ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 เมื่อพิจารณากล่าวถึงคำว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเพียง "เทคนิควิธีการ" ในแนวคิดในการศึกษาภูมิศาสตร์แล้วนั้น การศึกษาทางด้านพื้นที่ผู้ใช้เครื่องมือ GIS ควรเข้าใจหลัก 3 ประการที่นักภูมิศาสตร์ศึกษาเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติเชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ และแนวคิดเชิงพื้นที่พื้นที่

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่คืออะไร

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่ : หากจะอธิบายคุณสมบัติเชิงพื้นที่ให้ชัดเจนสามารถอธิบายได้หลากหลายแง่มุมขึ้นอยู่กับการมุ่งประโยชน์ว่าจะอธิบายเพื่ออะไร สำหรับการอธิบายเพื่อนำไปประกอบกระบวนการทำงานในระบบ GIS ไม่ว่าจะในกระบวนการออกแบบฐานข้อมูล การรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล หรือการนำเอาข้อมูลไปใช้งานในด้านต่างๆ แล้ว สิ่งที่พบคือ คำที่บ่งบอกคุณสมบัติเชิงพื้นที่ซึ่งกลุ่มคำเหล่านั้นประกอบด้วย

 

1. Place : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกสถานที่ที่แสดงพื้นที่ที่กว้างขวาง

 

2. Location : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่

 

3. Node : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่แต่แสดงคุณสมบัติการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อ

 

4. Distance : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดที่เป็นความยาวหรือมีระยะทาง

 

5. Surface : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกลักษณะของพื้นผิว

 

6. Shape : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกรูปร่างของพื้นที่

 

7. Size : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดของพื้นที่

   

คำถามที่สำคัญคือ รู้ไปเพื่ออะไร

 หากจะตอบคงจะอธิบายได้ไม่ชัดเจนเท่ากับยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่อไปนี้

 - เมื่อพิจารณาแผนที่ท่องเที่ยวเราจะเห็น สนามหลวง ภูเขาทอง ถนนข้าวสาร ย่าน RCA ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เกาะภูเก็ต เกาะสิมิรัน เกาะช้าง หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ และอื่นๆ ในรูปแบบที่ตั้ง สำหรับนักภูมิศาสตร์ เมื่อศึกษาในขั้นตอนสำรวจ นำเข้าข้อมูล แสดงผลข้อมูลเป็นแผนที่ วิเคราะห์เพื่อคำนวณระยะทางและเวลาจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เราจะอ้างอิงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วยคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่เป็น Location ซึ่งเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่เท่านั้น

 

- เมื่อพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น Location ในรายละเอียดที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เช่น มีจุดสนใจทางธรรมชาติอะไรบ้าง เราอาจจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เป็น Place แทน

 

- เมื่อศึกษาในประเด็นการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ สนามหลวง ภูเขาทอง ก็อาจจะกลายเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Node แทน Location 

 

- เมื่อมองแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในรายละเอียด เช่น  หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Shape แทน Location

 

- เมื่อต้องการเดินเที่ยวในบางแหล่งท่องเที่ยว เช่น  ถนนข้าวสาร ย่าน RCA หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Distance แทน Location เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวมีพื้นที่เป็นแนวยาว

  

เมื่อทราบเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา หรือเมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูลในระบบ GIS ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จึงจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

 ...........................................................................................................................................................................   

 ตอนต่อไปเราจะเรียนรู้แนวคิดการศึกษาเชิงพื้นที่ของนักภูมิศาสตร์ในส่วนของปรากฏการณ์เชิงพื้นที่และแนวคิดเชิงพื้นที่ ต่อไป