สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ที่บอกว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของพื้นที่เป็นคำกล่าวที่กล่าวกันง่ายๆ ต่อๆกันมา วันนี้เลยลองหยิบข้อมูลประชากร (หาได้ทั่วไป) มาลองมองในมุมของนักภูมิศาสตร์ โดยตอน 1 กล่าวถึงจำนวนประชากรแต่ละอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ตอน 2 ลองนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่น การกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ตอน ๓ มองการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ...ซึ่งพบว่ามีอะไรสนุกๆ จากข้อมูลจริงภายใต้มิติของพื้นที่และเวลา

โครงสร้างประชากรจังหวัดเชียงใหม่จำแนกตามอายุ

จากข้อมูลประชากรแยกรายอายุของจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559 จำแนกตามช่วงอายุและจัดทำเป็นปิรามิดประชากร (Population pyramid) เพื่อทำให้เห็นจำนวน สัดส่วน ช่วงอายุของประชากรชายและหญิงของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า

ตาราง 1 ช่วงอายุประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

ภาพ 1 ปิรามิดประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

โครงสร้างทางอายุของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมจากปิรามิดประชากร พบว่าในปี พ.ศ. 2559 โครงสร้างทางอายุของประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีลักษณะเป็นแบบฐานแคบ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณากปิรามิดประชากรจังหวัดเชียงใหม่ย้อนหลังไป 5 ปี (พ.ศ. 2555) และย้อนหลังไป 10 ปี (พ.ศ. 2550) พบว่าโครงสร้างทางอายุก็เป็นแบบฐานแคบเช่นกัน ซึ่งแสดงว่าโครงสร้างทางอายุของประชากรจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไม่มาก คือจำนวนคนรุ่นใหม่จะค่อย ๆ น้อยลงกว่าคนรุ่นก่อน

 

 

 

ภาพ 2 ปิรามิดประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2555 และปี พ.ศ. 2550

 

 

ภาพ 3 ภาพซ้อนปิรามิดประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 และปี พ.ศ. 2559

 

 

เมื่อนำปิรามิดประชากรทั้ง 3 ปีมาซ้อนเปรียบเทียบกันเพื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า

 

1) ประชากรวัยเด็ก

 

ในปี พ.ศ. 2550 ประชากรวัยเด็กทั้งชาย-หญิงช่วงอายุ 10-14 ปีจะมีมากกว่าปี พ.ศ. 2559 อย่างเด่นชัด และจะลดลงมาจนกระทั้งปี พ.ศ. 2555 ประชากรวัยเด็กจะมีจำนวนเท่า ๆ กับ ปี พ.ศ. 2559

 

2) ประชากรวัยแรงงาน

 

ในปี พ.ศ. 2555 และ ปี พ.ศ. 2550 หรือเมื่อ 5 ปี และ 10 ปีย้อนหลังประชากรวัยแรงงานช่วงอายุ 15-19 ปีและช่วงอายุ 40-49 ปีทั้งชาย-หญิงจะมีจำนวนมากกว่าประชากรในปี พ.ศ. 2559 ช่วงอายุเดียวกัน ในขณะที่ปี พ.ศ. 2559 ประชากรช่วงอายุ 55-59 ปีจะมากกว่าจำนวนประชากรในปี พ.ศ. 2555 และ ปี พ.ศ. 2550 อย่างเด่นชัดเช่นกัน    

 

3) ประชากรสูงอายุหรือวัยชรา

 

ในปี พ.ศ. 2559 จำนวนประชากรสูงอายุหรือวัยชราจะเพิ่มขึ้น โดยพบว่าประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

 

4) สัดส่วนทางเพศ

 

เมื่อพิจารณาสัดส่วนเพศชาย-หญิงของประชากรจังหวัดเชียงใหม่จากปิรามิดประชากรทั้ง 3 ปี พบว่ามีจำนวนใกล้เคียงกัน หากคำนวณอัตราส่วนทางเพศของประชากรจังหวัดเชียงใหม่แล้วจะพบว่า

 

 

ตาราง 2 อัตราส่วนทางของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 และปี พ.ศ. 2559

