ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

โครงการ BLIS เกิดจากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคซึ่งมีผลต่อการพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยงานท้องถิ่นได้ประสานงานกับกรมที่ดินและหน่วยงานสาธารณูปโภค ซึ่งประกอบด้วย การไฟฟ้านครหลวง หารประปานครหลวงและองค์การโทรศัพท์ จัดทำโครงการทดลองโดยนำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

 

5 หน่วยงานร่วมดำเนินการในพื้นที่ทดลอง 3 ตารางกิโลเมตร

 

ภาพหน้าจอแสดงพื้นที่ทดลองโครงการ BLIS (จากจอภาพ ARC/INFO 5.0)

เบื้องต้นได้จัดทำแผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ในเขตพระโขนง (ปัจจุบันเป็นเขตคลองเตย พื้นที่ประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร)  แล้วทดลองจัดทำระบบ GIS ในพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร โดยมีการพัฒนาโปรแกรมใช้งาน มีการจัดหาอุปกรณ์ เตรียมข้อมูล พัฒนาบุคลากรให้สามารถทำงานได้เต็มระบบ โดยหน่วยงานข้างต้นได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการจัดทำและใช้งานระบบข้อสนเทศที่ดินกรุงเทพมหานครร่วมกันเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ในการนี้กรุงเทพมหานครได้พิจารณาให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดทำแผนที่ฐานและสนับสนุนด้านวิชาการ และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศออสเตรเลียจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการ

                ในการดำเนินการโครงการมีการจัดทำแผนที่ฐานเชิงรหัสมาตราส่วน 1:1,000 โดยวิธีการสำรวจจากภาพถ่ายทางอากาศใช้ระบบพิกัด UTM รายละเอียดแผนที่ฐาน แบ่งชั้นข้อมูลเป็น 7 ชั้นข้อมูล (Layers) ได้แก่ 1) ชั้นข้อมูลแสดงอาคาร 2) ชั้นข้อมูลแสดงถนนและซอย 3) ชั้นข้อมูลแสดงคลอง แม่น้ำ 4) ชั้นข้อมูลแสดงเสาไฟฟ้า 5) ชั้นข้อมูลแสดงหัวดับเพลิง 6) ชั้นข้อมูลแสดงตู้พักคอดิน และ 7) ชั้นข้อมูลแสดง Manhole

ภาพหน้าจอแสดงข้อมูลแผนที่ฐาน 1:1,000 เมื่อย่อ-ขยายภาพ

ชุดอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ Workstation  6 เครื่อง โดยมี 1 เครื่อง เป็น File Server มี Digitizer 6 เครื่อง Color Electrostatic Plotter 1 เครื่อง Laser Printer 1 เครื่อง Line Printer 1 เครื่อง Pen plotter 1  เครื่อง Printer 4 เครื่อง PC 4 เครื่อง แต่ละเครื่องเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่าย โปรแกรม GIS ที่ใช้คือ ARC/INFO Version 5.0, Sun OS Version 4.0, FORTRAN 77 Version 1.2 และ

แผนผังการติดตั้งระบบ GIS ของโครงการ BLIS

หน่วยงานร่วมดำเนินการได้มีการฝึกอบรมบุคลากรการใช้งานระบบทั้งที่เป็น Hardware Software Network ในส่วนของ Software มีการฝึกอบรมและใช้งานจริงทั้ง Software ที่เป็น Operation Software (Unix), GIS Software (ARC/INFO), Utility Program (Text Editor และอื่น ๆ)

สมุดจดเก่า ๆ เมื่อครั้งที่อบรมในโครงการ BLIS

 

สำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบงานมีการสอนและปฏิบัติงานครบทุกขบวนการการวิเคราะห์ออกแบบระบบตั้งแต่ การศึกษาปัญหา โอกาสและเป้าหมาย การศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ความต้องการของระบบ การออกแบบระบบ การพัฒนา Software และเอกสาร การติดตั้ง ทดสอบและบำรุงรักษาระบบ การใช้งานและประเมินผลระบบ โดยแต่ละหน่วยงานได้มีการนำเข้าข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมตัวอย่าง ดังนี้

 

