ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ข้อมูล แนวคิดและพลังการช่วยเหลือเด็ก ๆ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ที่บอกว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของพื้นที่เป็นคำกล่าวที่กล่าวกันง่ายๆ ต่อๆกันมา วันนี้เลยลองหยิบข้อมูลประชากร (หาได้ทั่วไป) มาลองมองในมุมของนักภูมิศาสตร์ โดยตอน 1 กล่าวถึงจำนวนประชากรแต่ละอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ตอน 2 ลองนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่น การกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ...ซึ่งพบว่ามีอะไรสนุกๆ จากข้อมูลจริงภายใต้มิติของพื้นที่และเวลา

อัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่

จากข้อมูลประชากรของจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559 มานำมาเปรียบเทียบกับประชากรทั่วประเทศและจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมากในประเทศไทยจะพบว่า

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลประชากรทั่วประเทศและจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมาก ปี พ.ศ. 2559

ในภาพรวม อัตราเกิด อัตราตาย และอัตราเพิ่มธรรมชาติของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่จะใกล้เคียงกับข้อมูลของประชากรทั่วประเทศ โดย

-          -  ประชากรทั่วประเทศจะมีการเกิดประมาณ 12 คนต่อ 1,000 คน ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่จะมีการเกิดประมาณ 11 คนต่อ 1,000 คน

-          - ประชากรทั่วประเทศจะมีการตายประมาณ 7 คนต่อประชากร 1,000 คน ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่จะมีการตายประมาณ 9 คนต่อประชากร 1,000 คน

-          - ประชากรทั่วประเทศจะมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติเท่ากับร้อยละ 0.34 ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่จะมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติเท่ากับร้อยละ 0.24

 - การย้ายถิ่นของประชากรในจังหวัดที่มีประชากรมากจะเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ในช่วงประมาณ 2 คนใน 1,000 คน ในขณะที่การย้ายถิ่นจังหวัดเชียงใหม่มีเพิ่มขึ้นสุทธิ 1 คนต่อประชากร 1,000 คน

- จังหวัดเชียงใหม่อัตราเพิ่มประชากรเท่ากับร้อยละ 1.34 ซึ่งคาดการณ์ว่าหากอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่เท่ากับร้อยละ 1.34 ไปเรื่อย ๆ จังหวัดเชียงใหม่จะมีประชากรเพิ่มอีกเท่าตัวในอีกประมาณ 52 ปี

ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2550 - 2559

 

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบข้อมูลประชากรจังหวัดเชียงใหม่ในแต่ละปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 จะพบว่าตั้งแต่ปี 2553 เรื่อยมาจำนวนประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


 

แผนภูมิที่ 1 แสดงจำนวนประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

แผนภูมิที่ 2 แสดงอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

ในขณะที่อัตราการเพิ่มประชากรก็จะลดลงเรื่อย ๆ เช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าอัตราการเพิ่มประชากรมีแนวโน้มที่จะไม่คงที่เท่ากับร้อยละ 1.34 และน่าจะลดลงไปเรื่อย ๆ

อัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่รายอำเภอ

          เมื่ออัตราเพิ่มประชากรเกิดจากอัตราเพิ่มธรรมชาติ +อัตราการย้ายถิ่นสุทธิ ซึ่งอัตราการเพิ่มธรรมชาติเป็นผลมาจากอัตราการเกิดและอัตราการตาย ซึ่งในระยะ 10 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559 ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการเกิดและอัตราการตายค่อนข้างจะคงที่ ทำให้อัตราการเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะค่อนข้างคงที่ไปด้วย

 

แผนภูมิที่ 3 แสดงอัตราเกิด อัตราตายและอัตราเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

และเมื่ออัตราการเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะค่อนข้างคงที่แล้ว การเปลี่ยนแปลงอัตราเพิ่มประชากรไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงย่อมจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเป็นหลัก

แผนภูมิที่ 4 แสดงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิ อัตราเพิ่มธรรมชาติ และอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

ในขณะที่ปี พ.ศ. 2559 อัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีค่าเท่ากับร้อยละ 1.34 แล้ว หากพิจารณาอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่รายอำเภอจะพบว่าจะมีทั้งอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงและต่ำกว่าร้อยละ 1.34 โดย

ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลประชากรจังหวัดเชียงใหม่รายอำเภอปี พ.ศ. 2559

ภาพที่ 1 แสดงอัตราเกิดประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

 

 