 

 

อัตราส่วนทางเพศของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2559 มีสัดส่วนประชากรชาย 95 คน ในขณะที่ประชากรหญิง 100 คน ซึ่งไม่แตกต่างจากปี พ.ศ. 2555 ที่มีสัดส่วนประชากรชาย 96 คน ประชากรหญิง 100 คน เหมือนกับ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีสัดส่วนประชากรชาย 96 คน ประชากรหญิง 100 คนเช่นกัน  

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราส่วนทางเพศของประชากรจังหวัดเชียงใหม่เป็นช่วงอายุในแต่ละวัยแล้วจะพบว่า ในวัยเด็กสัดส่วนประชากรชายจะมากกว่าประชากรหญิง โดยจะมีสัดส่วนประชากรชาย 106 คน ในขณะที่ประชากรหญิง 100 คนทั้งในปี พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2550 ส่วนวัยแรงงานและวัยชราสัดส่วนประชากรชายกลับน้อยกว่าประชากรหญิง โดยจำนวนประชากรชายจะลดลงจากวัยเด็ก มาวัยแรงงานและวัยชราซึ่งจะมีลักษณะนี้ทั้งในปี พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2550

 

ประชากรรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2559

เมื่อพิจารณาประชากรเฉพาะในปี พ.ศ. 2559 ตามช่วงวัยเป็นรายอำเภอโดยเปรียบเทียบจำนวนประชากรแต่ละวัยเรียนทุกอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่แล้วจำแนกและแสดงเป็นแผนที่ ปรากฏข้อมูลดังนี้  

1) ประชากรก่อนวัยเรียน (0-5 ปี)

 

ภาพ 4 แผนที่จำนวนประชากรวัยก่อนเรียนรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

อำเภอที่มีประชากรก่อนวัยเรียนจำนวนมากกว่า 5,000 คน มี 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภออมก๋อย และอำเภอฝาง (เรียงลำดับจากมากมาน้อย)

 

2) ประชากรวัยเด็ก (0-15 ปี)

 

 

ภาพ 5 แผนที่จำนวนประชากรวัยเด็กรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

อำเภอที่มีประชากรวัยเด็กจำนวนมากกว่า 10,000 คน มี 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภออมก๋อย อำเภอฝาง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่อาย อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอจอมทอง (เรียงลำดับจากมากมาน้อย) โดยอำเภอเมือง มีประชากรวัยเด็กมากกว่า 20,000 คนเพียงอำเภอเดียว

3) ประชากรวัยเรียน (6-21 ปี)

 

ภาพ 6 แผนที่จำนวนประชากรวัยเรียนรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

อำเภอที่มีประชากรวัยเรียนจำนวนมากกว่า 10,000 คนมีถึง 9 อำเภอ โดยอำเภอพร้าว และอำเภอเมืองมีประชากรวัยเรียนถึง 74,791 คน 35,334 คน ตามลำดับ

4) ประชากรวัยแรงงาน (15-59 ปี)

 

ภาพ 7 แผนที่จำนวนประชากรวัยแรงงานรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

พบว่ามี 2 อำเภอที่มีจำนวนประชากรวัยแรงงานสูงกว่าอำเภออื่น คือ อำเภอฝางมีประชากรวัยแรงงานถึง 51,815 คน และอำเภอเมืองมีประชากรวัยแรงงานมากถึง 137,994 คน

5) ประชากรวัยชรา (60 ปีขึ้นไป)

ภาพ 8 แผนที่จำนวนประชากรวัยชรารายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

อำเภอที่มีประชากรวัยชราจำนวนมากกว่า 10,000 คนมี 6 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสันป่าตอง อำเภอฝาง อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอจอมทอง (เรียงลำดับจากมากมาน้อย) โดยอำเภอเมืองมีประชากรวัยชราสูงถึง 41,462 คน

6) ประชากรวัยพึ่งพิง (วัยเด็กรวมกับวัยชรา)

ภาพ 9 แผนที่จำนวนประชากรวัยพึ่งพิงรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

