ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

Read more ...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    Read more ...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    Read more ...
     
  • ตามทฤษฎี วัฏจักรของการกัดกร่อนของ วิลเลียม มอร์ริส เดวิส หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำ

    Read more ...
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    Read more ...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    Read more ...
  • แผ่นดินถล่ม (Landslide) เป็นขบวนการเกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นดินและวัตถุต่าง ๆ บนพื้นดิน การเคลื่อนที่จะเคลื่อนบนพื้นที่ลาด

    Read more ...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    Read more ...
  • เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

    Read more ...
     
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    Read more ...

User Rating: 0 / 5

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

 เมื่อพิจารณากล่าวถึงคำว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเพียง "เทคนิควิธีการ" ในแนวคิดในการศึกษาภูมิศาสตร์แล้วนั้น การศึกษาทางด้านพื้นที่ผู้ใช้เครื่องมือ GIS ควรเข้าใจหลัก 3 ประการที่นักภูมิศาสตร์ศึกษาเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติเชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ และแนวคิดเชิงพื้นที่พื้นที่

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่คืออะไร

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่ : หากจะอธิบายคุณสมบัติเชิงพื้นที่ให้ชัดเจนสามารถอธิบายได้หลากหลายแง่มุมขึ้นอยู่กับการมุ่งประโยชน์ว่าจะอธิบายเพื่ออะไร สำหรับการอธิบายเพื่อนำไปประกอบกระบวนการทำงานในระบบ GIS ไม่ว่าจะในกระบวนการออกแบบฐานข้อมูล การรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล หรือการนำเอาข้อมูลไปใช้งานในด้านต่างๆ แล้ว สิ่งที่พบคือ คำที่บ่งบอกคุณสมบัติเชิงพื้นที่ซึ่งกลุ่มคำเหล่านั้นประกอบด้วย

 

1. Place : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกสถานที่ที่แสดงพื้นที่ที่กว้างขวาง

 

2. Location : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่

 

3. Node : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่แต่แสดงคุณสมบัติการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อ

 

4. Distance : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดที่เป็นความยาวหรือมีระยะทาง

 

5. Surface : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกลักษณะของพื้นผิว

 

6. Shape : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกรูปร่างของพื้นที่

 

7. Size : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดของพื้นที่

   

คำถามที่สำคัญคือ รู้ไปเพื่ออะไร

 หากจะตอบคงจะอธิบายได้ไม่ชัดเจนเท่ากับยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่อไปนี้

 - เมื่อพิจารณาแผนที่ท่องเที่ยวเราจะเห็น สนามหลวง ภูเขาทอง ถนนข้าวสาร ย่าน RCA ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เกาะภูเก็ต เกาะสิมิรัน เกาะช้าง หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ และอื่นๆ ในรูปแบบที่ตั้ง สำหรับนักภูมิศาสตร์ เมื่อศึกษาในขั้นตอนสำรวจ นำเข้าข้อมูล แสดงผลข้อมูลเป็นแผนที่ วิเคราะห์เพื่อคำนวณระยะทางและเวลาจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เราจะอ้างอิงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วยคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่เป็น Location ซึ่งเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่เท่านั้น

 

- เมื่อพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น Location ในรายละเอียดที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เช่น มีจุดสนใจทางธรรมชาติอะไรบ้าง เราอาจจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เป็น Place แทน

 

- เมื่อศึกษาในประเด็นการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ สนามหลวง ภูเขาทอง ก็อาจจะกลายเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Node แทน Location 

 

- เมื่อมองแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในรายละเอียด เช่น  หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Shape แทน Location

 

- เมื่อต้องการเดินเที่ยวในบางแหล่งท่องเที่ยว เช่น  ถนนข้าวสาร ย่าน RCA หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Distance แทน Location เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวมีพื้นที่เป็นแนวยาว

  

เมื่อทราบเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา หรือเมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูลในระบบ GIS ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จึงจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

 ...........................................................................................................................................................................   

 ตอนต่อไปเราจะเรียนรู้แนวคิดการศึกษาเชิงพื้นที่ของนักภูมิศาสตร์ในส่วนของปรากฏการณ์เชิงพื้นที่และแนวคิดเชิงพื้นที่ ต่อไป

  • ได้พูดคุยกับคนกรุงเทพแท้ๆ...ฟังเรื่องราววัยเด็ก เกร็ดความทรงจำเล็กที่น่าสนใจ...ใบหน้าที่ยิ้มแย้มบอกว่ามีความสุข

    Read more ...
     
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรุงเทพมหานครตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และทิศทางการนำมาใช้งานในอนาคต

    Read more ...
  • มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

    Read more ...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    Read more ...
     
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    Read more ...
  • การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจเทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ Classification Data รูปแบบต่างๆ รวมทั้งหลักการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่เบื้องต้น

    Read more ...