กรุงเทพมหานคร

1.  จัดเก็บและแสดงข้อมูลอาคาร เช่น เลขที่บ้าน ประเภทอาคาร วัสดุก่อสร้าง จำนวนชั้น การใช้ประโยชน์อาคาร ฯลฯ

แผนที่แสดงข้อมูลอาคารรายหลัง

 

2. จัดเก็บและแสดงข้อมูลถนน เช่น ชื่อถนน รหัสถนน ประเภทถนน ประเภทพื้นผิว ความกว้างพื้นผิว  เขตทาง ความกว้างทางเท้าด้านซ้าย-ขวา ความยาวถนน ฯลฯ

แผนที่มาตราส่วน 1:1,000 แสดงข้อมูลถนน (พิมพ์ด้วย Module Arc Plot โปรแกรม ARC/INFO 5.0)

 

3.  จัดเก็บและแสดงข้อมูลคลองใน กทม.

แผนที่ แสดงข้อมูลค่าน้ำเสียแต่ละคลอง (พิมพ์ด้วย Module Arc Plot โปรแกรม ARC/INFO 5.0)

 

4.  จัดเก็บข้อมูลด้านประชากรรายหลัง แสดงข้อมูลด้านประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

5.  จัดเก็บและแสดงข้อมูลท่อระบายน้ำ เช่น ชนิดท่อระบายน้ำ ความยาวท่อ ขนาดท่อ ความลึกจากระดับหัวถนน ความชัน วันที่ทำความสะอาดครั้งสุดท้าย

6.  จัดเก็บข้อมูลของโครงการ ของ กทม. โดยมีรายละเอียดโครงการ เช่น ชื่อโครงการ รหัสโครงการ วัตถุประสงค์ งบประมาณ ที่ตั้งโครงการ แผนผังโครงการ เนื้องาน ฯลฯ

ภาพหน้าจอแสดงตำแหน่งที่ตั้งโครงการต่าง ๆ ของ กทม. พร้อมแผนผังประกอบ (จากจอภาพ ARC/INFO 5.0)

 

7.  จัดเก็บและแสดงข้อมูลพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกตามกฎหมายผังเมืองรวม

แผนที่ แสดงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกตามกฎหมายผังเมืองรวม (พิมพ์ด้วย Module Arc Plot โปรแกรม ARC/INFO 5.0)

 

8.  จัดเก็บและแสดงข้อมูลพื้นที่ควบคุมการก่อสร้างและการใช้ประโยชน์อาคารในกรุงเทพมหานคร

แผนที่ แสดงพื้นที่ควบคุมการก่อสร้างและการใช้ประโยชน์อาคาร (พิมพ์ด้วย Module Arc Plot โปรแกรม ARC/INFO 5.0)

 

9.     พัฒนาโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เพื่ออำนวยความสะดวกในแต่ละขั้นตอนการทำงาน เช่น โปรแกรมการนำเข้าแก้ไขข้อมูล โปรแกรมผสมค่าของสีเพื่อแสดงสีและรหัสสีใช้สำหรับจอภาพและพิมพ์แผนที่ ฯลฯ

พัฒนา Tablet Menu ใช้แทนแทนคำสั่งควบคุมการทำงานของ Digitizer

10.  จัดทำโปรแกรมทดลอง การตรวจสอบพื้นที่ที่ขออนุญาตใช้ประโยชน์เพื่อกิจการอื่น ตามที่กฎหมายผังเมืองรวมอนุญาตให้  โดยมีขั้นตอนของโปรแกรมโดยสรุป ดังนี้

10.1      ประชาชนยื่นขออนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่

10.2      จากใบขออนุญาตฯ นำเข้าข้อมูลเลขที่โฉนดที่ดิน ประเภทการใช้ที่ดินและพื้นที่ที่ขออนุญาต (โปรแกรมจะตรวจสอบตำแหน่งบริเวณที่ขออนุญาต)

10.3      โปรแกรมจะส่งข้อมูลตำแหน่งไปที่ชั้นข้อมูลผังเมืองรวมเพื่อตรวจสอบว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ใน Zone และ Block ที่เท่าไรของผังเมืองรวม

10.4      โปรแกรมเรียกข้อมูลข้อกำหนดและข้อบังคับตามผังเมืองรวม แล้วทำการตรวจสอบการขออนุญาต