หากประชากรวัยพึงพิง (วัยที่ต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจต่อวัยที่เป็นผู้ผลิต) คือประชากรวัยเด็กรวมกับวัยชราแล้ว  จะพบว่ามี 7 อำเภอ คือ อำเภอฝาง อำเภอแม่ริม อำเภออมก๋อย อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่อาย และอำเภอจอมทอง ที่มีจำนวนประชากรวัยพึงพิงอยู่ในช่วง 20,000 – 30,000 คน ซึ่งมากกว่าอำเภออื่นอย่างเด่นชัด และมีอำเภอเมืองที่ประชากรวัยพึงพิงมากที่สุด คือ 69,847 คน

ภาพ 10 แผนที่สัดส่วนประชากรวัยเด็ก วัยชราและวัยพึ่งพิงรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนประชากรวัยพึ่งพิงในอำเภอรอบนอกจะมีประชากรที่เป็นวัยเด็กมากกว่าวัยชรา ในขณะที่อำเภอเมืองและอำเภอที่ติดกับอำเภอเมืองจะมีประชากรวัยพึ่งพิงที่เป็นวัยชรามากกว่าวัยเด็ก

ตาราง 3 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 และปี พ.ศ. 2559

เมื่อประชากรวัยพึงพิงเป็นคือประชากรวัยเด็ก (อายุ 0 - 15 ปี) รวมกับวัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ซึ่งต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจต่อวัยที่เป็นผู้ผลิตหรือวัยแรงงาน (อายุ 15 - 59 ปี) แล้ว อัตราส่วนพึงพิงทางอายุของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2559 จะเท่ากับ 51 หมายความว่า มีประชากรในวัยที่ต้องพึ่งพิง 51 คนในทุก ๆ กลุ่มประชากรวัยทำงาน 100 คน ในขณะที่ย้อนไป 5 ปี (พ.ศ. 2555) และ 10 ปี (พ.ศ. 2550) จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรในวัยที่ต้องพึ่งพิง 44 - 45 คนในทุก ๆ กลุ่มประชากรวัยทำงาน 100 คนเท่านั้น และถ้าพิจารณาอัตราส่วนพึงพิงทางอายุของประชากรรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2559 จะปรากฏข้อมูลดังนี้

ภาพ 11 แผนที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559

พบว่าในจังหวัดเชียงใหม่มีเพียง 3 อำเภอ คือ อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง และอำเภอหางดงที่มีอัตราส่วนพึงพิงทางอายุน้อยกว่า 50 หรือมีประชากรในวัยที่ต้องพึ่งพิงน้อยกว่า 50 คนในทุก ๆ กลุ่มประชากรวัยทำงาน 100 คน และมี 3 อำเภอ คือ อำเภออมก๋อย อำเภอกัลยาณีวัฒนาและอำเภอแม่วาง มีอัตราส่วนพึงพิงทางอายุมากกว่าอำเภออื่น คือ มีประชากรในวัยที่ต้องพึ่งพิง 69 – 65 - 63 คนในทุก ๆ กลุ่มประชากรวัยทำงาน 100 คนตามลำดับ

เมื่อเห็นข้อมูลโครงสร้างประชากรจำแนกตามอายุของจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2550 – 2555 – 2559 และข้อมูลประชากรจำแนกตามช่วงวัยรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559 แล้ว สิ่งที่ต้องพิจาณาต่อคือ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ซึ่งคงจะเขียนต่อไปในตอนที่ 5

หมายเหตุ

แหล่งข้อมูลจำนวนประชากรแยกรายอายุจังหวัดเชียงใหม่นำมาจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (www.dopa.go.th) เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่นับรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอีก 6.8% ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง 1.3% และผู้ที่อยู่ระหว่างการย้ายซึ่งมีอยู่ประมาณ 0.2%)

 

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ราชบัณฑิตยสถาน (2549,258) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ว่า ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์....." แล้วเข้าใจข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ว่าอย่างไร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลักการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ตามแนวคิดและเทคนิควิธีการทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีมาตั้งแต่ดั่งเดิมจนมาถึงปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้2
เมื่อวานนี้524
สัปดาห์นี้1982
เดือนนี้7426
ทั้งหมด1193635
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 2

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com