สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เป็นรากฐานให้ศาสตร์อื่นๆ เป็นศาสตร์ที่สามารถผสมผสานแนวคิดศาสตร์อื่นๆ มาแสดงเป็นปรากฏการณ์ทางพื้นที่ได้ นักภูมิศาสตร์ใช้เทคนิคการสังเกต การอธิบายภาพความจริง ศึกษาปรากฏการณ์ที่มีความแตกต่าง หลากหลายในมิติของพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 เฝ้าระวังสภาพอากาศท้องถิ่น

หลังจากได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม..เลยบังอาจเสนอแนวคิดผ่าน มุมคิดมุมมอง ของผู้ได้รับผลกระทบเพราะเห็นว่าในท้องถิ่น ระดับจังหวัด น่าจะทำอะไรที่เกี่ยวกับการติดตามสภาพอากาศท้องถิ่นได้ระเอียดกว่าการคาดการณ์สภาพอากาศในพื้นที่ระดับภูมิภาคของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งโดยทั่วไปมักได้รับข่าวสารว่า พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงเกิดขึ้นได้ โดยมีลักษณะของฝนฟ้าคะนอง กับลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น...

แล้วยังไง? (คำถามพื้นๆแบบบ้านๆ)

หากมีการตั้ง War room ติดตาม เฝ้าระวังและเตือนภัยพายุฤดูร้อนในท้องถิ่นได้น่าจะดี....เพราะอย่างน้อยประชาชนควรจะมีโอกาสเตรียมพร้อมเก็บข้าวของ ดูแลป้องกันสวนผลไม้ เตรียมที่พัก น้ำ ไฟสำรองและอื่นๆ ....เหตุผลที่สนับสนุนว่าทำไมต้องมี War room ติดตาม เฝ้าระวังและเตือนภัยพายุฤดูร้อนในท้องถิ่น เพราะว่าจังหวัดมีหน่วยงานที่สามารถสั่งการและขอความร่วมมือได้มากมาย ทั้งที่เป็นองค์ความรู้ ประสบการณ์ของบุคลากร รวมทั้งมีทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้งานเพื่อภารกิจนี้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

จากข้อมูลพบว่าหน่วยงานที่จะเป็นขุมกำลังด้านวิชาการและปฏิบัติการซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนภารกิจ War room ติดตามสภาพอากาศโดยเฉพาะพายุฤดูร้อนในท้องถิ่นได้มีหลายหน่วยงานในจังหวัด เช่น   สำนักงานสถิติจังหวัด ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมซอฟแวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สาขา สำนักประชาสัมพันธ์เขต สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเกษตรจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง สำนักชลประทาน สถานีพัฒนาที่ดิน ศูนย์วิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัด สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ท้องถิ่นกลุ่มเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สถานศึกษา มหาวิทยาลัย ฯลฯ

แล้วจะให้ทำอะไรบ้าง ?

จากผังการบริหารจัดการระดับจังหวัดซึ่งมีการประชุมหน่วยงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อให้ความสำคัญโดยการตั้ง War room ติดตาม เฝ้าระวังพายุฤดูร้อนในท้องถิ่นแล้ว

สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ คือ

1. ศึกษา วิจัย : มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ ภาควิชา...มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาควิชา....มหาวิทยาลัย.... ฯลฯ ควรเข้ามาศึกษา วิจัยสภาพการเกิดพายุฤดูร้อนทั้งในส่วนก่อนการเกิด ระหว่างเกิดและหลังเกิดเหตุ (อาจจะเป็นงานสอนหรืองานวิจัยโดยคณะอาจารย์ นักศึกษาปริญญาตรี..โทก็ได้เนื่องจากเป็นการนำ ศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ ดีกว่าให้มหาวิทยาลัยเน้นการสอนเทคโนโลยีมากกว่า ศาสตร์) ที่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยในพื้นที่น่าจะศึกษาและนำผลมาใช้ได้เพราะว่าจากการสังเกตหลายครั้ง หลายปีต่อเนื่อง พบว่า

- ก่อนเกิดพายุฤดูร้อนมีการเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา ในพื้นที่มีอุณหภูมิจะร้อนจัดต่อเนื่อง มีลมร้อนพัดผ่านรุนแรงกว่าปกติเป็นระยะ ๆ ช่วงเวลาเช้าอุณหภูมิจะเย็นลงมาก(อุณหภูมิจะแตกต่างกันมากในช่วง 1 วัน) ฯลฯ     

- ขณะเกิดเหตุจะเกิดในพื้นที่เดิม ๆ โดยมีทิศทางลมเป็นทิศทางเดี่ยวกับทุกๆครั้ง

- หลังเกิดเหตุส่วนใหญ่บ้าน 2 ชั้นหลังคาจะเสียหาย บ้านที่มีไม้ใหญ่บังทิศทางลมจะเสียหายน้อยมาก ฯลฯ

            ทั้งหมดคือสิ่งที่ผู้เขียนสังเกตได้ หากมหาวิทยาลัยมีการศึกษา ส่งนักศึกษามาสำรวจและเก็บข้อมูลทั้งการสังเกตและพูดคุยกับชุมชนอาจจะตั้งสมมุติฐานอะไรได้ชัดเจนขึ้น ประกอบกับในระดับมหภาคยังมีข้อมูลอีกมากมายทั้งที่เป็นข้อมูล real time และ non real time ที่สามารถนำมาประกอบการศึกษาวิจัยได้โดยตรง