10.5      หากไม่ขัดต่อข้อกำหนดและข้อบังคับตามผังเมืองรวม โปรแกรมจะคำนวณพื้นที่การขออนุญาต และแจ้งผลเบื้อต้นเพื่อให้นำข้อมูลไปตรวจสอบกับกฎหมายอื่นต่อไป

10.6      หากขัดต่อข้อกำหนดและข้อบังคับตามผังเมืองรวม โปรแกรมจะรายงานผลข้อกฎมายที่เป็นข้อกำหนดและข้อบังคับตามผังเมืองรวม

 

 

 

 

 

11.  จัดทำโปรแกรมทดลอง การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขบวนการโดยสรุปจะประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

11.1      โปรแกรมตรวจสอบการใช้ประโยชน์อาคารทุกหลังและแยกประเภทเป็นการใช้ประโยชน์อาคารที่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่เกิดรายได้ หรือการใช้ประโยชน์อาคารที่ก่อให้เกิดรายได้แต่ได้รับการยกเว้น เช่น โรงเรียนรัฐบาล โรงพยาบาลรัฐ ฯลฯ

11.2      โปรแกรมจะแสดงอาคารที่อยู่ในพิกัดภาษี(ต้องยื่นชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน)และไม่อยู่ในพิกัดภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์อาคาร

11.3      สำหรับอาคารที่อยู่ในพิกัดภาษีโปรแกรมจะจัดทำแบบหนังสือติดตามการยื่นชำระภาษีโดยส่งให้ผู้ครอบครองหรือเป็นเจ้าของอาคารตามเลขที่อาคารที่ปรากฏในแผนที่

11.4      ภายหลังการยื่นชำระภาษีตามเวลาที่กำหนด โปรแกรมจะตรวจสอบรายการผู้ที่ยื่นชำระภาษีและค้างการยื่นชำระภาษีเพื่อติดตามจัดเก็บ โดยจะแสดงเป็นรายงานและแบบหนังสือติดตามการยื่นชำระภาษี

 

11.   จัดทำโปรแกรมทดลอง การจัดเก็บภาษีป้าย ขบวนการโดยสรุปจะมีลักษณะเช่นเดี่ยวโปรแกรม การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน แต่โปรแกรมจะแสดงตำแหน่งป้ายโฆษณา ประเภทของป้าย โดยจะติดตามจัดเก็บภาษีจากข้อมูลผู้ครอบครองที่ดินตามตำแหน่งโฉนดที่ดินหรือเลขที่อาคารที่ตั้งป้าย

ภาพหน้าจอแสดงประเภทป้ายโฆษณาบนอาคาร (จากจอภาพ ARC/INFO 5.0)

 

13.  จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การดูแลซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ โดยนำข้อมูลของระบบของไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ มาพิจารณาเมื่อต้องขุดเจาะในพื้นที่ต่างๆ เช่น บนทางเท้าและเกาะกลางถนน

14.  จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การเวนคืนดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ ขบวนการโดยสรุปจะประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

14.1      ทดลองลากเส้นเชื่อมถนนเพื่อเป็นเส้นทางลัด กำหนดความกว้างของถนนที่ตัดใหม่

14.2      โปรแกรมจะทำการสร้างถนนที่มีความกว้าง (Buffer ขนานถนนตามแนวเส้นที่กำหนด) ซึ่งจะได้ขอบเขตพื้นที่ถนน

14.3      โปรแกรมจะนำขอบเขตพื้นที่ถนนมาเป็นแนวพื้นที่ที่ต้องเวนคืน โดยจะนำไปซ้อนทับกับข้อมูลของหน่วยงานได้แก่ ข้อมูลอาคาร ระบบของไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์โฉนดที่ดินของกรมที่ดิน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ฯลฯ

14.4      ในบริเวณที่ซ้อนทับกัน ให้โปรแกรมคำนวณสิ่งที่อยู่ในบริเวณที่เวนคืนด้วย Overlay  Technique

14.5      โปรแกรมคำนวณสิ่งที่อยู่ในแนวเวนคืนและคำนวณค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน เคลื่อนย้าย หรือเวนคืนตามกฎหมายกำหนด โดยจะคำนวณที่ละชั้นข้อมูลและทุกชั้นข้อมูล

