มาเล่นสงกรานต์ถึงเชียงใหม่ คิดถึงวันเก่า ๆ ที่ใส่เสื้อม่อฮ่อมเล่นสาดน้ำรอบเมือง

Songkran festival in Chiang Mai, reminiscing about the old days when we wore the traditional 'moh hom' shirt, splashing water around the city.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • บทสรุป : ภูมิศาสตร์ศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ที่มาระบบ GIS หากเข้าใจก็..ไม่ต้องเรียกหลายคำให้สับสน  

หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วจะพบว่าเป็นการเปลี่ยนขบวนการการจัดทำแผนที่โดยมือเป็นทำโดยคอมพิวเตอร์เท่านั้น

เมื่อเข้าใจว่าระบบ GIS เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมากระทำกับข้อมูลแผนที่ (Graphic) และข้อมูลประกอบแผนที่ (Non Graphic) โดยมีขบวนการซ้อนทับข้อมูลเป็นชั้นๆ (Layers) มีการวิเคราะห์ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลจากการคำนวณผลการซ้อนทับข้อมูลนั้นๆ

จริงๆ แล้ว....แต่ดั่งเดิมนักภูมิศาสตร์ทั่วไปก็มีการจัดทำขบวนการดังกล่าวมาตลอด

ในสมัยที่เรียนภูมิศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการทำ GIS ด้วยมือโดยสร้างชั้นข้อมูลหรือแผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic map) จากการนำเอาแผนที่ภูมิประเทศ (แผนที่ประเทศไทย 1: 50,000 จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร) มาวางเป็นพื้นฐานแล้วนำกระดาษลอกลาย (Tracing paper) มาเขียนสัญลักษณ์ข้อมูลแต่ละเรื่องซ้อนทับอ้างอิงแผนที่ภูมิประเทศนั้น โดยแผนที่เฉพาะเรื่องจะเป็นตำแหน่ง (เช่น ตำแหน่งสถานที่ท่องเทียวประเภทต่างๆ ตำแหน่งบ่อน้ำบาดาล) เป็นเส้นทาง (เช่น เส้นทางเดินของช้างป่า เส้นทางส่งสินค้าประเภทต่างๆ) เป็นพื้นที่ (เช่น พื้นที่ประเภทการใช้ที่ดิน พื้นที่ประเภทดิน พื้นที่แหล่งแร่ประเภทต่าง ๆ) นอกจากนี้ยังมีการสร้างแผนที่เฉพาะเรื่องต่อยอดจากข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศได้อีก เช่น แผนที่พื้นที่ความลาดชันที่สร้างต่อยอดจากข้อมูลเส้นชั้นความสูง แผนที่กลุ่มการใช้ที่ดินประเภทพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร พื้นที่ชุมชน เป็นต้น

 

จากข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เฉพาะเรื่องที่จัดทำบนกระดาษลอกลาย (Tracing paper) เรานำข้อมูลดังกล่าวมาซ้อนทับครั้งละ 2 ชั้นข้อมูลแล้วมองผ่านกระดาษลอกลายซึ่งโปร่งแสง โดยจะเห็นสัญลักษณ์ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชั้นข้อมูล ทั้งนี้ข้อมูลแผนที่เฉพาะเรื่องคือตัวแปรที่ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผล เช่น

เมื่อแผนที่พื้นที่ความลาดชัน (ตัวแปรที่ 1) ซึ่งแบ่งเป็น

พื้นที่ความลาดชัน 0 – 8 %

พื้นที่ความลาดชัน 8 – 16 %

พื้นที่ความลาดชัน 16 – 35 %

พื้นที่ความลาดชัน > 35 %

เมื่อนำมาซ้อนทับกับ แผนที่พื้นที่ลุ่มน้ำ (ตัวแปรที่ 2) ซึ่งแบ่งเป็น

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4

และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 5

            มองผ่านกระดาษลอกลายจะเห็นการซ้อนทับกันของ พื้นที่ความลาดชัน 0 – 8 % ที่ซ้อนทับกับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หรืออาจจะซ้อนทับไม่ครบทั้ง 5 ประเภท

