ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สถิติและฐานข้อมูลสาหรับนักบริหาร (Statistics and database for administrators)สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหากล่าวถึงภาพรวมงานสถิติและขบวนการดำเนินงาน รวมถึงการนำไปใช้งานสำหรับการบริหารงานในทุกระดับ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี นักภูมิศาสตร์จึงทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนและผู้ประสานงาน

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 สิ่งที่ต้องเข้าใจ...เมื่อสร้างชั้นข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งของแผนที่ฐาน (Base Map) ในระบบ GIS

ภายหลังที่อ่านบทความ การกำหนด Feature Type กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ มาตราส่วนของแผนที่ฐานทำให้รู้จักคำว่า แผนที่ฐาน (Base Map) ซึ่งในการจัดทำแผนที่ในสมัยโบราณแผนที่ฐานก็คือแผนที่ภูมิประเทศซึ่งแสดงข้อมูลลักษณะทางกายภาพ (Physical) และข้อมูลที่เป็นจินตภาพ (Mental Picture ) ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทางน้ำ  ถนน เส้นชั้นความสูง เขตปกครอง โดยแผนที่ฐานจะเป็นภาพสัญลักษณ์ตำแหน่ง เส้นหรือพื้นที่ที่ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งสำหรับการสร้างข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปกติจะเป็นการวาดซ้อนทับแผนที่ฐาน

 

ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS โดยขบวนการ Head up digitize หรือ การถ่ายโอนข้อมูลค่าพิกัดจากไฟล์หรือเครื่องมืออื่นใดก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐานที่จะนำไปใช้งานต่อ โดยเฉพาะการใช้งานในการวัด การค้นหาหรือการคำนวณตำแหน่ง ระยะ หรือพื้นที่ก็ตาม เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้นที่จัดทำแผนที่ฐานนั้น ๆ เช่น

 

เมื่อต้องการจัดเก็บข้อมูลอาคารที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร 50 หลัง (พื้นที่อาคาร 10,000 ตารางเมตร) ลงพื้นที่ว่างในระบบ GIS หากแต่ไม่รู้ว่าแผนที่ฐานที่อยู่ในระบบ GIS มาจากแผนที่มาตราส่วนเท่าไร

วิธีการอาจจะขยายพื้นที่ว่างในระบบ GIS แล้วภาพถ่ายทางอากาศมาตรึงในพื้นที่ว่างนั้น แล้วจึงวาดขอบเขตอาคารซ้อนทับลงไป หรือถ้าไม่มีภาพถ่ายทางอากาศ อาจจะใช้การ Digitize ขอบเขตอาคารซ้อนทับโดยอ้างอิงตำแหน่งใกล้เคียงแบบ หรือหากทำการสำรวจข้อมูลในพื้นที่มาแล้วอาจจะทำการ Digitize ขอบเขตอาคารซ้อนทับโดยวัดระยะเทียบกับระยะในระบบ GIS (อ่านรายละเอียดในหัวข้อ การจัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ GIS”)

 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วนเล็กความคลาดเคลื่อนจะสูงแต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถขยายได้ละเอียดมากจนสามารถวาดหรือ Digitize ขอบเขตอาคารในพื้นที่ว่างได้ แต่ข้อมูลจะผิดพลาดเมื่อนำไปใช้งาน เช่น

หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วน 1 : 50,000 หมายความว่าการนำเข้าข้อมูลแผนที่ฐานครั้งแรกด้วยวิธี Digitize ข้อมูลแผนที่กระดาษ ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม หรือขบวนการ Vectorization หรือขบวนการอื่นใดก็ตาม ความคลาดเคลื่อนตามระบบหรือคลาดเคลื่อนโดยมนุษย์ย่อมเกิดขึ้นเสมอ หากคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ถูกต้องไป 1 มิลลิเมตร หมายถึง คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งจริงบนพื้นโลกไป 50,000 มิลลิเมตร หรือ 50 เมตร ซึ่งกว้างใหญ่กว่าอาคารหนึ่งหลัง หากแผนที่ฐานในระบบ GIS เป็นมาตราส่วน 1 : 10,000 คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ถูกต้องไป 1 มิลลิเมตร หมายถึง คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งจริงบนพื้นโลกไป 10,000 มิลลิเมตร หรือ 10 เมตร ซึ่งก็ยังผิดพลาดมาก แต่ในระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถขยายแผนที่และวาดภาพข้อมูลลงไปในพื้นที่ว่างได้

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้518
เมื่อวานนี้539
สัปดาห์นี้1990
เดือนนี้19435
ทั้งหมด1184820
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 7

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com