14.6      โปรแกรมสามารถกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่ต้องเวนคืนใหม่เพื่อเลือกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดหรือพื้นที่ที่ต้องเวนคืนเป็นทางเลือกใหม่ได้

 

 

 

ภาพหน้าจอแสดงตัวอย่างแนวเส้นทางที่ลากเชื่อมถนน 2 เส้น (จากจอภาพ ARC/INFO 5.0 เขียนด้วยโปรแกรม AML)

 

แผนที่ แสดงแนวถนนตัดใหม่ที่ต้องเวนคืน 3 แนวทางเลือกพร้อมข้อมูลการคำนวณค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน เคลื่อนย้ายและเวนคืน (พิมพ์จากจอภาพ ARC/INFO 5.0 เขียนด้วยโปรแกรม AML)

การไฟฟ้านครหลวง

1.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลตำแหน่งเสาไฟฟ้าและอุปกรณ์บางประเภทที่ติดตั้งบนเสาไฟฟ้า เช่น ที่ตั้งเสาไฟฟ้า หมายเลขเสา ความสูง ชนิดเสา ปีที่ติดตั้ง

2.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลดวงโคมไฟฟ้าสาธารณะ เช่น รหัสเสาไฟฟ้าที่ติดตั้ง เบอร์ดวงโคม ประเภทดวงโคม ขนาด watt อายุการใช้งาน ประเภท Switch ฯลฯ

3.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลสายไฟฟ้าแรงสูง เช่น ชนิดของสาย ขนาดของสาย หมายเลขสาย Feeder เป็นต้น

4.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลสายไฟฟ้าแรงต่ำ เช่น ชนิดของสาย จำนวนและขนาดของสาย Station เป็นต้น

5.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลเครื่องวัดไฟฟ้า เช่น บ้านเลขที่ที่ติดตั้ง หมายเลขมิเตอร์ ชื่อผู้ใช้ไฟ ประเภทผู้ใช้ไฟ วัน/เดือน/ปีที่ติดตั้ง จำนวนแอมแปร์ ฯลฯ

6.             จัดทำโปรแกรมทดลอง การวางแผนบำรุงรักษาเกี่ยวกับโคมไฟสาธารณะ

7.             จัดทำโปรแกรมทดลอง การบริการลูกค้าในกรณีลูกค้ามาขอใช้ไฟ

8.             จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การนำข้อมูลหน่วยงานอื่นมาประกอบการพิจารณาปักเสาไฟฟ้า เช่น ระยะ Offset ระยะความลึก เป็นต้น

ภาพหน้าจอแสดงข้อมูลการใช้ไฟ (จากจอภาพ ARC/INFO 5.0)

การประปานครหลวง

1.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลพื้นที่การจ่ายน้ำของการประปานครหลวง

2.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลตำแหน่งเส้นท่อประปาและรายละเอียด เช่น หมายเลขท่อ ขนาดท่อ ชนิดท่อ ความลึก ลักษณะผิวจราจร ระยะ Offset อุปกรณ์ที่ติดต่ออยู่กับท่อ ข้อมูลภาพขยายรูปตัดขวางของแนวท่อประปาในแต่ละเส้นทางฯลฯ

3.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลตำแหน่งอุปกรณ์ท่อ เช่น ชนิดอุปกรณ์ หมายเลข ขนาด ความลึก หมายเลขท่อ ฯลฯ

4.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลรายละเอียดผู้ใช้น้ำ เช่น เลขที่บ้าน หมายเลขประจำตัวผู้ใช้น้ำ ขนาดมาตร ยี่ห้อมาตร ฯลฯ

5.             จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การตรวจสอบแนวท่อประปากับสาธารณูปโภคอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งเสาไฟฟ้า แนวท่อระบายน้ำของ กทม.

