ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

Read more ...
  • ผักและผลไม้บ้านเรา ปลอดสารพิษ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี

    The fruits and vegetables grown in our home garden are free of toxins and are grown without the use of chemical fertilizers. 

    Read more ...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    Read more ...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    Read more ...
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    Read more ...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    Read more ...
  • แผ่นดินถล่ม (Landslide) เป็นขบวนการเกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นดินและวัตถุต่าง ๆ บนพื้นดิน การเคลื่อนที่จะเคลื่อนบนพื้นที่ลาด

    Read more ...
     
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    Read more ...
  • สถิติและฐานข้อมูลสาหรับนักบริหาร (Statistics and database for administrators)สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหากล่าวถึงภาพรวมงานสถิติและขบวนการดำเนินงาน รวมถึงการนำไปใช้งานสำหรับการบริหารงานในทุกระดับ

    Read more ...
     
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    Read more ...

User Rating: 0 / 5

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

แผ่นดินถล่ม (Landslide) ภัยพิบัติในไทยที่มากับฤดูฝน

 แผ่นดินถล่ม (Landslide) เป็นขบวนการเกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นดินและวัตถุต่าง ๆ บนพื้นดิน การเคลื่อนที่จะเคลื่อนบนพื้นที่ลาดโดยอาจจะมีน้ำหรือความชื้นเป็นตัวหล่อลื่น ปรากฏการณ์แผ่นดินถล่มเป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นดินที่ถล่มตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเนื่องจากเกิดการเสียความสมดุลในการทรงตัว ทำให้มีการปรับตัวไหลลงมาตามแรงดึงดูดของโลก โดยทั่วไปแผ่นดินถล่มมักจะเกิดเวลามีฝนตกมากบริเวณภูเขา ซึ่งดินภูเขาต้องอุ้มนำไว้ ดินชั้นล่างมีการไหลซึมของน้ำช้ามาก ดินชั้นบนไม่เกาะกันเพราะอิ่มตัวด้วยน้ำ ประกอบกับมีความลาดเทในพื้นที่ระดับหนึ่งจึงจึงเกิดการพังหรือถล่มลงมา

 

การเกิดแผ่นดินถล่มจะประกอบด้วย 4 ลักษณะของการถล่มคือ

1.       การตก (Falls) เป็นการหลุดออกจากที่ชันสูงและตกลงมาเป็นก้อนหรือมวลขนาดใหญ่

2.       การล้มหรือคว่ำของมวล (Topples) เป็นการล้มคว่ำหรือหมุนม้วนไปข้างหน้าทั้งก้อน

3.       การไถล (Slides) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลไปบนผิวชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นผิวโค้ง ผิวเรียบ

4.       การไหล (Flows) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลตามแนวลาดชันโดยมีน้ำเป็นตัวช่วยให้เคลื่อน

ปัจจัยและองค์ประกอบการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินถล่ม ประกอบด้วย

1.       ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความลาดชัน ความยาวของความลาดชัน ระดับความสูงของพื้นที่

2.       ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา  เช่นองค์ประกอบของหินและดิน

3.       ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะมีผลต่อการปกคลุมพื้นดิน

4.       ลักษณะภูมิอากาศ เช่นปริมาณฝน

แนวทางการบรรเทาภัยจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

                   ตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์ การป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินถล่มสามารถจำแนกตามพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงภัยแตกต่างกันควรจะทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มทั้ง 4 ปัจจัยข้างต้น เทคนิคในการวิเคราะห์จะใช้แผนที่ที่แสดงจุดที่เกิดแผ่นดินถล่ม นำมาเปรียบเทียบโดยซ้อนทับกับแผนที่ที่แสดงปัจจัยการเกิดแผ่นดินถล่มเพื่อพิจารณารายละเอียดและวิเคราะห์ศักยภาพที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยที่จะทำให้เกิดแผ่นดินถล่มซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพื้นที่ที่เคยเกิดแผ่นดินถล่มเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคนิควิธีการด้านการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งาน ทำให้สามารถวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มได้ชัดเจนขึ้น

                   เมื่อรู้พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มในระดับต่าง ๆ แล้ว สามารถกำหนดแนวทางในการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่มได้โดยแยกเป็นมาตรการในแต่ละระยะดังนี้

มาตรการระยะยาวเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

1.       การกำหนดเขตการใช้ที่ดินอย่างชัดเจน

2.       การกำหนดกฎระเบียบและข้อกำหนดในการจัดการพื้นที่

3.       การจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินถล่ม

4.       การปลูกพืชคลุมดินที่เหมาะสม โตเร็ว

5.       การส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่ม

6.       การติดตามสถานการณ์ข่าวพยากรณ์อากาศ

 

มาตรการระยะสั้นหรือมาตรการเร่งด่วนเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

1.       การกำหนดเขตพื้นที่ที่เป็นอันตรายจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

2.       การวางมาตรการและกำหนดวิธีการจัดการพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

3.       เร่งดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

4.       จัดตั้ง อบรมและให้ความรู้แก่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย

5.       เร่งดำเนินการย้ายชุมชนที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มสูง

6.       หาวิธีหรือแนวทางในการจัดทำและติดตั้งระบบเตือนภัย

                               สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณที่เกิดแผ่นดินถล่มอยู่จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณที่เป็นภูเขา เมื่อฝนตกหนักเกิดการถล่มของดินน้ำจะพัดพาเอาดินเหล่านั้นไปตามลำน้ำ ร่องเขาออกสู่ปากแม่น้ำ ไหลลงสู่ที่ราบ สู่ชุมชนทำให้เกิดความเสียหาย  แผ่นดินถล่มจะพบชัดเจนและเกิดความเสียหายได้แก่บริเวณบริเวณภาคใต้  เช่น เมื่อวันที่ 5-6 .. 2518 ภูเขาถล่มที่ ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้บ้านเรือนพัง 85 หลัง เสียชีวิต 24 คน สูญหาย 35 คน และ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. – 4 ธ.ค. 2531 ที่ ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน  จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเขาถล่ม น้ำพัดพาเอาดิน ต้นไม้มากระแทกทับบ้านเรือนทำให้เสียหาย 2621 หลัง คนเสียชีวิต 236 คน สูญหาย 305 คน เป็นต้น

 

  • เพราะว่า กรุงเทพมหานครเป็นชื่อเฉพาะที่รับรู้ใน 2 สถานะ คือ ในสถานะของ เมืองกรุงเทพมหานครกับสถานะ หน่วยงานราชการท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร

    Read more ...
     
  • ได้พูดคุยกับคนกรุงเทพแท้ๆ...ฟังเรื่องราววัยเด็ก เกร็ดความทรงจำเล็กที่น่าสนใจ...ใบหน้าที่ยิ้มแย้มบอกว่ามีความสุข

    Read more ...

  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    Read more ...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    Read more ...
     
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    Read more ...
  • ปรากฏการณ์บนโลกมีทั้งที่กลมกลืนต่อเนื่องและแบ่งแยกชัดเจน การออกแบบในการสร้างและอธิบายให้เข้าใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่จำเป็นต้อง....

    Read more ...
     
  • ความจริงแล้ว...ระบบ GIS ในปัจจุบัน คือ แนวคิดการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่คู่กับข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ

    Read more ...
     
  • ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

    Read more ...
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    Read more ...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    Read more ...