อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  หลากหลายความเห็นจากนักภูมิศาสตร์และการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

ข้อมูลปรากฏการณ์ต่างๆที่พบในแผนที่ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นก็ตาม ผู้สร้างแผนที่จะออกแบบสัญลักษณ์เป็นรูปภาพ ตัวเลข ตัวอักษรเพื่อแสดงแทนปรากฏการณ์เหล่านั้น ซึ่งผู้ใช้แผนที่ต้องอ่านและแปลความข้อมูลเหล่านั้นจากการมองเห็นทางกายภาพและแปลความจากภูมิความรู้ที่มี อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้แผนที่ควรมีความรู้ในเรื่องพื้นฐานคือ ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก ซึ่งทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับมาตราส่วนแผนที่และเคยกล่าวไว้ในเรื่อง เส้นโครงแผนที่...สิ่งสำคัญต่อการอ่านและแปลความหมายในแผนที่การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 การอ่านค่าพิกัด UTM” และ ความสำคัญของขนาดมาตราส่วนแผนที่

โดยข้อเท็จจริงแล้ว นอกจากมาตราส่วนจะหมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย ตามที่เคยกล่าวไว้ในบทความเรื่อง มาตราส่วนแผนที่ แล้ว สำหรับภาพถ่ายทางอากาศเรายังสามารถหามาตราส่วนได้จากอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในภาพถ่ายทางอากาศกับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย หรือหามาตราส่วนได้จากการเปรียบเทียบระยะของความยาวโฟกัสของกล้องถ่ายภาพและความสูงของการบินถ่ายภาพ เช่น

-  หากระยะทางในภาพถ่ายทางอากาศ = 5 เซนติเมตร กับระยะทางในภูมิประเทศจริง = 300 เมตร มาตราส่วนของภาพถ่ายทางอากาศ

จะเท่ากับ 5 : 30,000 หรือ 1 : 6,000

            - หากกล้องถ่ายภาพมีความยาวโฟกัส = 6 นิ้ว เครื่องบินบินสูงจากระดับภูมิประเทศ 2,000 ฟุต มาตราส่วนของภาพถ่ายทางอากาศ

          จะเท่ากับ 0.5 : 2,000  หรือ 1 : 4,000 นั้นเอง

 

จากมาตราส่วนแผนที่บนแผ่นกระดาษและแผนที่ดิจิทัล ความจำเป็นที่ต้องเข้าใจก่อนนำไปใช้งานย่อมแน่นอนว่าการย่อส่วนปรากฏการณ์บนผิวโลกมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ย่อส่วนปรากฏการณ์ลงในแผนที่ให้เหมาะสมต่อการใช้งานแผนที่มาตราส่วนใหญ่-เล็ก เมื่อพิจารณาขนาดกว้าง-ยาวของแผ่นแผนที่ทั้งที่เป็นกระดาษและจอภาพคอมพิวเตอร์ Smart phone ฯลฯ สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ

1  เมื่อขนาดกว้างยาวของพื้นที่ที่แสดงแผนที่ (บนแผ่นกระดาษ จอภาพคอมพิวเตอร์ หรือ Smart phone) เท่ากันแล้ว แผนที่มาตราส่วนเล็กจะครอบคลุมพื้นที่หรือปรากฏการณ์บนผิวโลกได้กว้างกว่าแผนที่มาตราส่วนใหญ่

1.1 หากใช้แผนที่บนกระดาษกว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตร แสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หมายความว่า เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้กว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตร X 50,000 = 2,500,000 เซนติเมตร = 25 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 625 ตารางกิโลเมตร

ในขณะที่ใช้แผนที่บนกระดาษกว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตรเหมือนกันแสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:10,000 หมายความว่า เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้กว้างยาวด้านละ 50 เซนติเมตร X 10,000 = 500,000 เซนติเมตร = 5 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตร

1.2 หากใช้แผนที่บนจอภาพ Smart phone กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร แสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หมายความว่า เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้

กว้างด้านละ 8 เซนติเมตร X 50,000 = 400,000 เซนติเมตร = 4 กิโลเมตร

ยาวด้านละ 15 เซนติเมตร X 50,000 = 750,000 เซนติเมตร = 7.5 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตร

ในขณะที่ใช้หากใช้แผนที่บนจอภาพ Smart phone กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรเหมือนกันแสดงข้อมูลแผนที่มาตราส่วน 1:10,000 หมายความว่า 

เราสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้

กว้างด้านละ 8 เซนติเมตร X 10,000 = 80,000 เซนติเมตร = 800 เมตร

ยาวด้านละ 15 เซนติเมตร X 10,000 = 150,000 เซนติเมตร = 1.5 กิโลเมตร

หรือ แสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ครอบคลุมพื้นที่ 1.2 ตารางกิโลเมตร

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่าง ๆตามที่กฎหมายกำหนด งบประมาณหลักที่นำมาใช้ ได้จากการจัดเก็บภาษี 3 ประเภท คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจากวัยแรงงาน ภายใต้สภาวะประชากรวัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น "วัยแรงงาน" พร้อมจะเลี้ยงดูและดูแลกันอย่างไร 

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้299
เมื่อวานนี้627
สัปดาห์นี้926
เดือนนี้14517
ทั้งหมด1179902
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 6

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com