ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • สถิติและฐานข้อมูลสาหรับนักบริหาร (Statistics and database for administrators)สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหากล่าวถึงภาพรวมงานสถิติและขบวนการดำเนินงาน รวมถึงการนำไปใช้งานสำหรับการบริหารงานในทุกระดับ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ที่บอกว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของพื้นที่เป็นคำกล่าวที่กล่าวกันง่ายๆ ต่อๆกันมา วันนี้เลยลองหยิบข้อมูลประชากร (หาได้ทั่วไป) มาลองมองในมุมของนักภูมิศาสตร์ โดยตอน 1 กล่าวถึงจำนวนประชากรแต่ละอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ตอน 2 ลองนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่น การกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ...ซึ่งพบว่ามีอะไรสนุกๆ จากข้อมูลจริงภายใต้มิติของพื้นที่และเวลา

 

 

ตอนที่ 2 มองเชียงใหม่จากการกระจายตัวของประชากร

 

 

จากข้อมูลตัวเลขประชากรที่ได้จาก Web Site ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรถึง 1.73 ล้านคนเศษ มีขนาดของพื้นที่ถึง 20,107.057 ตารางกิโลเมตร หากพิจารณาความหนาแน่นของประชากรรายอำเภอจะพบว่า

อ.เมืองมีประชากรหนาแน่นสูงสุด คือ 1,541 คน/ต.ร.กม. รองลงมาคือ อ.สารภี 450 คน/ต.ร.กม. และ อ.สันป่าตอง 338 คน/ต.ร.กม.

ในขณะที่ย้อนหลังไป 5 ปี คือ ในปี พ.ศ. 2555 อ.เมืองก็มีประชากรหนาแน่นสูงสุด รองลงมายังเป็น อ.สารภีและ อ.สันป่าตอง โดยมีประชากรหนาแน่น 1,135 คน/ต.ร.กม. 435 คน/ต.ร.กม. และ 337 คน/ต.ร.กม. ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของประชากรรายอำเภอระหว่างปี พ.ศ. 2555 กับ ปี พ.ศ. 2559 พบว่า

ในปี พ.ศ. 2559 อำเภอเมืองมีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มจาก ปี พ.ศ. 2555 มากสุดคือ จากเดิม 1135 คน/ต.ร.กม. เพิ่มเป็น 1541 คน/ต.ร.กม. โดยเพิ่มถึง 407 คน/ต.ร.กม. ในขณะที่อำเภออื่น ๆ ที่ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้นจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 26 คน/ต.ร.กม. และพบว่า อำเภอดอยสะเก็ดมีความหนาแน่นของประชากรลดลงจาก ปี พ.ศ. 2555 มากสุด 28 คน/ต.ร.กม. ในขณะที่อำเภออื่น ๆ ที่ความหนาแน่นของประชากรลดลงจะลดลงไม่เกิน 2 คน/ต.ร.กม. หรืออาจจะกล่าวรวม ๆ ได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ปี พ.ศ. 2555 กับปี พ.ศ. 2559 การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนประชากรต่อ 1 ต.ร.กม. ของทุกอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่จะไม่เกิน 30 คนต่อ 1 ต.ร.กม. ยกเว้นอำเภอเมืองเท่านั้นที่ประชากรเพิ่มขึ้นถึง 407 คนต่อ 1 ต.ร.กม.

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความหนาแน่นของประชากร ปี พ.ศ. 2559 ซึ่ง อำเภอเมืองมีความหนาแน่นของประชากร สูงสุด (ประมาณ 1500 คน/ต.ร.กม.) และมีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้นในระยะ 5 ปีมากที่สุด พบว่ายังคงมีความหนาแน่นของประชากรไม่มาก หากเทียบกับกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวงของประเทศแล้วจะมีความหนาแน่นของประชากรเพียงครึ่งหนึ่งของความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร (ประมาณ 3600 คน/ต.ร.กม.) และพบว่าอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มี ความหนาแน่นของประชากรเทียบเท่ากับความหนาแน่นของประชากรเขตชานเมือง ได้แก่ เขตคลองสามวา เขตบางขุนเทียน เขตลาดกระบัง เท่านั้น (ข้อมูลความหนาแน่นของประชากรกรุงเทพมหานคร จากหนังสือ สถิติ 2559 กรุงเทพมหานคร สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร)