            ในขณะที่พื้นที่ความลาดชันประเภทอื่นก็จะซ้อนทับกับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นต่างๆในลักษณะเดียวกัน

            การซ้อนทับของแผนที่เฉพาะเรื่องทั้ง 2 ชั้นจะทำให้เกิดประเภทข้อมูลแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากความสัมพันธ์เปรียบเทียบของตัวแปรที่ 1 กับตัวแปรที่ 2 ซึ่งเป็นเงื่อนไขการวิเคราะห์ โดยผลที่ได้จากการเปรียบเทียบจะนำมาวัดค่าของข้อมูลที่เกิดใหม่ทั้งที่เป็น ค่าพิกัดตำแหน่ง (อ่านค่าจากพิกัด UTM) ค่าความยาวของระยะทาง (วัดระยะแล้วนำมาเทียบกับมาตราส่วน) ค่าพื้นที่ซึ่งมีวิธีวัดหลายวิธีทั้งการนับ Dot Grid หรือการคำนวณพื้นที่ตามอื่นๆ (เขียนไว้ในบทความการวัดพื้นที่แบบโบราณ)

 จากข้อมูลการซ้อนทับทีละคู่ (ตัวแปรที่ 1 ซ้อนทับกับตัวแปรที่ 2, ตัวแปรที่ 3 ซ้อนทับกับตัวแปรที่ 4, ตัวแปรที่ 5 ซ้อนทับกับตัวแปรที่ 6...) แล้วนำมาซ้อนทับเปรียบเทียบกันเรื่อยๆ จนมีการซ้อนทับเปรียบเทียบกันครบทุกตัวแปร จะทำให้เห็นผลการวิเคราะห์ทั้งในเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่และเชิงปริมาณ และนักภูมิศาสตร์จะอ่านค่าแล้ววิเคราะห์อธิบายความในเชิงพรรณนาต่อไป

 จะพบว่าโดยความจริงแล้ว...แนวคิดการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณซึ่งภายหลังนำมาเอาระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจัดทำแผนที่และซ้อนทับเปรียบเทียบข้อมูลจนกลายมาเป็นระบบ GIS ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการบัญญัติศัพท์เป็นคำใหม่ (Geographic information  system : U.S. terminology, Geographical information system : European terminology, Geomatique : Canadian terminology, Geoscience, Spatial information system, Geo-Information ) ตามความต้องการแล้วให้นิยามกันต่างๆ นานาก็ตาม สุดท้ายแล้ว ที่มาจริงๆของแนวคิดนี้ก็คือ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่คู่กับข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ

อย่างไรก็ตาม หากมีการศึกษาข้อมูลการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหลายๆ วิชาที่สอนและเกี่ยวข้องกับ GIS แล้ว จะพบว่าผู้สอนและผู้เรียน GIS มีความเข้าใจเบี่ยงเบนไปในทิศทางของ เทคโนโลยีมากกว่า ภูมิศาสตร์ ถึงแม้คำว่าระบบ GIS จะมีคำว่า Geographic เป็นองค์ประกอบหลักก็ตาม ผลผลิตจากการเรียนที่ได้รับคือ นักศึกษาได้เรียนรู้ Function การทำงานของโปรแกรมมากกว่าการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่ควบคู่กับข้อมูลเชิงปริมาณ

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
     

  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    การนำข้อมูลในระบบ GIS ที่เป็น Attribute data มาแสดงผลให้เห็นเป็นภาพในแผนที่ สามารถแสดงได้ 4 รูปแบบ คือ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ข้อมูลในระบบ GIS มีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภทหลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างข้อมูลใหม่ควรเข้าใจว่ากลุ่มข้อมูล GIS มีอยู่ 3 กลุ่มข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 6 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้383
เมื่อวานนี้530
สัปดาห์นี้1839
เดือนนี้7283
ทั้งหมด1193492
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com