้ำฝน มีบ้านเรือนถูกลมพัดพัง เรือประมงเสียหายและอับปางจากแรงลมพายุทำให้เกิดคลื่นสูงและรุนแรง พื้นที่เพาะปลูกถูกน้ำท่วมเสียหาย ถือว่าเป็นภัยพิบัติที่มีความรุนแรงอันหนึ่งของประเทศไทย

  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com