ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

  เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น ผู้ผลิตต้องเข้าใจการนำเสนอสารสนเทศ (Information) ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ แน่นอนว่าสารสนเทศ (Information) คงไม่ใช่ ข้อมูลฐาน (Datum) อย่างเดียว การที่ผู้ผลิตจะทำให้ผู้ใช้เข้าใจและรับรู้ข้อเท็จจริงที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จะมีรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศได้ 4 วิธีหลัก ดังนี้

 1. Categories : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ โดยการจัดปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ (Feature) หรือสิ่งที่เหมือนกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น แสดงที่ตั้งสถานที่ราชการจำแนกเป็นประเภท สำนักงานเขต/อำเภอ หน่วยงานราชการ สถานีตำรวจ สถานที่ศึกษา  มหาวิทยาลัย ฯลฯ

2. Counts and Amounts : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลปรากฏการณ์เป็นกลุ่มๆ โดยการนับจำนวนรวมของปรากฏการณ์ทางพื้นที่ (Feature) หรือตามค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data เช่น แสดงค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ในแต่ละพื้นที่ โดยจำแนกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นข้อเท็จจริงได้ละเอียดขึ้น

3. Ranks : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลปรากฏการณ์เป็นกลุ่มๆ ตามลำดับ เช่น ความมาก-น้อย ความสูง-ต่ำ ความเข้ม-จาง ฯลฯ เช่น แสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ โดยจำแนกเป็นผลสรุปในแต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้อย มีความเสี่ยงปานกลาง และมีความเสี่ยงมาก-มากที่สุด

 

 4. Ratios : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลปรากฏการณ์เป็นกลุ่มๆ โดยนำความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ค่า มาเปรียบเทียบหรือกระทำต่อกัน เช่น

                 ค่าสัดส่วน เป็นการเปรียบเทียบโดยการหารกันของ 2 ค่า  

                 ค่าร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เป็นการเปรียบเทียบโดยคิดเป็นสัดส่วนของค่าร้อย

                ค่าเฉลี่ย เป็นการเปรียบเทียบระหว่างค่า2 ค่าที่เกิดจากการรวมค่าข้อมูลหารด้วยจำนวนรวมของปรากฏการณ์ทางพื้นที่ (Feature) ทั้งหมด