ภาพที่ 2 แสดงอัตราตายประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

พบว่าในปี พ.ศ. 2559 ประชากรของอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีอัตราเกิดสูงกว่าอำเภออื่นอย่างเด่นชัดมี 2 อำเภอ คือของอำเภอแม่ริมและอำเภอเมือง โดยมีอัตราเกิดสูงถึง 31 คนต่อประชากร 1,000 คน ในขณะที่อำเภอแม่ริมมีอัตราตายสูงด้วยเช่นกัน โดยมีอัตราตายสูงประมาณ 25 คนต่อประชากร 1,000 คน

ภาพที่ 3 แสดงอัตราเพิ่มธรรมชาติประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

อัตราเพิ่มตามธรรมชาติของทุกอำเภอจะแตกต่างกันน้อยมาก โดยพบว่า

- อำเภอที่มีอัตราเพิ่มธรรมชาติน้อยที่สุดคือ อำเภอดอยหล่อมีอัตราเพิ่มธรรมชาติร้อยละ -0.89 ซึ่งหมายความว่าอำเภอดอยหล่อมีอัตราตายมากกว่าอัตราเกิด

            - อำเภอที่มีอัตราเพิ่มธรรมชาติมากที่สุดคือ อำเภอเมืองมีอัตราเพิ่มธรรมชาติร้อยละ 1.84

ภาพที่ 4 แสดงอัตราเพิ่มประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

- มี 20 อำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 1.34 โดยมีถึง 5 อำเภอที่อัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 10 คือ อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอหางดงและอำเภอแม่ออน ตามลำดับ โดยอำเภอสันกำแพงจะมีอัตราเพิ่มประชากรสูงสุดถึงร้อยละ 24.56

- มี 4 อำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรต่ำกว่าร้อยละ 0 คือ อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอจอมทองและอำเภอฝางตามลำดับ

เมื่อข้อมูลอัตราเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 พบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราเพิ่มธรรมชาติค่อนข้างคงที่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงอัตราเพิ่มประชากรจึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเป็นหลัก และเมื่อพิจารณาอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอจะพบว่า

ภาพที่ 5 แสดงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559

- เมื่อพิจารณาอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอเฉพาะกลุ่มอำเภอที่อัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 10 จะพบว่าทั้ง 5 อำเภอคือ อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอหางดงและอำเภอแม่ออนมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิสูงด้วยเช่นกัน หมายความว่าทั้ง 5 อำเภอมีประชากรย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่มากกว่าการย้ายออก

     - เมื่อพิจารณาอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอเฉพาะกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรต่ำกว่าร้อยละ 0 จะพบว่าทั้ง 4 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอจอมทองและอำเภอฝางมีประชากรย้ายออกจากพื้นที่มากกว่าการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะอำเภอเมืองในปี 2559 มีประชากรลดลงสุทธิถึง 27 คนต่อประชากร 1,000 คน

ภาพที่ 6 แสดงความหนาแน่นประชากรรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559

- หากสังเกตข้อมูลกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 10 จะพบว่า นอกจากมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดแล้วยังเป็นกลุ่มอำเภอที่มีพื้นที่ที่ติดต่อกันและมีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าพื้นที่อื่นด้วย

- หากสังเกตข้อมูลกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรต่ำกว่าร้อยละ 0 แล้ว จะพบว่านอกจากมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิลดลงอย่างเด่นชัดแล้วยังเป็นกลุ่มอำเภอที่มีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าพื้นที่อื่นและมี 2 อำเภอคือ อำเภอเมืองและอำเภอแม่ริมที่มีพื้นที่ทีติดต่อกับกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงด้วย

 อย่างไรก็ตาม หากต้องการรู้ว่าการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่หรือการย้ายออกจากในพื้นที่ของประชากรแต่ละอำเภอเป็นการย้ายภายในจังหวัดเชียงใหม่หรือย้ายมาจากจังหวัดอื่น ประเทศอื่น จำนวนเท่าไร ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ที่สำนักบริการการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการบริหารราชการของภาครัฐ โดยเฉพาะการนำมาวางแผนจัดการพื้นที่ สาธารณูปโภค สาธารณูปการโดยเฉพาะการการเตรียมการ การป้องกัน การแก้ปัญหาเมื่อประชากรแต่ละกลุ่มที่มีการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่ต่างกันอพยพย้ายถิ่นเข้ามาใช้บริการในพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยขาดความรู้พื้นฐานทางด้านพื้นที่แล้ว ข้อมูลพื้นที่ที่ได้จากระบบสารสนเทศจะเชื่อถือได้อย่างไร หากกระจายข้อมูลเหล่านั้นออกไปจะเกิดอะไรขึ้น 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

    พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

    และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้105
เมื่อวานนี้501
สัปดาห์นี้2179
เดือนนี้10478
ทั้งหมด1196687
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com