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการกระจายตัวของประชากรจากข้อมูลความหนาแน่นของประชากรรายอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่แล้วพบว่ายังไม่สามารถบ่งชี้อะไรได้ไม่ชัดเจน แต่เมื่อนำข้อมูลประชากร ปี พ.ศ. 2559 รายตำบลมาพิจารณาจะพบว่า

การกระจุกและกระจายตัวของประชากรจะชัดเจน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตอนกลางของจังหวัด และกลุ่มตอนเหนือของจังหวัด

โดยกลุ่มตอนกลางของจังหวัดจะยังคงมีความหนาแน่นของประชากรมากที่ตำบลในอำเภอเมืองและตำบลในอำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี  อำเภอหางดง ซึ่งเป็นตำบลที่ติดกับอำเภอเมือง โดยต่อเนื่องไปถึงตำบลในอำเภอแม่ริมต่ออำเภอสันทรายและอำเภอแม่แตง

สำหรับกลุ่มตอนเหนือของจังหวัดจะมีตำบลที่ความหนาแน่นของประชากรมากกระจายเป็นกลุ่มย่อย ที่ชัดเจนคือตำบลในอำเภอฝางต่ออำเภอแม่อาย

ขณะที่พิจารณาย้อนหลังไป 5 ปี คือ ปี พ.ศ. 2555 จะพบว่าการกระจุกและกระจายตัวของประชากรก็มีลักษณะเดียวกับ ปี พ.ศ. 2559 เช่นกัน โดยจะชัดเจน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตอนกลางของจังหวัด และกลุ่มตอนเหนือของจังหวัด

เพียงแต่ในปี พ.ศ. 2555 อำเภอเวียงแหงยังไม่มีตำบลที่มีประชากรเกิน 100 คนต่อ 1 ต.ร.กม.เหมือนกับปี พ.ศ. 2559

 

เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของประชากรเปรียบเทียบจากปี พ.ศ. 2559 และย้อนหลังไป 5 ปี (พ.ศ. 2555) พบว่าการกระจายตัวและกระจุกตัวของประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะมีลักษณะเดียวกัน โดยจะเกิดขึ้นตามแนวถนนและจุดตัดของถนนสายหลักจากอำเภอเมืองไปทางตอนเหนือของจังหวัดโดยจะปรากฏจะชัดเจนบริเวณพื้นที่ราบลุ่มเป็นหลัก ในขณะที่ทางตอนใต้ของจังหวัดซึ่งมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงการกระจายตัวของประชากรจะเป็นแนวตามถนนสายหลักไปถึงแค่อำเภอดอยหล่อและจอมทองเท่านั้น

..........................................................................................................................................................................

เมื่อความหนาแน่นของประชากรอาจจะทำให้เห็นการกระจายตัวและกระจุกตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่ สำหรับนักภูมิศาสตร์เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบอื่นในพื้นที่แล้วจะเห็นปรากฏการณ์บางอย่างในพื้นที่ และเมื่อมองประชากรเป็นกลุ่มต่างๆ จะทำให้เห็นภาพของโอกาส อุปสรรค ผลกระทบ การป้องกัน การแก้ปัญหาและอื่นๆชัดขึ้น ทั้งนี้จะกล่าวต่อไปในตอนที่ 3

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS สำหรับเมืองขนาดใหญ่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์เบื้องต้น หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แนวคิดและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้144
เมื่อวานนี้501
สัปดาห์นี้2218
เดือนนี้10517
ทั้งหมด1196726
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com