ที่สำคัญคือมหาวิทยาลัยท้องถิ่นได้ทำหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่นำผลการศึกษามาใช้ประโยชน์กับท้องถิ่น (นักศึกษาจะได้มีหัวข้อศึกษาวิจัยใหม่ ๆ...บ้าง ไม่ใช่แต่ศึกษาวิจัยเรื่องเดิม ๆ แต่เปลี่ยนพื้นที่ศึกษา หรือศึกษาวิจัยเฉพาะการทำงานของเทคโนโลยี...ซึ่งไม่ใช่ ศาสตร์)

            หากผลการศึกษาชัดเจนขึ้นจนทราบว่าในระดับท้องถิ่น(พื้นที่ขนาดเล็กระดับชุมชน ตำบล หมู่บ้าน) มีปัจจัยอะไรบ้างกระทำต่อกันอย่างไร(ตัวแปรและสมการในภาษาวิชาการ) จึงทำให้เกิดพายุฤดูร้อน  นี่คือจุดเริ่มต้นของ War room ติดตาม เฝ้าระวังและเตือนภัยพายุฤดูร้อนในท้องถิ่น

            2. พัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ติดตามและเตือนภัย : เมื่อทราบปัจจัยที่ทำให้เกิดพายุฤดูร้อน สิ่งที่ War room ติดตาม เฝ้าระวังและเตือนภัยพายุฤดูร้อนในท้องถิ่น ต้องดำเนินการคือการรวบรวมข้อมูล เช่น หากอุณหภูมิเป็นตัวแปรการเกิดพายุฤดูร้อน จะพบว่าหลายหน่วยงานมีการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่อยู่แล้ว ถ้าต้องการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิเพิ่มเติมสามารถทำได้เบื้องต้น โดยระยะสั้นอาจจะติดตั้งแบบ Manual คือ อ่าน จดบันทึกและรายงานโดยคน ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทันทีที่ชุมชน บ้านผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน วัด ฯลฯ ส่วนระยะยาวอาจจะให้ สำนักงานส่งเสริมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สาขา..ศึกษาและพัฒนาเครื่องวัดอุณหภูมิที่เชื่อมรายงานผลผ่านระบบ Internet เข้ามาที่ War Room (แนวคิด Internet of Thing)

รวมทั้ง สำนักงานส่งเสริมซอฟแวร์แห่งชาติฯ ยังสามารถนำเอาตัวแปรและสมการการเกิดพายุฤดูร้อนในท้องถิ่นมาพัฒนาระบบการติดตามและเตือนภัยได้

            3. จัดตั้ง War room ติดตาม เฝ้าระวังและเตือนภัยพายุฤดูร้อนในท้องถิ่น : โดยจะประกอบด้วย 4 ส่วนที่ต้องทำงานร่วมกันคือ

- หน่วยข้อมูล เป็นหน่วยรับส่งข้อมูลที่มีทั้งที่ผ่านระบบ Internet และผ่านเครือข่ายท้องถิ่นจากหน่วยงานในพื้นที่ซึ่งต้องเชื่อมโยงเข้ามารวมที่ War Room เช่น

- หน่วยติดตามและเฝ้าระวัง เป็นหน่วยรวมรวม ประมวล และรายงานผลและแปลความการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นสถาบันการศึกษาและคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สาขา ฯลฯ

- หน่วยเตือนภัย เป็นกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องการการประชาสัมพันธ์และแจ้งเหตุ ได้แก่ สำนักประชาสัมพันธ์เขต สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัด ฯลฯ

- หน่วยปฏิบัติการณ์ในพื้นที่ เป็นกลุ่มที่ต้องออกไปช่วยเหลือหลังเกิดเหตุเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น การไฟฟ้าภูมิภาค การประปา ฯลฯ แต่สิ่งที่ควรให้หน่วยงานเหล่านี้ได้รับรู้ คือ ข้อมูลจาก War Room เพื่อการเตรียมพร้อมทั้งการตั้งรับและการแก้ปัญหา

สิ่งที่เสนอข้างต้นเป็นเพียงแนวคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น(รายละเอียดปลีกย่อยยังคงมีอีกมากมาย) การนำไปปฏิบัติจริงมีความเป็นไปได้แต่ต้องประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจริงทั้งสภาพแวดล้อมการบริหาร สภาพแวดล้อมทางวิชาการ และสภาพแวดล้อมทางพื้นที่ อย่างไรก็ตาม หากมีความเป็นไปได้การมีเพียง War room ติดตาม เฝ้าระวังและเตือนภัยพายุฤดูร้อนในท้องถิ่น อาจจะมีความคุ้มค่าและเหมาะสมมากขึ้นเมื่อหน่วยงานระดับจังหวัดจะขยายผลเป็น War Room การเฝ้าระวังและเตือนภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของท้องถิ่น

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...

  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้232
เมื่อวานนี้530
สัปดาห์นี้1688
เดือนนี้7132
ทั้งหมด1193341
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 5

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com