6.             จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การนำข้อมูลโฉนดที่ดินมาประกอบการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในกรณีมีการวางท่อผ่านแนวกรรมสิทธิ์ หรือการเวนคืนที่ดิน

7.             จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การนำข้อมูลอาคารมาประกอบการพิจารณาข้อมูลผู้ใช้น้ำ เช่น การใช้ประโยชน์อาคารกับปริมาณน้ำที่ใช้ เป็นต้น

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

1.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลอาคารที่ติดตั้งโทรศัพท์และขอติดตั้งโทรศัพท์ เช่น ข้อมูลผู้เช่าโทรศัพท์ หมายเลขโทรศัพท์ ปีที่ติดตั้ง ชื่อชุมสาย ฯลฯ

2.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลสายโทรศัพท์ เช่น ชุมสายโทรศัพท์ ประเภทของสาย ชนิดของสาย จำนวนคู่สาย ขนาดของลวดนำ ความยาวของสาย วันที่เริ่มใช้งาน ฯลฯ

3.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลข่ายสายโทรศัพท์และตู้พักสายปลายทาง เช่น ชื่อชุมสาย หมายเลขตู้พัก ชนิดตู้พัก ขนาดตู้พัก คู่สายที่ต่อเข้า ฯลฯ

4.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลแนวเสาไฟฟ้าและเสาโทรศัพท์ เช่น ความสูงของเสา วัสดุที่ใช้ทำเสา หมายเลขตู้ผ่าน ฯลฯ

5.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลแนวท่อร้อยสายโทรศัพท์และตำแหน่งบ่อพักสาย

6.             จัดทำโปรแกรมทดลอง การหาตำแหน่งบ้านผู้เช่าโทรศัพท์ การตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบ เป็นต้น

กรมที่ดิน

1.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลแผนที่ระวางกรมที่ดินในระบบพิกัด UTM

2.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลแปลงที่ดิน เช่น เลขที่ดิน โฉนดเลขที่ หน้าสำรวจ ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ สำนักงานที่ดินรับผิดชอบ เนื้อที่ ฯลฯ

3.             จัดเก็บและแสดงข้อมูลราคาประเมินรายแปลง  การจำแนกกลุ่มราคาที่ดิน

4.             จัดทำโปรแกรมทดลอง การตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในแปลงที่ดินที่นำมาจดทะเบียน

5.             จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การนำแผนที่อาคาร และแผนที่ถนนมาพิจารณาความสัมพันธ์กับรูปแปลง

6.             จัดทำโปรแกรมทดลองการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยใช้ข้อมูลและแผนที่อาคาร ถนนและระบบสาธารณูปโภคประกอบการประเมินราคาที่ดินและวิเคราะห์ราคาทรัพย์สิน

สิ้นสุดโครงการ BLIS

โครงการได้สิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 2535 หน่วยงานที่ร่วมโครงการยายามเจรจาทำข้อตกลงเพื่อดำเนินการร่วมกัน แต่ติดด้วยเงื่อนไขเวลาดำเนินการ งบประมาณที่ต้องลงทุนในพื้นที่ที่ไม่เท่ากัน ข้อมูลที่ต้องใช้ละจัดทำที่แตกต่างกันและอื่น ๆ ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมชุดต่าง ๆ ต้องใช้เวลานานทำให้หน่วยงานต่างต้องแยกย้ายดำเนินการกันไปก่อน

สำหรับกรุงเทพมหานครมีข้อสรุปว่าจำเป็นต้องนำอาระบบ GIS มาใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการเมือง ในขณะที่หน่วยงานสาธารณูปโภคต่างก็นำเอาระบบ GIS ไปใช้งาน หน่วยงานที่ขยายผลและนำไปใช้ได้อย่างเด่นชัดคือ การไฟฟ้านครหลวง นำไปเก็บข้อมูลขยายครอบคลุมพื้นที่บริการและมาประยุกต์ใช้งานบริการลูกค้า

การจัดทำระบบ GIS อย่างมีมาตรฐาน ออกแบบและจัดทำเอกสารประกอบทั้งที่เป็น Hard Copy และ Soft Copy

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ร่วมดำเนินการโครงการโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติซึ่งได้รับประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้นับการฝึกอบรมและปฏิบัติงานจนมีความรู้ GIS อย่างเต็มระบบและเป็นมาตรฐานทุกขั้นตอนตั้งแต่ภาพรวมการวางแผน วางระบบ การเข้ารับฝึกอบรมการใช้โปรแกรมและข้อมูล การติดตั้งระบบ การจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโปรแกรม การผลิตงานผลงานจนกระทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