ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

กทม. กับ การจัดการ IT ตอน 3 (บทบาท IT ที่ต้องบริหารจัดการอะไรกับใครบ้าง)

หากพิจารณาแผนผังความสัมพันธ์ของหน่วย IT ของ กทม.กับงานด้าน IT ซึ่งทำงานร่วมกันกับหน่วยงานหรือหน่วยสั่งการทั้งภายในและภายนอก กทม.แล้ว จะพบความสัมพันธ์ดังนี้

 1.        เกี่ยวข้องเชื่อมต่อภายใน กทม.โดยตรงเป็นการเชื่อมระหว่างหน่วย  IT ของกทม. กับหน่วย IT ของสำนัก สำนักงานเขต และหน่วยงานในสังกัด กทม. เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ฯลฯ  

 2.       เกี่ยวข้องเชื่อมต่อภายนอก กทม.เป็นการเชื่อมระหว่างหน่วยงานกลาง IT ของกทม. กับหน่วย IT ของ หน่วยงานรัฐบาลนอกสั่งกัด กทม. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชน

 และหากต้องบริหารจัดการระบบ IT โดยดูที่องค์ประกอบคือ Hardware (HW), Software (SW), Peopleware (PW), Network & Communication (NW), Application (App) และData & Information (Data/Inf.) แล้ว สิ่งที่หน่วย IT ต้องบริหารจัดการองค์ประกอบ IT ที่มีอยู่ตามหน่วยงานต่างๆทั้งหมดย่อมต้องวางแผนและกำหนดแนวทางให้ชัดเจน

 

จากแผนผังซึ่งเกิดจากการนำแผนผังความสัมพันธ์ของหน่วย IT ของ กทม.กับหน่วย IT อื่นๆ มาซ้อนทับแผนผังองค์ประกอบ IT โดยแยกการบริหารจัดการองค์ประกอบ IT ที่มีอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ โดยจะพบว่า

 

-          สิ่งที่หน่วย IT ของ กทม. จะต้องบริการจัดการทรัพยากรด้าน IT ทั้ง HW SW PW APP NW Data/Inf. ทั้งหมดจะอยู่ที่สำนักยุทธศาสตร์และประมวลผล (สยป.)ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้าน IT ของ กทม. อยู่ที่สำนัก สำนักงานเขต หน่วยงานในสังกัด กทม.

 

-          ส่วนที่เป็นหน่วยงานนอกสังกัด กทม. ซึ่งบริหารจัดการทรัพยากรด้าน IT เองแต่ในบางครั้งจะให้สิทธิ์ กทม. เข้าไปติดตั้ง เชื่อมต่อ ดูแลและใช้งานทรัพยากรด้าน IT ได้บางส่วน จะมีทั้งหน่วยงานรัฐบาล เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง ฯลฯ   หน่วยงานนอกสังกัด กทม. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ/เอกชน ได้แก่ ธนาคารต่างๆ    

 

คำถามคือ หน่วย IT ต้องบริหารจัดการองค์ประกอบ IT เหล่านั้นอย่างเป็นระบบอย่างไรหรือเป็นระบบอะไรบ้าง

 

ตามที่กล่าวไว้ว่าส่วนที่หน่วยงานด้าน IT ต้องบริหารจัดการจะประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ

1.Information Technology (IT) เป็นการประยุกต์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน วิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงผลข้อมูล โดยจะรวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศอื่นด้วย เช่น โทรทัศน์โทรศัพท์ กล้องถ่ายภาพ กล้องซีซีทีวี อุปกรณ์ทางการแพทย์ ฯลฯ

2.Communication Technology (CT) เป็น Digital Technology ที่พัฒนาเพื่อจัดการด้านการสื่อสาร (Communication) หรือ การขนส่งข่าวสาร (Transfer of Information) ทั้งทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice) หรือทางด้านข้อมูล (Data) โดยมีองค์ประกอบ ส่วน ได้แก่ ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และ ผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย

3.Information Science (IS) เป็นขบวนการประมวลผลข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลายให้อยู่ในรูปของสารสนเทศหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้สนับสนุนการบริการ การบริหารและการตัดสินใจในทุกระดับ

              4.Information Technology Support & Service เป็นขบวนการสนับสนุนการทำงานในทุกขบวนการตั้งแต่การจัดหา จัดทำ ติดตั้ง ทดสอบ ดูแล ซ่อมบำรุง ปรับปรุงแก้ไขและอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยจะสนับสนุนทั้งทางด้านองค์ความรู้ เทคนิควิธีการใช้และปฏิบัติ สำหรับผู้ใช้งาน IT CT IS ในทุกระดับ

เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของหน่วย IT ของ กทม.กับหน่วย IT อื่นๆ กับระบบที่จะเกิดทั้ง Information Technology (IT), Communication Technology (CT), Information Science (IS) และ Information Technology Support & Service (ITSS) จะพบว่าสิ่งที่หน่วย IT กทม.ต้องบริหารจัดการ จะอยู่ที่ สยป.หน่วยงานกลางด้าน IT ของ กทม. อยู่ที่สำนักต่างๆ  อยู่ที่สำนักงานเขต อยู่ที่หน่วยงานในสังกัด กทม.เท่านั้น ทั้งนี้โดยหลักการ สยป. หน่วยงานกลางด้าน IT ของ กทม.จะเป็นหน่วยอำนวยการ สำนัก สำนักงานเขต หน่วยงานในสังกัด กทม.อื่นๆ ควรจะเป็นหน่วย ปฏิบัติเท่านั้น

แต่โดยข้อเท็จจริงปัจจุบัน...หาเป็นเช่นนั้นไม่ ? (แล้วจะอย่างไร...มาว่ากันต่อตอนที่ 4 ครับ)